2012年3月1日星期四

การศึกษาปัญหาการใช้“了,着,过”ของนักเรียนไทย กรณีศึกษา: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สายศิลป์ ภาษาจีน โรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี


ชื่อผู้นิพนธ์                                           นางสาวสุภาพร   ทรัพย์มาก
คณะ                                                       ศิลปศาสตร์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา                            อาจารย์วกุล  นิมิตโสภณ
สาขา                                                      ภาษาจีน


บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง  การศึกษาปัญหาการใช้了、着、过ของนักเรียนไทย กรณีศึกษา: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สายศิลป์ ภาษาจีน โรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี
คำสำคัญ หลักไวยากรณ์ภาษาจีน คำเสริม“了、着、过 คำเสริมอาการ คำเสริมน้ำเสียง
       งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ ลักษณะทางความหมายและวิธีการใช้ของ“了、着、过 และศึกษาปัญหาการใช้“了、着、过 ของนักเรียนไทย โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ พจนานุกรม และสื่ออินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลจากการทำแบบทดสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 35 คนสายศิลป์ ภาษาจีนโรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี แบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คนผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีปัญหาการใช้โครงสร้างไวยากรณ์“了、着、过 คือ
  1. โครงสร้างไวยากรณ์แบบ(曾/曾经 +….+“过”+ 宾)ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 80.10%เป็นโครงสร้างที่มีปัญหาในการใช้มากที่สุด จะเห็นได้ว่า“过”วางไว้หลังคำกริยาจะแสดงถึงเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดหรือผ่านมาแล้ว แต่นักศึกษาไม่ทราบว่าข้างหน้าคำกริยานั้นสามารถเติม“曾/曾经” ได้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดปัญหาการใช้ “过”ขึ้น จากการทำการวิจัยจะเห็นได้ว่า“曾/曾经”และ“过”มักจะใช้คู่กันเสมอ
2. โครงสร้างไวยากรณ์แบบ1++2ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 50% จากรูปแบบโครงสร้างไวยากรณ์จะพบว่า คำกริยาอีกคำอยู่หลังคำเสริมอาการ โดยกริยาตัวแรกเป็นการแสดงถึงวิธีการหรือสภาวะการกระทำของกริยาตัวที่สอง
     3. โครงสร้างไวยากรณ์แบบ(曾经+/+“过”+宾)       ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 40.30%ในรูปแบบโครงสร้างไวยากรณ์แบบนี้เป็นการเน้นย้ำถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว จะสังเกตได้ว่า“曾经”มักจะใช้คู่กับ“过”เสมอ ซึ่งตามหลักแล้ว“过”จะวางไว้หลังกริยาหรือคุณศัพท์ ไม่ได้วางไว้หลัง 曾经”
4. โครงสร้างไวยากรณ์แบบ(动/+“了1+宾)ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 30.70%เนื่องจาก +“了”สามารถวางได้ ตำแหน่งคือ 1.หลังกริยาหรือคุณศัพท์ 2.หลังประโยค ดังนั้นจึงทำให้นักเรียนเกิดความสับสนไม่สามารถนำ+“了” ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง                    
          5. โครงสร้างไวยากรณ์แบบ(已经 +….+“了1+ 宾)ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 30.40% ปกติแล้ว“已经”และ“了”มักจะใช้คู่กัน จะแสดงความหมายว่าเหตุการณ์นั้นได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่เนื่องจากนักศึกษาไม่ทราบโครงสร้างไวยากรณ์ทำให้นักศึกษาใช้ผิด
โครงสร้างเหล่านี้เป็นโครงสร้างไวยากรณ์การใช้“了、着、过 ทำให้เกิดความผิดพลาดการใช้ที่ถูกต้อง
       แนวทางในการแก้ปัญหาสำหรับปัญหาการใช้“了、着、过 ของนักเรียนไทย คือ นักเรียนควรจะศึกษาโครงสร้างประโยค วิธีการใช้และข้อยกเว้นของการใช้“了、着、过 นอกจากนั้นนักเรียนควรสังเกตและจดจำลักษณะทางความหมายของ“了、着、过 ด้วย ซึ่งสามารถศึกษาค้นคว้าได้ที่หนังสือประกอบการเรียน  หนังสือไวยากรณ์ พจนานุกรม และสื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อทำให้นักเรียน เกิดความเข้าใจวิธีการใช้“了、着、过 มากขึ้น และนำไปใช้เพื่อช่วยเป็นประโยชน์ต่อการเรียนต่อไป

