2012年3月1日星期四

การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว 鱼 เป็นตัวประกอบ

ชื่อภาษาไทย : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว เป็นตัวประกอบ
ชื่อภาษาจีน : 与“鱼”字有关的汉字研究
ชื่อภาษาอังกฤษ : An analysis study of “” radical in Chinese Characters.



ผู้จัดทำ นางสาวกรภัทร  เตชะวงศ์ทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.ณัฐพัชร์  เตชะรุ่งไพศาล



บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ : ความหมาย, หมวดนำ, คำศัพท์, ตัวอักษร , ความหมายของ

                 การศึกษาวิเคราะห์เรื่องตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษรจีน ศึกษาความหมายและโครงสร้างของตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ และจัดกลุ่มคำศัพท์ตามความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์แต่ละตัว โดยนำคำศัพท์ภาษาจีนที่มีตัวอักษร เป็นตัวประกอบจำนวนทั้งหมด 208 ความหมายของคำศัพท์ มาแยกประเภทและศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์
                 ในการศึกษาวิจัยนี้ จำนวนตัวอักษรที่นำมาศึกษาโดยนับตามความหมายของคำศัพท์มีจำนวน 208 ตัวอักษร จากตัวอักษรดังกล่าวได้แบ่งกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.             วิเคราะห์ตามความหมาย แบ่งเป็น
1.1      ความหมายตรง คิดเป็น 68%
1.2      ความหมายแฝง คิดเป็น 16%
1.3      ความหมายแผลง คิดเป็น 16%
2.             วิเคราะห์ตามโครงสร้าง แบ่งเป็น
                           2.1 โครงสร้างประกอบด้านข้าง คิดเป็น 86%
                           2.2 โครงสร้างประกอบด้านบน คิดเป็น 1%
                           2.3 โครงสร้างประกอบด้านล่าง คิดเป็น 6%
                           2.4 โครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่ง คิดเป็น 7%
                 การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบในครั้งนี้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษรจีน การผสมกันระหว่างอักษรเดี่ยวสองตัว ทำให้เกิดอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่เกิดขึ้น ทำให้ทราบถึงความหมายและโครงสร้างของตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ ว่าเมื่อนำตัวอักษร มาเป็นตัวประกอบกับตัวอักษรอื่นแล้ว จะมีความหมายเหมือนเดิม จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับตัวอักษรเดิม หรือจะมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น







摘要

题目: 字有关的汉字研究
关键词 : 意义、部首、生词、的汉字、的意义

                 本文研究的目的是对与字有关的汉字研究, 研究汉字演变、字有关的意义和结构, 然后把每个汉字的意义和汉字的结构进行分类。本文研究范围限定为 208个词的意义与字有关的汉字进行分析意义,以便了解汉字的意义和汉字的结构。
                 通过对 208 个字的意义与字有关的汉字意义进行分析研究, 发现其可以分为两种 :
                 1.分析汉字的意义
                           1.1 意义相同的占 68%
                           1.2 意义有些微联系的占 16%
                           1.3 意义不同的占 16%
                 2.分析汉字的结构
                           2.1 在汉字旁边的占 86%
                           2.2 在汉字上边的占 1%
                           2.3 在汉字下边的占 6%
                           2.4 与一部件组合后在与其它部件组合的占 7%
                 对以字有关的汉字研究, 能够使研究者更加了解汉字的发展。两个单字或部件的组合,产生新的汉字和意义。使研究更加了解以有关的汉字意义和汉字结构;把字旁与别的汉字组合时有意义相同、意义有关还是意义改变。对这些字有关的汉字研究将对汉语教学者有辅助作用。






บทที่ 5 ()
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
(研究成果、研究障碍与问题、研究建议)

                 การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “” เป็นตัวประกอบ การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและโครงสร้างประกอบของตัวอักษร “” เพื่อที่จะนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน ซึ่งทำให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษร ความหมายของตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร “” เป็นตัวประกอบและโครงสร้างของตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร “” เป็นตัวประกอบว่า มีความหมายเหมือนเดิม ความหมายเกี่ยวข้องกับตัวเดิม หรือความหมายที่เปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการสรุปผลการศึกษา บอกถึงปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

