ชื่อผู้จัดทำ นางสาวนพาภรณ์ แสงสุกวาว รหัส 5114442540
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาวิเคราะห์อักษรมงคล 8 ประการ
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน : 八个吉祥字的研究
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ : A Study and Analyze the 8 Auspicious Alphabets
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์อักษรมงคล 8 ประการ
คำสำคัญ : อักษรมงคล8 ประการ คำสอนขงจื๊อ คำมงคลของจีน ที่มาอักษรมงคลจีน ความหมายอักษรมงคล
สารานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความหมายเรื่องอักษรมงคล 8 ประการ จากคำสอนของขงจื๊อ ทีมีคำว่า “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” และศึกษาที่มาของอักษรมงคล และศึกษาอักษรมงคลเมื่อมีการนำมาอยู่ในรูปประโยค ซึ่งจะทำให้เกิดความหมายที่มีความเป็นมงคล ซึ่งจะสะท้อนเป็นหลักธรรมคำสอน ตลอดจนภาพสะท้อนทางสังคม จริยธรรม การศึกษา และการปกครอง
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาวิเคราะห์อักษรมงคล 8 ประการ 忠 หมายถึง ซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี 孝หมายถึง ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ 仁 หมายถึง เมตตา กรุณา 爱 หมายถึง ความรัก ความชอบ ความรู้สึกอันลึกซึ้งที่มีต่อคนหรือสิ่งของ 礼 หมายถึง ขนบธรรมเนียมและพิธีกรรม ในสังคมที่ตกทอดมาแต่โบราณ 义 หมายถึง สัจจะธรรม ความเป็นธรรม 廉 หมายถึง ความสันโดษมักน้อย ความไม่โลภ 耻 หมายถึง ความละอาย คล้ายหิริโอตัปปะ
ด้านการให้ความหมายจะสื่อถึงหลักธรรมคำสอนในการปฏิบัติตน ความเชื่อ และความเป็นสิริมงคล
การศึกษาวิเคราะห์อักษรมงคล 8 ประการ 忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻 ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในความหมายของอักษรมงคล 8 ประการ忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻 ในคำสอนของขงจื๊อมากยิ่งขั้น นอกจากนี้ อักษรมงคล 8 ประการ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาติจีนที่สอดแทรกในความหายของตัวอักษร ทั้งยังสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
题目 : 八个吉祥字的研究
关键词 : 八个吉祥字,孔子教学,中国的几箱子,吉祥子的来源,吉祥子的意思
本论文的目的是分析汉语八个吉祥字性质 从孔子教学,有 忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻和借鉴来源吉祥字的研究当与文字。以及 “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” 在八个吉祥字当中所反映的中国社会与文化进行研究。研究方法是从相的现在汉泰词典,书籍,文献所收集。
从研究结果发现, 八个吉祥字的研究。
忠的意思是 赤诚无私,尽心竭力。
孝的意思是 尽心奉养和尊敬父母。
仁的意思是憾事,怜悯,同情。
爱的意思是 对人或事物有深厚的感情。
礼 的意思是风俗习惯。
义 的意思是 公正合宜的道理或行为。
廉的意思是不贪污,不损公肥私。
耻的意思是羞愧。
其意义表示行内,信仰,吉祥之教训,另外在借鉴意义八个吉祥字的研究。
通过研究。使人们更加深入了解到八个吉祥字的研究以及忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻 的意义和作用。其中还反映出人民的文化。此外本文研究的成果还可以帮助提高汉语学习的效率。
สรุปผลการวิจัย ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
(研究成果,研究中的问题及阻碍,研究建议)