中文摘要

题目                                     泰国学生使用“了、着、过 的问题研究 ,研究对象:娜丽努功学校,高中,中文专业的泰国学生
关键词               汉语语法 助词“了、着、过 语气助词   动态助词
                    本文研究的目的是研究“了、着、过 ”的语法结构,“了、着、过 ”  的用法和“了、着、过 ”的意义上的特点。研究语法者借助书籍、课本、词典、以及网络信息进行研究,并对娜丽努功学校,高中,中文专业学生进行问卷调查收集资料。
         研究发现,泰国学生使用“了、着、过 ”的语法结构存在问题最多的    是:
 一、(曾/曾经 ++“过”+ 宾)的语法结构,此类错误占80.10%在动词的后面,表示过去曾经有这样的事情。由于学生不了解使用方法,所以使学生出现此类错误用法。
二、1++2的语法结构,此类错误50% 如果有两个动词,“着”就放在动1的后面,不是放在动2的后面。但是因为受学生母语习惯的影响,使学生出现此类错误用法。
三、(曾经+/+“过”+宾)的语法结构,此类错误40.30%。 这强调了事件发观察发现“曾/曾经”和“过”常常一起用, 根据主体“过”是放在动词或形容词后面。
四、(动/+“了1+宾)的语法结构,此类错误30.70%。因为“了”可以放在两个地方,一是放在动词/形容词的后面,二是放在句子的后面。因为不了解,所以使学生混乱,使用错误。
五、(已经 +.+“了1+ 宾)的语法结构,此类错误占30.40%。 一般“已经”和“了”常常一起用,表示动作或变化已经完成。但学生不知道,因此用错。
   这些语法结构是泰国学生使用“了、着、过 ”出现的问题产生的错误用法。因为有很多因素让学生不能正确使用“了、着、过 ”。

                                                                    
   本文研究结果建议学生应该多熟悉“了、着、过 ”的语法结构,借助教材、语法书、词典、以及网络上“了、着、过 ”的用法,以便更好地掌握“了、着、过 ”的用法。除此之外,应该观察和记诵“了、着、过 ”的语法和意义上的特点。并做大量练习,本研究的成果会对外汉语教学方面有所帮助。


Abstract
Research                 A study of the problems in using “le,zhe ,guo” for Thai student: A case student’s   high  school. Chinese-Arts  Narinukun School, Ubon Ratchathani Province.
Keywords            Chinese grammar  , Chinese particles “le,zhe,guo”
                The objectives of this research were to study the structure of sentences that use the words “le,zhe,guo” in Chinese grammar ,the meaning and using of “le ,zhe ,guo”, and problems in using the words “le,zhe,guo” for Thai student. The research was carried out by studying information from books, dictionaries and internet. Information was gathered from a test paper and questionnaire that was complete by  student’s high  school. Chinese-Arts  Narinukun School at UbonRatchathani Province.
                From the results of the research, it was found that students experienced problems in using Chinese grammar.
1.  “ceng/cengjing +……+ “guo”+object” “ceng/cengjing” and “guo” “guo” can be placed after verb:80.10%, it mean the act took place sometime in the the past and has ended. The emphasis is on the past experience. But student don’t understand Chinese particle grammar.
2.  50% of some students answered incorrectly in the structure of1++2. From the form of the structure, it appeared that verb could be placed after .The first verb shows the way of second verb’s action.
3.   40.30% of some students answered incorrectly in the grammatical structure which emphasized the situation happened in the past. It illustrates that “曾经”is always used together with “过”.  As a matter of fact, “过”can be placed after verb or adjective. It is not placed after 曾经”.
4. “verb/adjective+le +bin” the aspect particle “le” is placed after the complement of result and before the object: 30.70%
5.  “yijing+……+le+ object” “yijing” and “le” usually use together : 30.40%, can be placed after verbs as their complements to indicate the result of the acts. But Thai students don’t understand Chinese particle ‘le” grammar.
                The methods of solving the problems in the use of “le,zhe,guo” for Thai student are that students should study sentence structure ,the use of “le,zhe,guo” and the except of the use of “le,zhe,guo”. The use of these words should be noted and memorized with regard to their meaning by studying textbooks, dictionaries and information on the internet .Thus, students can increase their understanding of the words “le,zzhe,guo”  and use them beneficially in their education.



