ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน : 魏清教授翻译佚名的《中国童话百编》篇名的译法研究
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อนิทานจีนสำหรับเด็ก
จากหนังสือ “100เรื่อง นิทานจีน สำหรับเด็ก” ของอี้หมิง (เมชฌ สอดส่องกฤษ ) แปล
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ : An analysis of the method of Children tale’s title
translation from 100 Chinese tale for
Children by Mecho Sodsongkrit
ชื่อผู้เขียน : นางสาวจุฑามาศ จันครา 5214400677
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์วกุล
นิมิตโสภณ
อาจารย์เจ้าของภาษา : 张迎春老师
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อนิทานจีนสำหรับเด็ก จากหนังสือ “100เรื่องนิทานจีน สำหรับเด็ก” ของอี้หมิง (เมชฌ สอดส่องกฤษ ) แปล
คำสำคัญ : ประเทศจีน นิทานจีนสำหรับเด็ก นิทานจีนแปลไทย ชื่อนิทานจีน กลวิธีการแปล
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อนิทานจีน
จากหนังสือ “100เรื่องนิทานจีนสำหรับเด็ก” ของอี้หมิง แปลโดย เมชฌ สอดส่องกฤษ โดยการศึกษาความหมายของชื่อนิทานภาษาจีนและความหมายชื่อนิทานภาษาไทย
แล้วนำมาวิเคราะห์และอธิบายกลวิธีที่ใช้ในการแปลชื่อนิทานภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ผลจากการวิจัยพบว่า
กลวิธีที่ใช้ในการแปลชื่อนิทานภาษาจีนเป็นภาษาไทย มี 4กลวิธี คือ (1)
กลวิธีการแปลแบบตรงตัว คือ
กลวิธีที่การแปลที่พยายามรักษาความหมายเดิมของต้นฉบับไว้
อาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปประโยค คำ หรือกลุ่มวลีของต้นฉบับ
แต่ความหมายที่แปลออกมายังคงเหมือนเดิมหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความหมายที่ต้นฉบับต้องการจะสื่อออกมา
(2) กลวิธีการแปลแบบตัดความ ใช้เพื่อตัดคำบางคำที่เยิ่นเย่อ
และไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้ประโยคกระชับขึ้น
และถึงแม้จะตัดคำบางคำที่ไม่จำเป็นออกไป แต่ก็ยังคงความหมายเดิมอยู่ (3) กลวิธีการแปลแบบเสริมความ โดยจะมีการเพิ่มคำ หรือประโยคเข้าไปในการแปล
เพื่อให้รายระเอียดของการแปลชัดเจนขึ้น โดยยังคงความหมายที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับอยู่
(4) กลวิธีการแปลแบบอิสระหรือแบบเสรี เป็นการแปลที่มีการเรียงลำดับ
ความคิด หรือประโยค ที่ต่างจากต้นฉบับโดยสิ้นเชิง
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
โดยการจับเอาความคิดหลักของต้นฉบับมาปรับแต่งใหม่ หรือเพิ่มขยายข้อความเข้าไป
ผลงานที่แปลออกมามักจะใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ อ่านเข้าใจง่าย
แต่การสื่อความหมายต่างจากต้นฉบับ
ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
กลวิธีการแปลที่ใช้ในการแปลชื่อนิทานภาษาจีนเป็นภาษาไทย มี 4 กลวิธี หลัก