การศึกษาเรื่องอักษรมงคล 8 ประการ มุ่งที่จะศึกษา ที่มาของคำว่า “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” และ ศึกษาความหมายของคำว่า “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” เมื่อรวมอยู่ในรูปประโยค โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาวิจัยดังนี้ ศึกษาเฉพาะอักษรมงคล “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” โดยศึกษาจากหลักคำสอนของขงจิ๊อ
สำหรับเนื้อหาในบทที่ 5 ของการศึกษาเรื่องอักษรมงคล 8 ประการ “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻”เป็นการสรุปผลการวิจัย ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการทำวิจัยโดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
5.1 สรุปผลการวิจัย (研究成果)
5.1.1 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล忠
5.1.2 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล孝
5.1.3 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล 仁
5.1.4 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล爱
5.1.5 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล礼
5.1.6 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล义
5.1.7 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล廉
5.1.8 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล耻
5.2 ปัญหาอุปสรรค (研究中的问题及阻碍)
5.3 ข้อเสนอแนะ (研究建议)
5.1 สรุปผลการวิจัย (研究成果)
จากการศึกษาอักษรมงคล 8 ประการ “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” และเมื่อนำมารวมเป็นรูปประโยค สามารถสรุปผลการวิจัยได้ตามความหมายของอักษรมงคล 8 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
5.1.1 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล忠
ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ทำการใดๆให้ถูกต้องยุติธรรม ไม่โปปดหลอกลวง ไม่ทำสิ่งที่น่าละอายต่อตนเองและผู้อื่น ถูกต้องตรงต่อฟ้าดิน ตรงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตรงต่อบ้านเมือง ตรงต่อสังคม ตรงต่อพ่อแม่ ตรงต่อพี่น้อง บุตร ภรรยา ทุกสิ่งที่ทำไปโดยไม่ผิดกฎหมาย
ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี คือการทรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ความจริง จริงใจ พูดจริงทำจริง ในเมื่อสังคมมนุษย์เป็นการอยู่รวมกันอย่างเป็นหมู่เป็นเหล่า การที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเดียวกัน หรือสังคมส่วนรวม ความซื่อสัตย์จึงมีบทบาทสำคัญมาก
ขงจื๊อจึงให้ยึดถือ忠 เพราะ ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ทำการใดๆจะเห็นได้ว่า การหมุนเวียนเปลี่ยนผันตามฤดูกาลของธรรมชาติ ถ้าหมุนเวียนถูกต้องตามกาลเวลา มนุษย์ก็เฉกเช่นกัน ถ้าผิดต่อสัตยธรรมของตนเองแล้ว ภัยพิบัติย่อมบังเกิดขึ้นต่อตนเอง ท่านขงจื้อจึงสอนให้บำเพ็ญสัตยธรรม เพื่อสันติสุขของสังคม
5.1.2 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล孝
