อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ประภาพร แก้วอมตวงศ์
อาจารย์เจ้าของภาษา : 张迎春老师
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาเปรียบเทียบสุภาษิตจีนกับสุภาษิต-คำพังเพยไทยที่มีความหมายเหมือนกัน
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน : 意义相同的汉泰谚语比较研究
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ : The study of a comparative the same meaning of
Chinese proverbs and Thai proverb-saying
。。。。。
บทคัดย่อ
ชื่อสารนิพนธ์ :
การศึกษาเปรียบเทียบสุภาษิตจีนกับสุภาษิต-คำพังเพยไทยที่มีความหมายเหมือนกัน
คำสำคัญ : สุภาษิตจีน
สุภาษิตคำพังเพยไทย ความหมาย จำนวนพยางค์
การเปรียบเทียบ
คำอุปมา
การศึกษาเปรียบเทียบสุภาษิตจีนกับสุภาษิต-คำพังเพยไทยที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของสุภาษิตจีนและสุภาษิต-คำพังเพยไทย เพื่อศึกษาโครงสร้างจำนวนพยางค์ของสุภาษิต เปรียบเทียบความหมายภายในคำของสุภาษิตจีนและสุภาษิต-คำพังเพยไทย โดยทำการศึกษาจากพจนานุกรม หนังสือ งานวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จำนวน 200 คู่ของสุภาษิตจีนกับสุภาษิต-คำพังเพยไทยที่มีความหมายเหมือนกัน
ผลการศึกษาโครงสร้างจำนวนพยางค์ของสุภาษิตจากสุภาษิตที่มีจำนวน 3 พยางค์ ไปจนถึงสุภาษิตที่มีจำนวน 12 พยางค์ (ไม่มีสุภาษิตที่มีจำนวน 9 พยางค์และสุภาษิตที่มีจำนวน
11 พยางค์) เป็นดังนี้ สุภาษิตที่มี 4 พยางค์ มีจำนวนมากที่สุด 74 คู่ รองลงคือ สุภาษิต 8 พยางค์ มี 9 คู่ สุภาษิต 6 พยางค์ มี 5 คู่ สุภาษิต 3 พยางค์ มี 4 คู่ สุภาษิต 5 พยางค์ มี 3 คู่ สุภาษิต 10 มี 2 คู่ และสุภาษิต 7 และ 12 พยางค์ มีจำนวนน้อยที่สุด
มี 1 คู่ สะท้อนให้เห็นว่าชาวจีนและชาวไทยมีลักษณะทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แตกต่าง
นอกจากนี้ผู้เขียนยังแบ่งสุภาษิตตามความหมายของสุภาษิตที่มีความหมายเหมือนกันและใช้คำเหมือนกัน มีจำนวน 26 คู่ และสุภาษิตที่มีความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำต่างกัน มีจำนวน 174 คู่ และนำสุภาษิตจำนวน 200 คู่ มาเปรียบเทียบความหมายของสุภาษิตจีนและสุภาษิต-คำพังเพยไทยตามหมวดต่างๆที่จัดไว้ ทำให้ทราบผลดังนี้ หมวดหมู่อื่นๆมีจำนวนมากที่สุด 75 คู่ คิดเป็นร้อยละ 37.5 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ การอบรม มีจำนวน 35 คู่ คิดเป็นร้อยละ 17.5 เปอร์เซ็นต์ วัจนะ มีจำนวน 24 คู่ คิดเป็นร้อยละ 12.0 เปอร์เซ็นต์
การทำงาน มีจำนวน 22 คู่ คิดเป็นร้อยละ 11
เปอร์เซ็นต์ การสมาคม มีจำนวน 12 คู่ คิดเป็นร้อยละ 6 เปอร์เซ็นต์ การดำรงชีวิต มีจำนวน 10 คู่คิดเป็นร้อยละ 5.0
เปอร์เซ็นต์ จริยธรรม มีจำนวน 9 คู่ คิดเป็นร้อยละ 4.5 เปอร์เซ็นต์ ครอบครัว มีจำนวน 8 คู่ คิดเป็นร้อยละ 4.5
เปอร์เซ็นต์ การครองเรือน มีจำนวน 3 คู่ คิดเป็นร้อยละ 1.5 เปอร์เซ็นต์
และการศึกษามีจำนวนน้อยที่สุด 2 คู่ คิดเป็นร้อยละ 1.0 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจความหมายของสุภาษิตจีนและสุภาษิต-คำพังเพยไทยมากขึ้น
อีกทั้งยังทำให้เข้าใจถึงความคิด
ความเชื่อทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต
ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของทั้งสองประเทศได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
摘要
题目 :意义相同的汉泰谚语比较研究
关键词:汉语谚语 泰语谚语 意义 音节数量 比喻法 喻体
本文的研究目的是对意义相同的汉泰谚语进行比较分析,即研究两种语言的谚语的共性,音节数量以及汉泰谚语所使用的比喻法。本研究的资料来自汉泰谚语词典、书籍及相关文献和网路资料,共收集了200对意义相同的汉泰谚语。
研究发现,音节数量上,汉泰谚语都有相同的音节数量,即3-12 个音节(9个音节和11个音节没有出现),其中数量最多的是4个音节的谚语,共有74 对,其次为8个音节的谚语,共有9对,6个音节的谚语,共有5对,3个音节的谚语,共有4对, 5个音节的谚语,共有3对,10个音节的谚语,共有2对,数量最少的为7和12个音节的谚语,只有1对。在比喻法上,发现汉泰谚语都使用相同与不同的喻体,使用相同的喻体的谚语,共有26对,使用不同的喻体的谚语,共有174对。这反映出汉泰民族都有着相同与不同的文化特征与自然环境。此外,笔者根据谚语的意义,把200对汉泰谚语分为10大类,如下:数量最多的是其他类,共有75对占37.5% ;修养类,共有35对占17.5% ;言语类,共有24对占12.0%;工作类,共有22对占11%; 社交类,共有12对占11%;生活类,共有10对占5.0%;道德类,共有9对占4.5%,家庭类,共有8对占4.5%;婚姻类,共有3对占1.5%;数量最少的是学习类,只有 2对占1.0%。
本研究结果将使人们对汉泰谚语的共性、意义以及汉泰民族的文化观念、生活方式、历史文化背景、宗教信仰等方面了解得更加深入,这对提高汉语教学的水平有所帮助。
你好,我对你们的论文很感兴趣,方便继续交流吗
回复删除