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กลวิธีการแปลแบบตรงตัวมากที่สุด รองลงมา คือ
กลวิธีการแปลแบบตัดความ กลวิธีการแปลแบบเสริมความ
และกลวิธีการแปลแบบอิสระหรือแบบเสรีตามลำดับ
นอกจากนี้ยังพบว่าชื่อนิทานจีนบางชื่อยังสามารถใช้กลวิธีในการแปลได้มากกว่าหนึ่งกลวิธีด้วย
ประเภทนิทานหลักๆ ได้แก่
นิทานเกี่ยวกับสัตว์
นิทานเกี่ยวกับพืช
นิทานเกี่ยวกับสิ่งของ
นิทานเกี่ยวกับสถานที่
นิทานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
中文摘要
题目 ∶魏清教授翻译佚名的《中国童话百编》篇名的译法研究。
关键词∶中国 童话故事
篇名 泰文译法 译法
童话故事正日渐得到人们的普遍关注,除了母语的故事之外,人们还对其他国家的故事感兴趣。本文的目的是针对魏清教授翻译的《中国童话百编》中的100篇童话的译名进行研究,主要是对以下两方面进行分析∶翻译的发展﹑译名的类型及译法。
研究发现该书中中国童话篇名的泰文译法有四类:
一﹑直译法 : 将汉语意思用来语逐句翻译出来,可能改变原版语言的句子形式和用词,但翻译后的意义跟原版语言的意义属于同一个方向 ;
二﹑消减译法: 为了使句子简单明了,翻译时减掉某些词语,但意义仍然是相同的;
三﹑加译法: 为了使读者容易理解,可以在翻译过程中加词或句子,其意义仍然相同;
四﹑自由译法:为了使读者更容易理解原版的观点,遣词造句,可能与原版完全不同,语言也是自由运用,但所要表达的观点与原版是一致的。
其中,使最多的翻译法是直译法,其次是消减法﹑加译法和自由译法。还有一些篇名是综合使用多种译法。译名的类型主要有: 动物故事﹑ 植物故事﹑ 材料故事﹑地点故事﹑自然现象故事。
สรุปผล ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะผลการวิจัย
研究成果,研究的障碍及提议
ผลการวิจัยที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาการทำวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อนิทานจีนสำหรับเด็ก จากหนังสือ “100เรื่องนิทานจีน สำหรับเด็ก” ของอี้หมิง (เมชฌ สอดส่องกฤษ ) แปล
เพื่อที่จะนำไปศึกษา ถึงกลวิธีการแปล และใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาจีน
ซึ่งจะแยกออกเป็นการสรุปผลการวิจัย
ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 สรุปผลการศึกษา (研究成果)
การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อนิทานภาษาจีนเป็นภาษาไทย จากหนังสือ 100 เรื่องนิทานจีนสำหรับเด็ก ของ
อี้หมิง แปลโดยเมชฌ สอดส่องกฤษ รวมทั้งหมด100 เรื่อง จากการวิเคราะห์ความหมายและกลวิธีการแปลชื่อนิทานภาษาจีนที่แปลเป็นภาษาไทยสามารถแบ่งกลุ่มกลวิธีการแปลชื่อนิทานภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ได้ 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบไปด้วย 1.) กลวิธีการแปลแบบตรงตัว
2.) กลวิธีการแปลแบบตัดความ 3.) กลวิธีการแปลแบบเสริมความ
4.) กลวิธีการแปลแบบอิสระหรือแบบเสรี
ดั่งจะสรุปได้ตามลำดับดังต่อไปนี้
5.1.1 กลวิธีการแปลแบบตรงตัว (直译法)
เป็นการแปลจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยให้ตรงตัวตามต้นฉบับมากที่สุด
อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปแบบประโยค แต่ยังคงให้ความหมายเดิมไว้
ซึ่งเป็นกลวิธีการแปลที่นิยมใช้มากที่สุด
ส่วนมากจะใช้แปลชื่อนิทานที่มีโครงสร้างประโยคที่ไม่ซับซ้อน อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย เช่น