คือความกตัญญูเป็นคุณธรรมอันดับแรกเป็นต้นกำเนิดของความดีงามเป็นคุณธรรมสำนึกที่ควรปฏิบัติรักษาเป็นสำคัญ ซึ่งคนจะขาดเสียมิได้ ขาดความกตัญญู เหมือนต้นไม้ไม่มีราก เหมือนน้ำไม่มีต้นน้ำ พ่อแม่เลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ บุญคุณลึกล้ำกว่ามหาสมุทร คุณธรรมท่านสูงกว่าขุนเขา ทุกค่ำทุกเช้า ทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อแม่ให้ความรักดูแลเอาใจใส่ลูก จนสุดที่จะ บรรยายได้ ไม่ว่าจะลำบากฝ่าฟันอันตรายอย่างไรก็ไม่เหนื่อยหน่ายท้อถอยความรักลูกนั้นไม่เปลี่ยนผันจนวันตายความกตัญญูตามปกติที่ทุกคนพึงปฏิบัติในจุดหมายแห่งการอบรมนี้คือ
1. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่พ่อแม่
2. ช่วยรับภาระความทุกข์กังวลของท่าน
3. ให้เสื้อผ้าอาหารด้วยกิริยาที่ยินดี
4. พ่อแม่โกรธว่า ไม่ขัดเคืองโกรธตอบ
5.1.3 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล 仁
คือเมตตาธรรมหรือความมีเมตตาปราณี, เมตตาการุณย์, มีสัจจะ, มีศีลธรรม, มีธรรมประจำใจ หรือ คุณธรรมของบัณฑิต เพราะ ชาวจีนเชื่อว่าความเมตตาปราณีนั้นจะนำมาซึ่งมิตรที่ดี ดังเช่น
เมตตา คือ ความต้องการให้สัตว์โลกมีความสุข
กรุณา คือ ความต้องการให้สัตว์โลกพ้นทุกข์
ความทุกข์ของสัตว์โลกก็คือ ความทุกข์ของสรรพสัตว์ในโลก จะถือเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ของตนเอง ความเศร้าเสียใจของสรรพสัตว์ จะถือเป็นเสมือนความเศร้าเสียใจของตนเอง ทุกข์เกับเศร้าเหมือนกันก็คือ ความเห็นในใจในทุกข์และเศร้านั้น และจะช่วยหาวิธีให้พ้นจากความทุกข์โศกเศร้านั้นๆ
ถ้าพิจารณา “เมตตา” อันเป็นทางสายกลางของศาสนาทั้งสาม ประกอบด้วย พระพุทธเจ้า เหล่าจื๊อ และขงจื๊อ มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ภาษาต่างกันเท่านั้น คือ
เหล่าจื๊อ ให้บำเพ็ญ 木 mù ธาตุไม้
ขงจื๊อ ให้บำเพ็ญ 仁 rén เมตตาคนที่
พระพุทธเจ้า ให้รักศีล ปาณาติปาตา เว้นจากการเบียดเบียนชีวิต ธาตุไม้ในตัวคน
เมตตาล้วนเป็นสิ่งที่สงบเยือกเย็นเป็นผู้ให้โดยปราศจากข้อมูลใดๆทั้งสิ้นเมตตาที่แท้จริงจึงประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ คือขาด
1. ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด จะเป็นญาติหรือคนที่รักชังล้วนแต่ได้รับความเมตตา
2. ไม่มีเวลาจำกัดไม่ว่าจะตายไปแล้ว หรือ ล่วงลับไปนานเท่าใดก็ยังเมตตา
3. ไม่ต้องการค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น แม้เมตตาแล้วจะได้รับผลเลวร้ายก็ยังคงเมตตา
4. ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูง ต่ำต้อยยากไร้อย่างไรก็ได้รับความเมตตาเท่าเทียมกันให้กระเทื
ความเมตตาจึงมีค่า “ค้ำจุนโลก” ได้และมิได้ทำลายสรรพสิ่งใดๆเลย มีแต่ทำให้ชีวิตทั้งปวงเจริญงอกงาม ดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งเจริญงอกงาม ดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่สรรพสัตว์ทุกชีวิตได้โดยไม่ต้องการผลตอบแทนและเงื่อนไขใดๆ ทุกชีวิตต่างได้รับอากาศ น้ำ ที่อยู่อาศัย บนแผ่นดินเท่าเทียมกัน เมตตาธรรมจึงนำ “สันติสุข” ต่อตนเองและชาวโลก จึงควรหลีกเลี่ยงรสเปรี้ยวจัด คือการดำรงกาย ด้วยวิถีทางสาง เมื่อทั้งและจิต อ
5.1.4 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล爱
คือความรักด้วยความจริงใจ, ชอบในสิ่งที่ควร, หวงแหน, สิ่งที่ตนนิยม อันแสดงถึง ความรักที่เป็นสาธารณะ หรือ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้อง
