2012年3月2日星期五

การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร 辶เป็นตัวประกอบ

ชื่อผู้นิพนธ์                           :   นางสาวปรียาวัลย์ หางนาค
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา                :   อาจารย์ณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล

               ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย          :    การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร  เป็นตัวประกอบ
               ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน            :    作为部件的汉字研究
               ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ    :    The study of the radical  “” in Chinese characters
               

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง    :     การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร  เป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ   :     ความหมาย, หมวดนำตัวอักษร, คำศัพท์, ตัวอักษร “”, ความหมายของตัวอักษร “
               
                การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “”เป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน ความหมายของตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “”เป็นตัวประกอบ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “”เป็นตัวประกอบ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจาก พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (ฉบับพิมพ์ตัวหนังสือตัวย่อ) เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ จำนวนตัวอักษรที่ศึกษาทั้งหมดมี 118ตัวอักษร โดยการจัดแบ่งข้อมูลตามความหมาย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยขอข้องมูลที่ศึกษา
                ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้นำเอาตัวอักษรเดี่ยวและตัวอักษร “”มาผสมกันเพื่อเกิดเป็นตัวอักษรใหม่ ซึ่งตัวอักษรใหม่ที่ได้จากการผสม จะได้เป็นตัวอักษรที่มีความหมายแตกต่างกัน จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีจำนวนทั้งหมด 118 ตัวอักษร จากการศึกษาตัวอักษรดังกล่าว ได้แบ่งกลุ่มข้อมูลที่จะศึกออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1.             กลุ่มความหมายตรง
2.             กลุ่มความหมายแฝง
3.             กลุ่มความหมายแผลง
                ซึ่งในแต่ละกลุ่มที่ได้กล่าวมานี้ยังมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจ ข้อมูลที่ได้ทำการแบ่งประเภท พบว่า กลุ่มข้อมูลที่มีมากที่สุด คือ กลุ่มข้อมูลความหมายแผลง เมื่อเทียบกับทั้ง 3 กลุ่ม จำนวนที่ได้ มีทั้งหมด 70 ตัวอักษร คิดเป็นร้อยละ 59 ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมด(จำนวน 118) ส่วนกลุ่มความหมายตรงและกลุ่มความหมายแฝง จากการศึกษาพบว่า มีกลุ่มจำนวนของข้อมูลเท่ากันคือ 24 ตัวอักษร คิดเป็นร้อยละ 20.5 ของกลุ่มข้อมูลที่ได้ศึกษาทั้งหมด จากการหาค่าเฉลี่ยที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ยังมีในส่วนเล็กๆ หรือส่วนย่อยๆ ของแต่ละกลุ่มเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ส่วนย่อยแต่ละส่วนสามารถอธิบายความหมายให้กับตัวอักษรได้อย่างชัดเจน ยังเป็นส่วนที่ช่วยทำให้งานวิจัยนี้มีความน่าสนใจ และง่ายต่อการศึกษาในด้านความหมายของตัวอักษรอีกด้วย และจากการศึกษาตัวอักษร “” เป็นตัวประกอบ พบว่า โครงสร้างของตัวอักษร “” มีเพียงตำแหน่งเดียว คือ ส่วนที่อยู่ด้านข้างของตัวอักษร ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเรื่องโครงสร้างจึงไม่ปรากฏในวิจัยเล่มนี้
                ผลจากการศึกษาวิจัย ในเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร  “”เป็นตัวประกอบ พบว่า ตัวอักษร“มีโครงสร้างเพียงตำแหน่งเดียว คือด้านข้างของตัวอักษร ดังชื่อที่เรียกว่า走之旁 (zǒuzhīpáng) จากชื่อของตัวอักษรก็อาจจะสามารถเดาความหมายของตัวอักษรได้ ซึ่งความหมายของตัวอักษร มีความหมายว่า การเดิน จัดอยู่ในหมวดของการเดิน ในการศึกษาตัวอักษร ”  ทำให้เห็นถึงภาพรวมส่วนหนึ่งของตัวอักษร “”  ว่าเป็นตัวอักษรที่บอกความหมายให้กับตัวอักษรใหม่ ดังนั้น ความหมายที่ได้ ส่วนใหญ่ก็จะมีความหมายเหมือนกับความหมายของตัวอักษรที่ศึกษา และตัวอักษรเหล่านี้ได้แสดงความหมายออกมา ในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาจจะอยู่ในรูปความหมายตรง ความหมายแฝง หรือแม้แต่ในรูปความหมายแผลง โดยพื้นฐานหลักๆ ของความหมายในตัวอักษรใหม่ ก็ยังคงความหมายเดิมของตัวอักษร ”  นี้เอาไว้ ส่งผลให้ผู้ศึกษาหรือผู้ที่กำลังเริ่มศึกษาสามารถที่จะเดาความหมายของตัวอักษรที่ใช้ “”  เป็นตัวประกอบได้ ถึงแม้ว่า ความหมายที่ได้จากการเดาความหมายของตัวอักษรจะไม่ใช่ความหมายที่ตรงตัวหรือที่เหมือนกับความหมายของตัวอักษร “”  เลยก็ตาม แต่ปัจจุบันตัวอักษรจีนมากกว่า 80% สามารถเดาความหมายและเสียงได้ การศึกษาตัวอักษร “” จึงเป็นผลดีมากหรือมากที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจหรือผู้ที่กำลังศึกษา เมื่อผู้ที่สนใจได้มาศึกษาก็สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้