要你赔 (แกต้องชดใช้),野猫买了大冰箱 (แมวป่าซื้อตู้เย็นใหม่),鞋子舞会 (งานระบำรองเท้า) ซึ่งนิทานที่ใช้กลวิธีการแปลแบบตรงตัว มีทั้งสิ้นจำนวน 91 เรื่อง
5.1.2 กลวิธีการแปลแบบตัดความ(消减译法)
ใช้เพื่อตัดคำบางคำที่เยิ่นเย่อ และไม่จำเป็นออกไป
เพื่อให้ประโยคกระชับขึ้น และถึงแม้จะตัดคำบางคำที่ไม่จำเป็นออกไป
แต่ก็ยังคงความหมายเดิมอยู่ เช่น 长着蓝翅膀的老师 (คุณครูมีปีกสีน้ำเงิน),
偷白菜的角羊 (แกะขโมยผักกาด),施放烟幕的小乌贼 (ม่านดำของหมึกน้อย) ซึ่งนิทานจีนที่ใช้กลวิธีการแปลแบบตัดความ มีทั้งสิ้นจำนวน 5 เรื่อง
5.1.3 กลวิธีการแปลแบบเสริมความ(加译法)
โดยจะมีการเพิ่มคำหรือประโยคเข้าไปในการแปล
เพื่อให้รายละเอียดของการแปลชื่อนิทานชัดเจนขึ้น
และยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิมอยู่ เช่น 鱼猫 (แมวขโมยปลา),
火鸡先生和鹅太太 (คุณชายไก่งวงคอแดงกับคุณนายห่านคอยาว),小鲤鱼哭哭笑笑 (ปลาคาร์ปน้อยร้องไห้ฮือๆหัวเราะหุๆ) ซึ่งนิทานที่ใช้กลวิธีการแปลแบบเสริมความมีทั้งสิ้นจำนวน 3 เรื่อง
5.1.4 กลวิธีการแปลแบบอิสระหรือแบบเสรี(自由译法)
เป็นการแปลที่มีการเรียงลำดับความคิด
หรือประโยค ที่ต่างจากต้นฉบับโดยสิ้นเชิง
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
โดยการจับเอาความคิดหลักๆของต้นฉบับมาปรับแต่งใหม่
เช่นการตัดทอนหรือเพิ่มขยายขอความเข้าไป
ผลงานที่แปลออกมามักจะใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ
อ่านเข้าใจง่ายแต่การสื่อความหมายต่างจากต้นฉบับเลยทีเดียว เช่น 小卡米 (เจ้าข้าวเม่าจอมขี้ขลาด) ซึ่งนิทานที่ใช้กลวิธีการแปลแบบอิสระหรือแบบเสรีมีจำนวน
1 เรื่อง
5.2 ปัญหาและอุปสรรค(研究阻碍)
5.2.1 ปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากการแปลชื่อนิทานบางเรื่องสามารถใช้กลวิธีในการแปลได้มากกว่าหนึ่งกลวิธี
ทำให้เกิดความยุ่งยากในการแยกรายชื่อนิทานไว้ตามกลุ่มกลวิธีต่างๆ เช่น 熊猫眼镜店(ร้านแว่นแพนด้า) ซึ่งเป็นได้ทั้งการใช้กลวิธีการแปลแบบตรงตัวและกลวิธีการแปลแบบตัดความ
ซึ่งถ้าแปลตามรูปประโยคจะแปลว่า “ร้านแว่นตาแพนด้า” แต่ในกรณีนี้มีการละคำว่า “ตา”
ออกไป แต่ความหมายก็ยังคงเดิม เพราะแว่นในที่นี้ หมายถึงแว่นตานั่นเอง
5.3 ข้อเสนอแนะ (提议建议)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อนิทานภาษาจีนมาเป็นภาษาไทย
โดยศึกษาจากหนังสือ 100 เรื่องนิทานจีนสำหรับเด็ก
ของ อี้หมิง แปลโดยเมชฌ สอดส่องกฤษ แปล รวมทั้งหมด100 เรื่อง
ผู้วิจัยเห็นว่ายังมีหัวข้ออื่นๆที่จะศึกษาดังต่อไปนี้
5.3.1 การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาของการตั้งชื่อนิทานจีน
5.3.2 การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลชื่อนิทานภาษาจีนและชื่อนิทานภาษาไทย
5.3.3 การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อนิทานไทยเป็นจีน
没有评论:
发表评论