ขงจื๊อสอนให้รู้ถึงความรักที่บริสุทธิ์ เมื่อเกิดมาในครอบครัวเดียวกันเราควรมีความรัก มีเมตตา กรุณาต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และพัฒนาชีวิตให้มีความสุขชีวิตคนเราในชาติหนึ่ง ต่างมุ่งแสวงหาหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียง ฯลฯแต่ในที่สุด สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในชีวิตคือ ความรัก
ความรักที่หมายถึงความปรารถนาดี เอื้ออาทรต่อกันยอมรับได้ทุกสิ่งทุกอย่างในความเป็นเขารักอย่างไม่มีเงื่อนไข เป็นมิตรภาพที่ยั่งยืนเป็นความรักที่มีแต่ให้ ให้ด้วยความพอใจ สุขใจชีวิตที่มีความรักเช่นนี้ ย่อมอบอุ่นใจ สบายใจ และที่สำคัญที่มีให้แก่สังคมความรักรักที่มีต่อบุคคลอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนการมีความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรีจิต คิดช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของความรักนั้นขงจื๊อกล่าวว่าอยู่ที่จิตใจเราเองเป็นสำคัญ คือฝึกจิตใจให้มีความเยือกเย็น มีเมตตาอารีต่อสรรพสัตว์ทั่วหน้าไม่ว่าประเภทใด สัตว์ทุกประเภท มีความรักในชีวิตของตนเองเสมอเหมือนกันหมด สัตว์ทุกประเภทบนโลกมีความรักความสุข เกลียดทุกข์เท่ากันไม่มีการยกเว้น
ความรักที่หมายถึงความปรารถนาดี เอื้ออาทรต่อกันยอมรับได้ทุกสิ่งทุกอย่างในความเป็นเขารักอย่างไม่มีเงื่อนไข เป็นมิตรภาพที่ยั่งยืนเป็นความรักที่มีแต่ให้ ให้ด้วยความพอใจ สุขใจชีวิตที่มีความรักเช่นนี้ ย่อมอบอุ่นใจ สบายใจ และที่สำคัญที่มีให้แก่สังคมความรักรักที่มีต่อบุคคลอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนการมีความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรีจิต คิดช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของความรักนั้นขงจื๊อกล่าวว่าอยู่ที่จิตใจเราเองเป็นสำคัญ คือฝึกจิตใจให้มีความเยือกเย็น มีเมตตาอารีต่อสรรพสัตว์ทั่วหน้าไม่ว่าประเภทใด สัตว์ทุกประเภท มีความรักในชีวิตของตนเองเสมอเหมือนกันหมด สัตว์ทุกประเภทบนโลกมีความรักความสุข เกลียดทุกข์เท่ากันไม่มีการยกเว้น
5.1.5 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล礼
礼หมายถึงจริยธรรมและ ความหมายของคำว่า จริยธรรมคือ การแสดงความเคารพ มรรยาท ความสุภาพ ความประพฤติปฏิบัติที่ดี
ขงจื๊อจึงสอนให้มนุษย์ทุกคนต้องมี จริยธรรม 礼 โดยปกติมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่า ในช่วงก่อนสองพันกว่าปีมาแล้ว ปราชญ์ขงจื้อสอนมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สังคมร่มเย็น ซึ่งขงจื้อสอนว่าจริยธรรมครอบคลุมความสัมพันธ์ของมนุษย์ไว้ถึง3ระดับ คือ
1. กษัตริย์กับขุนนาง
2. บิดากับบุตร
3. สามีกับภริยา
2. บิดากับบุตร
3. สามีกับภริยา
