2013年3月11日星期一

การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีน กรณีศึกษา : ร้านเอี๊ยะแซ โอสถ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี


题目  中药的命名方法的研究:(研究范围:益生藥房)     
Title    :   An analysis name method of  traditional Chinese medicine
อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์วกุล นิมิตโสภณ
ชื่อผู้นิพนธ์             นางสาวณัฐธิดา สัมพันธ์
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5214411934
-------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง      :    การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีน กรณีศึกษา : ร้านเอี๊ยะแซโอสถ  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ   :     ยาจีน,ชื่อ,วิธีการตั้งชื่อ

มูลเหตุในการทำวิจัยเนื่องจากพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบัน เริ่มรับประทานสมุนไพรยาจีน เพื่อนำมารักษาโรค ซึ่งก็เป็นการยุ่งยากในการสั่งยาจีน และการเรียกชื่อสมุนไพร เพราะชื่อสมุนไพรบางชนิดจำเป็นต้องเรียกโดยการทับศัพท์เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว และสมุนไพรยาจีน มีอักษรจีนที่ประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถจะทำความเข้าใจเป็นภาษาจีนได้  สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีน  โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับชื่อสมุนไพรยาจีน โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลการตั้งชื่อ กลวิธีการตั้งชื่อ วิธีการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือ การนำเอาชื่อสมุนไพรยาจีน 200 ชนิด มาแยกประเภทและศึกษาวิเคราะห์ถึงกลวิธีในการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีน
ผลการศึกษาการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีนนั้นมี 6 รูปแบบที่นิยมใช้ ดังนี้
(1)     ชื่อสมุนไพรยาจีนที่นำมาจากรูปลักษณ์ คือ การนำเอาคำศัพท์ที่มีความหมายบ่งบอกถึงลักษณะรูปลักษณ์ของพืชสมุนไพรมาใช้ในการตั้งชื่อ คิดเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย สมุนไพรที่นำมาจากพืช 56 ชนิด
(2)     ชื่อสมุนไพรยาจีนที่มาจากที่มาของสมุนไพรยาจีน คือ การนำคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวมาใช้ในการตั้งชื่อ คิดเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย สมุนไพรที่นำมาจากพืช 19ชนิด สมุนไพรที่นำมาจากสัตว์ 25 ชนิด สมุนไพรที่นำมาจากแร่ธาตุ  12 ชนิด
(3)     ชื่อสมุนไพรยาจีนที่นำมาจากสี คือ การนำเอาคำศัพท์ที่มีความหมายบ่งบอกถึงสีของสมุนไพร คิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย สมุนไพรที่นำมาจากพืช 35 ชนิด สมุนไพรที่นำมาจากแร่ธาตุ 6 ชนิด
(4)     ชื่อสมุนไพรยาจีนที่ไม่สื่อถึงสมุนไพรยาจีน คือ การนำคำศัพท์ที่มีความหมายซึ่งต่างจากลักษณะของสมุนไพรทั้งพืชและสัตว์มาตั้งชื่อ โดยแต่ละคำศัพท์มีความหมายที่ไม่ข้องจองกัน คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย สมุนไพรที่นำมาจากสัตว์ 20 ชนิด สมุนไพรที่นำมาจากพืช 2 ชนิด
(5)     ชื่อสมุนไพรยาจีนที่นำมาจากอวัยวะสัตว์ คือ การนำคำศัพท์ที่มีความหมายของอวัยวะของสัตว์มาตั้งเพื่อเป็นส่วนประกอบหลัก คิดเป็นร้อยละ 7 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย สมุนไพรที่นำมาจากสัตว์ 14 ชนิด
(6)     ชื่อสมุนไพรยาจีนที่นำมาจากรสชาติ คือ การนำเอาคำศัพท์ที่มีความหมายบ่งบอกถึงรสชาติของสมุนไพร ซึ่งวิธีการตั้งชื่อที่มาจากรสชาติจะพบน้อยลงมาจากการตั้งชื่ออื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 6ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย สมุนไพรที่นำมาจากพืช 10 ชนิด สมุนไพรที่นำมาจากแร่ธาตุ 1ชนิด
ผลการศึกษาดังกล่าว ก่อให้เกิดความความเข้าใจกลวิธีการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าชื่อสมุนไพรยาจีนรูปลักษณ์ ที่มาจากที่มา จะนิยมสร้างมากที่สุด เพราะเป็นการสื่อความหมายที่ง่ายและชัดเจน  นอกจากนั้นก็เป็น การตั้งชื่อที่มาจากสี  การตั้งชื่อที่ไม่สื่อถึงสมุนไพรยาจีน  การตั้งชื่อที่มาจากอวัยวะสัตว์ และการตั้งชื่อที่มาจากรสชาติ ตามลำดับกันมา ในการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อวิธีใดล้วนแสดงที่การคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของความหมายแล้วการใช้งานของคำศัพท์ เพื่อสามารถที่จะใช้ในการสื่อถึงการตั้งชื่อสมุนไพรยาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 -------------------------------------------------------------------------------------------------
摘要

题目      中药的命名方法的研究:(研究范围:益生藥房)    
关键词    中药、名成 、命名方法


由于世界上的大多数人开始吃中药治病,但是泰国的中药名称大多是潮州话的音译,而且名称是用汉语书写的,这就为泰国人民的理解带来了困难。
本文旨在研究中药的命名方法,研究方法主要是收集了200种中药的名称,并对这些名称进行分类,进而研究中药的命名方法。
研究结果表明,中药的命名方法主要有六种:
()   根据中药形状命名,占28%:包括 56 种植物中药。
()   根据中药的意思命名,占 28%:包括 19种植物中药,25种动物中药,12种矿物中药。
()   根据中药的颜色命名,占20%:包括35种植物中药,6种矿物中药。
()  无关系的中药命名,中药名称和中药本身没有任何联系。占11%:包括20种植物中药,2种动物中药。
()  根据中药的材质命名,占7%:包括14种动物中药。
()  根据中药的气味命名,占6%:包括10种植物中药,1种矿物中药。
其中,根据中药的产地、形状命名是最常用的命名方法,这是因为这种命名方法能够更容易、更清楚地让人们理解中药的意思。另外,无论是哪种命名方法都以能让人们更加容易地理解中药的意思为原则。
本文的研究成果能够帮助泰国人民更加了解中药的命名方法和中药的意思。


没有评论:

发表评论