5.1 สรุปผลการศึกษา(研究成果)
                 5.1.1 การศึกษาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มความหมายของตัวอักษร (分析汉字的意义) พบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์ความหมายที่เกิดขึ้นมีความหมายเหมือน ความหมายที่ใกล้เคียงและความหมายที่ต่างออกไป เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายมีเพียงกลุ่มข้อมูลส่วนน้อยที่มีความหมายใกล้เคียงและความหมายต่างออกไป
                           5.1.1.1 ความหมายตรง (意义相同) (จำนวนข้อมูล 142 ตัว) เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุดในจำนวนร้อยละ 68 (68.27%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษรนับตามความหมายของตัวอักษร)
                                                 (1) อักษรจีนที่มีความหมายว่าปลา(有关“”的意思同) (จำนวนข้อมูล 142 ตัว) ในภาพรวมทั้งหมดมีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมาก คิดเป็นร้อยละ 100 (100%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายตรง
                 จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาวิเคราะห์ประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัว
อักษรที่เป็นความหมายตรง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายตรงพบว่าตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่า ปลา นั้นเป็นจำนวนทั้งหมดของกลุ่มข้อมูลความหมายตรง
                           5.1.1.2 ความหมายแฝง (意义有些微联系) (จำนวนข้อมูล 34 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีการบอกความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่แท้จริงออกมา จำนวนร้อยละ 16 (16.35%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษร นับตามความหมายของตัว
อักษร)
                                                  (1) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของปลา(有关“鱼的成分”的意思同) (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 15 (14.71%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
                                                  (2) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับการประมง; การแปรรูป(有关“渔业; ”的意思同) (จำนวนข้อมูล 13 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 38 (38.24%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
                                                  (3) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ; พืชน้ำ(有关“水生生物; 水生植物”的意思同) (จำนวนข้อมูล 13 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 38 (38.24%) ของกลุ่มความหมายแฝง
                                                   (4) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับกิริยาอาการของปลา(有关“鱼的举动”的意思) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 6 (5.88%) ของกลุ่มความหมายแฝง
                                                   (5) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับการอุปมาอุปมัย(有关“比喻”的意思同) (จำนวนข้อมูล 1 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 3 (2.94%) ของกลุ่มความหมายแฝง
                 จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งตามกลุ่มความ
หมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแฝง พบว่ากลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการประมง; การแปรรูป ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับสัตว์น้ำ; พืชน้ำ มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการอุปมาอุปมัย มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มข้อมูลความหมายแฝงทั้งหมด
                           5.1.1.3 ความหมายแผลง (意义不同) (จำนวนข้อมูล 32 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จำนวนร้อยละ 15 (15.38%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษร นับตามความหมายของตัวอักษร)
                                                    (1) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับชื่อสกุลของชาวจีนและชื่อเฉพาะ(有关“名称”的意思同) (จำนวนข้อมูล 11 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 34 (34.37%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                                                    (2) ความหมายของตัวอักษรที่หลากหลาย(有关“多重”的意思同) (จำนวนข้อมูล 21 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 66 (65.63%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                 จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแผลง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแฝง พบว่ากลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายที่หลากหลาย มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับชื่อและชื่อเฉพาะมีความหมายน้อยที่สุดในกลุ่มข้อมูลความหมายแผลงทั้งหมด
                 สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามความหมายของตัวอักษร ในการศึกษาข้อมูลตัวอักษร ” ที่มีความหมายว่า ปลา เมื่อนำตัวอักษรอื่นมาประกอบกับตัวอักษร “  ความหมายที่ได้จึงสัมพันธ์กับตัวอักษร “” ค่อนข้างมาก แต่ก็มีบางตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปแต่เป็นส่วนน้อยกว่า เนื่องจากการรวมกันของตัวอักษร “” กับตัวอักษรอื่นๆ ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายเหมือนเดิมหรือความหมายเดิมแฝงอยู่
                 5.1.2 การศึกษาวิเคราะห์โดยใช้การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร (分析汉字结构) พบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ โครงสร้างบอกตำแหน่งและโครงสร้างบอกเสียง
                           5.1.2.1 โครงสร้างประกอบด้านข้าง (在汉字旁边) (จำนวนข้อมูล 178 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบอยู่ด้านข้าง มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมายและไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 86 (85.58%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษร นับตามความหมายของตัวอักษร)