ขงจื๊อได้กล่าวในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับขุนนางว่าในการบริหารประเทศที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากมาย ต้องใช้ศิลปะเปรียบเหมือนกันทอดปลาตัวน้อย ๆ จงอย่าพลิกปลาบ่อยครั้งเพราะจะทำให้เนื้อปลาหลุดลุ่ยออกได้ การบริหารประเทศหากก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ประชาชนมากนักย่อมทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ผู้ปกครองแผ่นดินจะบริหารทั้งขุนนางและราษฎร ได้ย่อมต้องปกครองแผ่นดินโดยธรรม ประชาชนย่อมสงบร่มเย็นเป็นสุข การบริหารประเทศสมควรใช้มรรยาทนอบน้อมถ่อมตนเป็นสำคัญ เหมือนดั่งมหาสมุทรกว้างใหญ่ที่อยู่เบื้องต่ำเป็นศูนย์รวมของธาราใหญ่น้อยมากมายที่ไหลมาบรรจบรวมกัน
ขงจื๊อได้กล่าวในเรื่องความสัมพันธ์ในครองครัว บิดามารดาย่อมเลี้ยงดูบุตรหลานเป็นอย่างดี ด้วยความเมตตาอ่อนโยนรักใคร่ ผู้เป็นบุตรหลานจึงต้องมีสัมมาคารวะ เคารพบิดามารดา เชื่อฟังคำสั่งสอน ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อดึง ครอบครัวจึงเกิดสุข
ความสัมพันธ์สามีกับภริยา ถ้าจะเปรียบกับคำสอนของท่านเหลาจื๊อ ท่านสอนให้สำรวม ธาตุไฟ ในตัวตนโลกนี้อยู่ได้เพราะดวงอาทิตย์ให้ความร้อนความอบอุ่น และต้องพอดีพอเหมาะ จึงจะเกิดประโยชน์ ภายในกายของคนก็มีธาตุไฟ หากควบคุมให้อยู่ในความพอดี ย่อมทำให้พลังการขับเคลื่อนภายในเป็นเสมือนหนึ่งพลังงานมีความอบอุ่น ถ้าหากควบคุมมิได้ เกิดมากเกินไปย่อมเป็นไข้ หรือน้อยไปย่อมหนาวสั่น ความพอดีนั้นเป็นกลาง
5.1.6 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล义
义หมายถึง มโนธรรมทำความเข้าใจ ความหมายของคำว่า มโนธรรม
มโน คือ ใจ
ธรรม คือ สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ ความดี ความถูกต้อง
และมโนกรรม คือการกระทำทางใจทางชั่ว มี โลภ โกรธ หลง ซึ่งความประพฤติชั่วทางใจเหล่านี้จึงต้องแก้ไขด้วย “มโนธรรม” ความประพฤติ ชอบด้วยใจ อันเป็นทางสายกลางที่ศาสดาทั้งสาม มีพระพุทธเจ้า เหลาจื๊อและขงจื๊อ มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ต่างภาษาเท่านั้นเองว่า
ท่านเหลาจื้อ ให้บำเพ็ญธาตุทอง金
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญมโนธรรมสำนึก 义
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญมโนธรรมสำนึก 义
พระพุทธเจ้า ทรงให้เจริญศีล อทินนาทาน
ซึ่งหมายถึงการไม่เอาของผู้อื่นมโนธรรมสำนึกตรงต่ออวัยวะภายในตัวเรา คือ ปอด
ความหมายแห่งคำสอนของพระศาสดาทั้งสาม แม้แตกต่างกันด้วยภาษาแต่ความเป็นจริงแห่งวิถีปฏิบัติแล้วเป็นเช่นเดียวกัน
การบำรุงเลี้ยงรักษาธาตุทอง ในตนเองย่อมทำให้สามารถผนึกลมปราณ ให้เป็นเอกภาพ และการควบคุมลมปราณจำเป็นอยู่เองที่ต้องอาศัย ปอด ที่แข็งแรงธาตุทองมีความหมายเป็นความแข็งแกร่ง และพลานุภาพ สามารถตอบแทนต่อสรรพสิ่งที่เป็นคุณแก่ตนเองได้
การไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของเราย่อมต้องอาศัยมโนธรรมสำนึกรู้ถึงความเดือดร้อนที่ผู้อื่นได้รับหากตนเองเห็นแก่ตัวหยิบฉวยของคนอื่นมาเป็นของตน เป็นการขจัดความเห็นแก่ตัวโดยแท้จริง จึงเป็นผู้เสียสละเพื่อคนอื่นได้ ตรงกับหัวข้อของการให้ทาน ซึ่งเป็นธรรมในการกำจัดกิเลสตัวโลภ นั่นเอง
