ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีตัว“犭”เป็นส่วนประกอบ
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ : A
study of radical “犭”in
Chinese characters
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน : “犭”作为部件的汉字研究
ชื่อผู้เขียน นายสมชาย จันทร์สมุทร์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภาพร แก้วอมตวงศ์
อาจารย์เจ้าของภาษา 张迎春老师
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว“犭”เป็นส่วนประกอบ
คำสำคัญ : หมวดนำ,ความหมาย,ตัวอักษร“犭”,ความหมายของตัวอักษร“犭”
ตัวอักษรภาษาจีนเป็นรูปแบบตัวอักษรภาพที่ชาวจีนใช้กันมาเป็นเวลานาน
ตัวอักษรจีนมีประมาณ 60,000คำ ดังนั้นทำให้ผู้คนยากที่จดจำตัวอักษรจีนได้ทั้งหมด คนรุ่นก่อนจึงเปลี่ยนตัวอักษรภาพเป็นตัวอักษรแทนโดยนำตัวอักษรภาพและตัวอักษรที่กำเนิดขึ้นมาใหม่มารวมกันเพื่อแสดงความหมายและเสียงของ
ตัวอักษร จนเป็นตัวอักษรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว“犭”เป็นส่วนประกอบ
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ความหมาย และโครงสร้างของตัวอักษร โดยผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจาก “พจนานุกรมจีน-ไทย”
ของ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ สำนักพิมพ์รวมสาส์น พิมพ์ครั้งที่ 16 พ.ศ.
2549 โดยนำคำศัพท์ที่มีตัว“犭”เป็นส่วนประกอบจำนวน 112 ตัวอักษรมาศึกษา วิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงความหมาย และโครงสร้างของตัวอักษรจีน
ในการศึกษาครั้งนี้นำอักษรเดี่ยวสองตัวมาประกอบกันเพื่อทำให้เกิดอักษรใหม่ขึ้น
จากการวิจัยพบว่า ตัวอักษรที่นำมาศึกษาสามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้
1. การวิเคราะห์ตามความหมาย สามารถแบ่งออกได้ 3
ประเภทคือ
1.1 ความหมายตรง
คิดเป็นร้อยละ
34.82
1.2 ความหมายแผลง
คิดเป็นร้อยละ 47.32
1.3 ความหมายแฝง
คิดเป็นร้อยละ 17.86
2. การวิเคราะห์ตามโครงสร้างสามารถแบ่งออกได้ โครงสร้างประกอบด้าน(ซ้าย) เพียงอย่างเดียว
คือคิดเป็นร้อยละ 100
จากการวิจัยพบว่าตัวอักษร“犭” มีลักษณะและวิธีการสร้างคำที่ทำให้ทราบถึงความหมาย
และโครงสร้างของตัวอักษร ทำให้เกิดคำใหม่และความหมายใหม่ขึ้นมา โดยมีส่วนหนึ่งทำหน้าที่บอกเสียงและอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่บอกความหมาย
ในตัวอักษรจีนวิธีประดิษฐ์ตัวอักษรจีนประเภทนี้มีมากถึงร้อยละ 80 จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเดาความหมายและเสียงได้
นอกจากนี้ยังมีโครงสร้าง บอกตำแหน่งในการประกอบคำของตัวอักษร แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ต่างกัน
บางตำแหน่งบอกความหมาย บางตำแหน่งบอกวิธีการออกเสียง และบางตำแหน่งไม่บอกอะไรเลย การศึกษาเรื่องตัวอักษรที่ใช้ตัว“犭”เป็นส่วนประกอบของคำจึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจและผู้ที่กำลังศึกษาภาษาจีน
สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
摘要
题目:“犭”作为部件的汉字研究
关键词:部件、“犭”、“犭”意义、生词、汉字
本文研究目的是对“犭”作为部件的汉字进行研究,研究“犭”作为部件的汉字的结构以及汉字意义与“犭”的关系。本研究使用的资料来自杨汉川编译的《现代汉泰词典》(简体字版)研究方法是收集112以“犭” 作为部件的汉字。并辨别分析其意义,以了解汉字的结构及汉字意义与“犭”的关系。
研究发现,汉字的意义与“犭”的关系如下:
(一)汉字与“犭”意义类别相同的占34.82%
(二)汉字与“犭”意义类别不同的占47.32%
(三)汉字与“犭”意义类别有些微联系的占17.86%
以“犭”作为部件的汉字都是左右结构,并且“犭”都位于左边的占100%
研究发现,形声造字法是一种常用的造字方法。在汉字的结构方面,“犭”可以做形旁、声旁,对汉字的意义和声音有影响。由于80%的汉字是形声字,所以可以根据形旁和声旁推测汉字的意义与声音,本次关于以“犭”作为部件的汉子的研究可以帮助学生在学习以“犭”作为部件的汉子时简单地推测汉字的意义,作为汉字教学的参考。
没有评论:
发表评论