 
บทที่ 5(第五章
สรุปผลการวิจัย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
(研究的结论 问题 阻碍 与提出修改建议)
ในบทนี้จะกล่าวถึงการสรุปผลการวิจัยที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปปัญหาการใช้“了、着、过”ของนักเรียนไทย ซึ่งแยกหัวข้อได้ดังนี้
5.1 สรุปผลการวิจัย
5.2 แนวทางแก้ไขปัญหา
5.3 ปัญหาและอุปสรรคจากการทำวิจัย
5.4 ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย
5.1 สรุปผลการวิจัย(研究的结论)
                        จากการศึกษาเรื่อง ปัญหาการใช้“了、着、过”ของนักเรียนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของไวยากรณ์ ความหมายและวิธีการใช้“了、着、过”เพื่อศึกษาปัญหาการใช้“了、着、过”ของนักเรียนไทย
                การเก็บรวบรวมข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นได้รวบรวมจากหนังสือไวยากรณ์ แบบเรียนวิชาภาษาจีน หนังสือไวยากรณ์จีน พจนานุกรมและสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ รวมทั้งได้ออกแบบสอบถามจำนวน 30 ข้อ ตามโครงสร้างไวยากรณ์จีน เพื่อแจกให้กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน เพื่อทำการเก็บข้อมูลโดยแจกแบบสอบถาม จากนั้นได้รวบรวมแบบสอบถามเพื่อนำมาหาค่าร้อยละและนำข้อมูลที่ได้จัดทำเป็นแผนภูมิ แล้วได้มีการทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟ เพื่อศึกษาปัญหาการใช้“了、着、过”ของนักเรียนไทย
                ในส่วนของแบบสอบถาม ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                ส่วนที่ 1 แบบทดสอบ ในส่วนที่เป็นแบบทดสอบที่เกี่ยวกับประโยคภาษาจีนที่มีคำว่า“了、着、过” ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำเสริม ทั้งเรื่องโครงสร้างไวยากรณ์ ความหมายและวิธีการใช้“了、着、过”โดยวิธีการให้เลือกเติมคำเสริม“了、着、过”ให้ถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์
ส่วนที่ 2 แบบทดสอบในส่วนนี้ให้เลือกใส่เครื่องหมายวงกลมหน้าข้อที่คิดว่าถูกต้องตามโครงสร้างหลักไวยากรณ์“了、着、过”ใน 1 ข้อจะมี 2 ตัวเลือก คือ A กับ B
ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเป็นคำถามปลายเปิดให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแบบทดสอบ
ผลการวิจัยจากแบบทดสอบ ในเรื่องปัญหาการใช้“了、着、过”ของนักเรียนไทย จากค่าเฉลี่ยของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน สามารถเรียงลำดับปัญหาที่พบมากที่สุดไปจนถึงปัญหาที่พบน้อยที่สุด โดยค่าเฉลี่ยที่แสดงนั้นเป็นค่าเฉลี่ยที่นักเรียนตอบผิด
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีปัญหาในการใช้ “了、着、过” ที่มีโครงสร้างดังนี้
                                1.โครงสร้างประโยคแบบ(曾/曾经 +….+“过”+ 宾)     80.10%
                                2. โครงสร้างประโยคแบบ1++2                       50%
                                3. โครงสร้างประโยคแบบ(曾经+/+“过”+宾)   40.30%
                                4. โครงสร้างประโยคแบบ(动/+“了1+宾)            30.70%
                                5. โครงสร้างประโยคแบบ(已经 +….+“了1+ 宾)     30.40%
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีปัญหาในการใช้“了、着、过”เนื่องจากโครงสร้างไวยากรณ์ของ“了、着、过”ซึ่งจากบทที่ผ่านมาจะพบว่า“了、着、过”มีโครงสร้างไวยากรณ์ วิธีการใช้และข้อยกเว้นที่แตกต่างกัน แต่บางโครงสร้างไวยากรณ์ของ“了、着、过”นั้นมีลักษณะตำแหน่งการวางที่เหมือนกัน จนทำให้นักเรียนเกิดความสับสนในการใช้  การสับสนความหมายของ“了、着、过”รวมถึงนักเรียนไม่คุ้นเคยและไม่แม่นยำกับโครงสร้างประโยคแบบต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้างบน จะพบว่า