ขงจื๊อจึงสอนให้รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่เป็นอันดับแรก หากใครก็ตามที่ขาดความกตัญญูก็เท่ากับผิดต่อสัจจธรรมของฟ้าดินและโทษที่เขาได้รับนั้นย่อมไปเกิดเป็นสุนัข เพื่อให้บำเพ็ญกตัญญูรู้คุณ ในโลกนี้ สุนัข จึงเป็นสัตว์โลกที่รู้จักตอบแทนคุณเจ้าของเมื่อมนุษย์รู้จักกตัญญู ความเห็นผิดชอบชั่วดีย่อมตามมา รู้จักละความเห็นแก่ตัว จึงรู้จักที่จะให้อภัยผู้คนที่มาทำให้แค้นเคืองขัด เป็นที่มาแห่งการละกิเลสตัว โกรธ เพราะรู้จักละ โกรธ ได้ด้วยความรู้ผิดชอบชั่วดี ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็เพราะผู้คนนั้นมีสติ การมีสติ เป็นที่มาแห่งปัญญา จึงเป็นการกำจัดกิเลสตัว หลง ได้อย่างสิ้นเชิง
ถ้าพิจารณาจากวงจรของธรรมชาติจะเห็น มโนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดวงอาทิตย์แผดเผาน้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำ จับตัวกันหนาแน่นจึงกลายเป็นเมฆ ครั้นเมฆลอยต่ำกระทบความเย็นก็กลั่นตัวเป็น น้ำฝน
น้ำฝนตกลงมาสู่แผ่นดินเกิดความชุ่มชื้น พืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงาม ทำให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ จนระเหยกลายเป็นไอน้ำขึ้นไปต่างตอบแทนอาศัยซึ่งกันและกันจึงเป็นวงจรธรรมชาติที่งดงาม มนุษย์ไม่ลักทรัพย์ ไม่ขโมย ถือเอาเป็นของตน ละโลภ จึงรู้ให้ทาน รักษาศีล รู้ให้ทาน รู้จักตอบแทนบุญคุณ มีกตัญญู รู้อภัย จึงละโกรธ เพราะละโกรธ จิตแจ่มใส มีสติ ใจเบิกบาน ไม่มัวเมา หลง จึงมีปัญญา ห้ามลักทรัพย์ มีมโนธรรม รักษาธาตุแห่งทอง ที่ไม่เปลี่ยนแปล
มโนธรรม จึงหมายถึงการกระทำที่ถูกต้องตามหลักธรรม เป็นคนไม่ควรทำทุจริต ทรัพย์สินเงินทองแม้เป็นของน่ายินดี แต่ควรให้ได้มาอย่าง เป็นธรรม หากแข็งขืนช่วงชิงมา ทำให้ผู้อื่นเสียหายเพื่อตนจะได้ประโยชน์ เช่นนี้ ภายหลัง ย่อมได้รับภัยพิบัติเสียหาย ฉะนั้น กัลยาณชนผู้มีมโนธรรม ไม่เพียงแต่ไม่โลภในทุกขลาภ ยังจะต้องสละทรัพย์ เพื่อมนุษยธรรม ช่วยเหลือผู้คน และงานธรรมต่างๆ เป็นที่ชื่นชมต่อเทพยดา เป็นที่เคารพ ของคนทั้งหลาย ไว้ชื่อเสียงเกียรติคุณแก่ลูกหลาน และบรรพบุรุษคงอยู่ชั่วกาลนาน
5.1.7 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล廉
คือสุจริตธรรม หมายถึงใจซื่อมือสะอาด ไม่โลภ มากอยากได้ ไม่ทุจริตคิดมิชอบผู้มีสุจริตธรรมจะต้องปฏิบัติตนด้วยความจริงใจ ทำการใดๆให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ฉวยโอกาสเมื่อใกล้เงิน ไม่หลงใหลเมื่อใกล้อิสตรี มีจิตใจสงบเยือกเย็น ละกิเลสความ อยาก คุณค่าเหล่านี้อยู่ที่ใจกาย มิได้อยู่ที่เสื้อผ้าที่สวมใส่ ใจกายที่มีความบริสุทธิ์ชัดเจน 3 สถาน คือ บริสุทธิ์งานทางโลกงานทางธรรม, บริสุทธิ์ทางการเงิน และบริสุทธิ์สำรวมมารยาทระหว่างหญิงชาย และ 4 เที่ยงตรง คือ
1.กายเที่ยงตรง
2.ใจเที่ยงตรง
3. วาจาเที่ยงตรง
4.ความประพฤติเที่ยงตรง
เหล่านี้เป็นเครื่องประดับกายให้ขาวสะอาด จิตใจที่สุจริต แม้ฐานะจะยากจนก็ไม่ โลภอยากได้แต่ผลประโยชน์อันไม่ควรได้ เจียมตัวรักษาตน รักษาหน้าที่การงานด้วยความ สุจริต ไม่เปลี่ยนแปลง
5.1.8 สรุปผลการวิจัยตามความหมายของอักษรมงคล耻