                                                     (1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวน 143 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร” หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ 80 (80.34%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากกว่าโครงสร้างประกอบด้านข้างที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างด้านข้างด้วยกัน
                                                     (2) ไม่บอกความหมาย (没有意义) (จำนวน 35 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร “” มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 20 (19.66%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยกว่าโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างด้านข้างด้วยกัน
                           5.1.2.2 โครงสร้างประกอบด้านบน (在汉字上边) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบอยู่ด้านบน มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมายและไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 1 (0.96%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษร นับตามความหมายของตัวอักษร)
                                                     (1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวน 0 ตัว) ในภาพรวมแล้วไม่พบความหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษร ” ที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านบน
                                                     (2) ไม่บอกความหมาย (没有意义) (จำนวน 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร “” มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 100 (100%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านบนที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุดของโครงสร้างประกอบด้านบน เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างด้านบนด้วยกัน
                           5.1.2.3 โครงสร้างประกอบด้านล่าง (在汉字下边) (จำนวนข้อมูล 13 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบอยู่ด้านล่าง มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมายและไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 6 (6.25%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษร นับตามความหมายของตัวอักษร)
                                                     (1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวน 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร” หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ 30 (30.77%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยกว่าโครงสร้างประกอบด้านล่างที่ไม่บอกความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างด้านล่างด้วยกัน
                                                     (2) ไม่บอกความหมาย (没有意义) (จำนวน 9 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร “” มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 69 (69.23%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุดของโครงสร้างประกอบด้านล่าง เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างด้านล่างด้วยกัน
                           5.1.2.4 โครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่ง (与一部件组合后在与其它部件组合) (จำนวนข้อมูล 15 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่ง มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมายและไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 7 (7.21%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 208 ตัวอักษร นับตามความหมายของตัวอักษร)
                                                     (1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวน 1 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร” หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ 6 (6.67%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่งที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยที่สุดในกลุ่มโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่งด้วยกัน
                                                     (2) ไม่บอกความหมาย (没有意义) (จำนวน 14 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร “” มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 93 (93.33%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่งที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุดของโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่ง เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่งด้วยกัน
                 สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 โครงสร้าง คือ โครงสร้างประกอบด้านข้าง โครงสร้างประกอบด้านบน โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวหนึ่ง รูปแบบทั้งหมดนี้ต่างก็บอกในเรื่องของความหมายและไม่มีความหมาย จะเห็นได้ว่ามีการใช้โครงสร้างประกอบด้านข้างมากกว่าในด้านอื่นๆที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่ง ซึ่งดูจากปริมาณของตัวอักษรแล้วสามารถสรุปได้ว่า โครงสร้างประกอบด้านข้างนิยมใช้มากกว่าโครงสร้างที่ประกอบด้านอื่นๆ ที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่ง

5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย(研究中的问题)
                 5.2.1 พจนานุกรมที่ต้องการมีจำนวนน้อย ทำให้การค้นหาคำศัพท์ในพจนานุกรมเป็นไปได้ลำบาก
                 5.2.2 ข้อมูลในเรื่องตัวอักษรจีนที่มี เป็นส่วนประกอบมีน้อย ทำให้ยากแก่การหาข้อมูลมาประกอบ
                 5.2.3 เวลาในการทำวิจัยน้อย ทำให้ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะระยะเวลามีจำกัด

5.3 ข้อเสนอแนะ(研究建议)
                 จาการทำวิจัยในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาตัวอักษรจีนที่มี เป็นส่วนประกอบ ได้พบข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาในครั้งต่อไป คือควรศึกษาควรศึกษาวิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเพิ่มเติมและควรจะเพิ่มชนิดคำของตัวอักษรจีนตัวนั้นๆ ว่ามีหน้าที่อะไร และควรมีการศึกษาในเรื่องของปัญหาการใช้ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว ” เป็นส่วนประกอบ เพราะผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์เท่านั้น

没有评论:

发表评论