摘要
题目        作为部件的汉字研究
关键词      :意义、部首、生词、的汉字、的意义
     本研究的目的是对作为部件的汉字研究。研究汉字的演化进程和不同的汉字组、以及作为部件的汉字意义。此次的研究成果可以用来作为教学参考。本研究使用的资料来自杨汉川编译的 «现代汉泰词典»(简体字版)共收集作为部件的汉字研究的一百一十八个汉字、以此为依据对作为部件的汉字研究判别种类、分析意义。

      在这次研究中、通过一百一十八个汉字与作为部件的汉字研究中、分析其意义、研究发现两个单字一起组合产生新汉字、与原汉字种类不同的意义。汉字意义可以分为三种 :
      一、意义相同
      二、意义有些微联系
      三、意义不同

                各种都对部分汉字进行分析增强研究力度。分析这些汉字发现:意义不同比其它汉字多、这一部分有汉字占 59% 意义相同意义有些微联系有均等的资料组有汉字占20.5%。这次研究只研究汉字的意义。因为汉字的结构只能作为汉字旁边的部分。因此对作为部件的汉字进行研究、重点集中在对其意义进行分析研究。本研究可以使学生对汉字加深理解、并更多的掌握 部件汉字。

      研究发现、作为部件的汉字研究、汉字的结构与形式有一个部分、汉字结构的名称 ;走之旁(zǒuzhīpáng)、这个名字使我们了解所处的位置。从汉字的名称也许能猜测汉字的意义、在走路的类别。研究(走之旁)发现 :汉字有很多意义 :新汉字新意义、部分汉字意义跟作为汉字部件的类别一样,有写的汉字发现意义类别不一样、比如:意义相同、意义有些微联系意义不同。新汉字新意义还有 汉字的旧意义。使学生简单地猜测 汉字的意义,虽然有些不可以猜测,  但汉字有 80% 是复合汉字可以推测出意义与声音。研究可以作为发展教学的参考和资料。

บทที่ 5第五
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
(研究成果, 问题障碍及建议)

    การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ ศึกษาวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน ความหมายของตัวอักษรไม่ว่าจะเป็น ความหมายตรง ความหมายแฝง ความหมายแผลง ของ ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  ตลอดจนสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนได้อีกด้วย และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องของตัวอักษรจีนอีกด้วย
                การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  ในหลายๆ รูปแบบ ตัวอักษรที่ทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 118 ตัวอักษร ซึ่งได้ทำการแบ่งแยกกลุ่มของข้อมูลได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ความหมายตรง 2.ความหมายแฝง 3.ความหมายแผลง ใน 3 ส่วนนี้ ยังมีส่วนย่อยๆ มาเพิ่มเติม เพื่อง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจ ในส่วนของบทที่ 5 นี้ เป็นเนื้อหาของวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  นี้ เป็นการสรุปผลการวิจัย ปัญหาและอุปสรรคของการทำวิจัย และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
                5.1 สรุปผลการวิจัย
                                5.1.1 กลุ่มความหมายตรง意义相同
                                                5.1.1.1 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการเดิน, เดินทาง
                                                5.1.1.2 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่, เคลื่อนไหว
                                                5.1.1.3 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการหนี, หลบหนี, ไล่ตาม
                                                5.1.1.4  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการกลับคืน, ส่ง
                                5.1.2 กลุ่มความหมายแฝง意义有些微联系
                                                5.1.2.1 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับระยะทาง
                                                5.1.2.2 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเส้นทาง, ถนน
                                5.1.3 กลุ่มความหมายแผลง意义不同
                                                5.1.3.1 ตัวอักษรที่มีความหมายหลากหลาย
                                                5.1.3.2 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อเฉพาะ
                                                5.1.3.3 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับกิริยาการกระทำ
                                                5.1.3.4 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับพบเจอ, ประสบ
                                5.1.4 ตัวอักษรที่ไม่บอกเสียง汉字没有的声音  
                                5.4.2 ตัวอักษรที่ไม่บอกความหมาย没有意
                5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย
                5.3 ข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการวิจัย
                5.1.1 กลุ่มความหมายตรง意义相同(จำนวนทั้งหมด 24ตัวอักษร)
            กลุ่มข้อมูลของตัวอักษรความหมายตรง คิดเป็นจำนวนร้อยละ 20 (20.5%) ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด(จำนวนข้อมูลทั้งหมด 118 ตัวอักษร)
                                5.1.1.1 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการเดิน, เดินทาง
                        (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 8ตัวอักษร) ตัวอักษรในกลุ่มนี้เป็นตัวอักษรที่มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายของตัวอักษร ตัวอักษรที่บอกความหมายเกี่ยวกับการเดิน, การเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 33 (33%) ของกลุ่มความหมายตรง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายตรง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มความหมายตรง
                                5.1.1.2 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่, เคลื่อนไหว
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 4 ตัวอักษร) ตัวอักษรในกลุ่มนี้เป็นตัวอักษรที่มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายของตัวอักษร ตัวอักษรที่บอกความหมายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่, เคลื่อนไหว คิดเป็นร้อยละ 17 (17%) ของกลุ่มความหมายตรง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายตรง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มความหมายตรง
                                5.1.1.3 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการหนี, หลบหนี, ไล่ตาม
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 7 ตัวอักษร)ตัวอักษรในกลุ่มนี้เป็นตัวอักษรที่มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายของตัวอักษร ตัวอักษรที่บอกความหมายเกี่ยวกับการหนี, หลบหนี, ไล่ตาม คิดเป็นร้อยละ 29 (29%) ของกลุ่มความหมายตรง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายตรง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้อยู่ในอันดับที่ 2 ในกลุ่มของความหมายตรง