คือละอายต่อความชั่ว หมายถึงเนื้อแท้ของจิตเดิม จิตเดิมของคนเรามีแต่ความดีไม่มีความชั่ว ซึ่งหมายถึงมโนธรรมหรือน้ำใจอันดีงามนั่นเองความรู้สึกละอายต่อความชั่ว มีอยู่ในใจของทุกคน เมื่อรู้ละอาย จึงรู้การอันควรกระทำที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรงกันข้ามหากมิรู้ละอาย ใจกายจะไม่สำรวม สวมใส่เสื้อผ้าไม่สุภาพ เป็นชายก็ ไม่ใช่ เป็นหญิงก็ไม่เชิง ไม่ระวังความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ก่อให้เกิดข้อครหาน่าอับอายต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากไม่รู้ละอายต่อความชั่วทั้งสิ้น
ขงจื้อจะสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนโดยสมบูรณ์ การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นต้องปฏิบัติตาม คุณธรรม 8 ประการ ท่านขงจื้อได้สอนเกี่ยวกับ คุณธรรม 8 ประการ“忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” ซึ่งชาวจีนให้ความสำคัญ เคารพและปฏิบัติตามคำสอนนี้ ซึ่งสิ่งนี่เองที่ชาวจีนถือว่าเป็นคุณธรรมประจำใจอันตกทอดสืบต่อกันมาของสายเลือดมังกร และถือว่าเป็นมงคลแห่งชีวิตที่ควรประพฤติปฏิบัติตาม ดั่งคำที่ชาวจีนมักกล่าวกันไว้ว่า “เมื่อคนเรามีคุณธรรมแล้ว โชคลาภความร่ำรวยชื่อเสียงเกียรติยศย่อมตามมา” หรือในมุมกลับกัน “ถ้าไร้ซึ่งคุณธรรมเสียแล้ว แม้จะเก่งกล้าหรือดวงดีสักแค่ไหน สุดท้ายก็จะพบแต่ความพินาศ” ดังนั้นจึงเห็นว่าชาวจีนมักจะติดวลีคุณธรรมมงคลไว้กันในบ้านเรือนเพื่อเตือนใจ ว่า “ 忠 孝 仁 爱礼 义 廉 耻” กันอยู่เสมอเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจถึงการมีคุณธรรมประจำใจ อันจะนำมาซึ่งโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตทั้งมวล
5.2 ปัญหาอุปสรรค (研究中的问题及阻碍)
ตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานจนถึงขั้นตอนสุดท้ายในการทำวิจัย มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการทำวิจัยดังนี้ คือ
1. เนื่องจากอักษรมงคล 8 ประการ เป็นคำที่ชาวจีนสมัยก่อนได้รับการสั่งสอนให้ยึดมั่นปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักธรรมสำคัญประจำใจ แต่ปัจจุบันนี้ความหมายของอักษรมงคลบางตัวก็ได้เปลี่ยนความหมายไปจากเดิม ทำให้การแปลความหมายเป็นไปได้ยาก จนต้องอาศัยการค้นหาคำศัพท์ที่ใกล้เคียงและไปปรึกษาอาจารย์เจ้าของภาษาอักษรมงคล
2. การแปลความหมายของอักษรมงคลเมื่อนำมาแต่งเป็นรูปประโยค การแปลความหมายอาจจะคลาดเคลื่อน เนื่องจากรูปประโยคบางรูปนั้นเมื่อแปลความหมายออกมาแล้วจับใจความไม่ได้ จึงทำเกิดการเข้าใจความหมายของประโยคที่คลาดเคลื่อนไป จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปประโยคใหม่ทั้งหมด เพราะจะทำให้การทำงานราบรื่นไปด้วยดี
5.3 ข้อเสนอแนะ (研究建议)
จากการทำการศึกษาวิจัยเรื่องอักษรมงคล 8 ประการ “忠 孝 仁 爱 礼 义 廉 耻” พบว่ายังมี อักษรของจีนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นสีริมงคล หรือคำที่มีความเป็นสิริมงคล เช่น แปดสัญลักษณ์มงคล (八吉祥) อักษรมงคลในเทศกาลวันปีใหม่ วันตรุษจีน หรือคำมงคลในงานแต่งงานของจีน เป็นต้น ซึ่งยังสามารถทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมได้อีกมากมายหลายด้าน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานเกี่ยวกับอักษรมงคลต่างๆของชาวจีน ได้อย่างสมบูรณ์ และมีประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษาเกี่ยวกับคำมงคลของภาษาจีน
没有评论:
发表评论