1.                                     โครงสร้างประโยคแบบ(曾/曾经 +….+“过”+ 宾)มีการใช้ผิดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ80.10% เนื่องจากว่านักเรียนไม่ทราบว่า ถ้าหากประโยคมีกริยาสองตัวให้เติม“过”ไว้หลังกริยาตัวที่สอง ไม่ใช่หลังกริยาตัวแรก แต่เนื่องด้วยความเคยชินในการใช้จึงทำให้เกิดความผิดพลาดในกางเลือกวางตำแหน่ง
2.                                      โครงสร้างประโยคแบบ1++2คิดเป็นร้อยละ50% จากรูปแบบโครงสร้างไวยากรณ์จะพบว่า คำกริยาอีกคำอยู่หลังคำเสริมอาการ โดยกริยาตัวแรกเป็นการแสดงถึงวิธีการหรือสภาวะการกระทำของกริยาตัวที่สอง 
3.                                      โครงสร้างที่มีปัญหารองลงมาคือ(曾经+/+“过”+宾)คิดเป็นร้อยละ40.30% ในรูปแบบโครงสร้างไวยากรณ์แบบนี้เป็นการเน้นย้ำถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว จะสังเกตได้ว่า曾经มักจะใช้คู่กับ“过”เสมอ ซึ่งตามหลักแล้ว“过”จะวางไว้หลังกริยาหรือคุณศัพท์ ไม่ได้วางไว้หลัง 曾经 
4.                                      โครงสร้างที่มีปัญหาต่อมาคือ(动/+“了1+宾)คิดเป็นร้อยละ30.70%  “了1ในข้อนี้ ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวแล้วเป็นประโยคได้ จะแสดงการกระทำที่เสร็จสิ้น แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ไหนเกิดก่อน แล้วจึงค่อยเกิดเหตุการณ์ต่อมา หรือปัจจัยสมมุติที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ก่อนหลัง ข้อนี้จึงเป็นข้อที่นักเรียนตอบผิดกันเป็นส่วนมาก
5.                                      โครงสร้างที่มีปัญหาต่อมาคือ(已经 +….+“了1+ 宾)คิดเป็นร้อยละ 30.40% “了1จะใช้คู่กับ“已经”มีโครงสร้างแบบ“已经”+….+“了1 (วางอยู่หลังคำกริยาหรือคำคุณศัพท์)หมายถึงเหตุการณ์นั้นได้เสร็จสิ้นลงไปแล้วหรือเวลาได้ผ่านไปแล้วตรงกับความหมายในภาษาไทยว่า(ได้)...แล้ว ข้อนี้ก็เป็นข้อที่ตอบผิดกันเป็นส่วนมาก
5.2 แนวทางแก้ไข(改善问题的方法)
                        ในการแก้ปัญหาเรื่องการใช้คำเสริม“了、着、过”ของนักเรียนไทย คือ การศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์และวิธีการใช้คำเสริม“了、着、过” ข้อยกเว้นต่างๆของคำเสริม“了、着、过”ควรมีการสังเกตรวมถึงการจดจำในเรื่องของลักษณะความหมายของ“了、着、过” ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหนังสือประกอบการเรียน  หนังสือไวยากรณ์ พจนานุกรม และสื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้“了、着、过”มากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจโครงสร้างและความหมายของ“了、着、过”อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้“了、着、过”ในประโยคผิดได้
5.3 ปัญหาและอุปสรรคจากการทำวิจัย(研究的问题与阻碍)
1. เนื้อหาเรื่องวิธีการใช้“了、着、过”ในบางโครงสร้างต้องใช้เวลานานในการค้นหา ทั้งในหนังสือประกอบการเรียน หนังสือไวยากรณ์ พจนานุกรม และสื่ออินเตอร์เน็ต
2. แหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษามีน้อย ข้อมูลที่พบในสื่อต่างๆมีเนื้อหาน้อยและมีเนื้อหาไม่ละเอียด โดยเฉพาะเรื่อง“着、过”
3.การเก็บข้อมูลแบบทดสอบในแต่ละชั้นปีมีปัญหา เนื่องมาจาก จำนวนคนที่ตอบแบบสอบถามไม่เท่ากันกับจำนวนข้อมูลของนักเรียนที่ได้มา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ยังไม่เรียนเรื่องที่ทำการสำรวจแต่นักเรียนส่วนใหญ่ สามารถทำแบบสอบถามได้
5.4 ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย(提出修改建议)
                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5จำนวน 10 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน หากมีผู้สนใจต้องการศึกษาปัญหาการใช้“了、着、过”ของนักเรียนไทยเพิ่มเติมควรจะศึกษาเกี่ยวกับ ลักษณะทางโครงสร้างและลักษณะทางความหมาย เพื่อจะได้เนื้อหาที่หลากหลายและมีความแตกต่าง รวมถึงเลือกกลุ่มตัวอย่างกลุ่มอื่นได้อีก เพื่อจะได้ทราบปัญหาของนักเรียนไทยได้อย่างครอบคลุมและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนภาษาจีนของนักเรียนไทยต่อไป
















没有评论:

发表评论