                                5.1.1.4  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการกลับคืน, ส่ง
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 5 ตัวอักษร) ตัวอักษรในกลุ่มนี้เป็นตัวอักษรที่มีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายของตัวอักษร ตัวอักษรที่บอกความหมายเกี่ยวกับการกลับคืน, ส่ง คิดเป็นร้อยละ 21 (21%) ของกลุ่มความหมายตรง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายตรง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้อยู่ในอันดับที่ 3 ในกลุ่มของความหมายตรง

                5.1.2 กลุ่มความหมายแฝง意义有些微联系(จำนวนทั้งหมด 24ตัวอักษร)
            กลุ่มข้อมูลของตัวอักษรความหมายแฝง คิดเป็นจำนวนร้อยละ 20 (20.5%) ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนเท่ากันกับกลุ่มข้อมูลของตัวอักษรความหมายตรง(จำนวนข้อมูลทั้งหมด 118 ตัวอักษร)
                                5.1.2.1 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับระยะทาง
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 12 ตัวอักษร) ตัวอักษรอยู่ในกลุ่มนี้จะแสดงความหมายเป็นนัย จะไม่แสดงความหมายที่แท้จริงออกมา ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับระยะทาง คิดเป็นร้อยละ 50 (50%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนเท่ากันกับตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเส้นทาง, ถนนในกลุ่มความหมายแฝง
                                5.1.2.2 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเส้นทาง, ถนน
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 12ตัวอักษร) ตัวอักษรอยู่ในกลุ่มนี้จะแสดงความหมายเป็นนัย จะไม่แสดงความหมายที่แท้จริงออกมา ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเส้นทาง, ถนน คิดเป็นร้อยละ 50 (50%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนเท่ากันกับตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับระยะทางในกลุ่มความหมายแฝง

                5.1.3 กลุ่มความหมายแผลง意义不同(จำนวนทั้งหมด 70ตัวอักษร)
                                5.1.3.1 ตัวอักษรที่มีความหมายหลากหลาย
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 46 ตัวอักษร)ตัวอักษรอยู่ในกลุ่มนี้จะแสดงความหมายที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีความหมายเดิมของตัวอักษรเลย ตัวอักษรที่มีความหมายหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 66(66%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มความหมายแผลง
                                5.1.3.2 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อเฉพาะ
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 2 ตัวอักษร)ตัวอักษรอยู่ในกลุ่มนี้จะแสดงความหมายที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีความหมายเดิมของตัวอักษรเลย ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อเฉพาะ คิดเป็นร้อยละ 3 (3%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มความหมายแผลง
                                5.1.3.3 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับกิริยาการกระทำ
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 14 ตัวอักษร)ตัวอักษรอยู่ในกลุ่มนี้จะแสดงความหมายที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีความหมายเดิมของตัวอักษรเลย ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับกิริยาการกระทำคิดเป็นร้อยละ 20 (20%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มความหมายแผลง
                                5.1.3.4 ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับพบเจอ, ประสบ
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 8 ตัวอักษร) ตัวอักษรอยู่ในกลุ่มนี้จะแสดงความหมายที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีความหมายเดิมของตัวอักษรเลย ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับพบเจอ, ประสบ คิดเป็นร้อยละ 11 (11%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนเป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มความหมายแผลง

    การวิเคราะห์กลุ่มข้อมูลนี้ มีจำนวนทั้งหมด 118 ตัวอักษร ตัวอักษรทั้งหมดนี้สามารถนำมาแยกเป็นกลุ่มได้อีก 2 กลุ่ม มีดังต่อไปนี้

                5.1.4 ตัวอักษรที่ไม่บอกเสียง汉字没有的声音
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด52ตัวอักษร) ตัวอักษรในกลุ่มนี้ เมื่อนำเอาตัวอักษร “”  และอักษรเดี่ยวมาผสมกันจะไม่สามารถบอกเสียงเดิมของตัวอักษรเดี่ยวที่นำมาผสมได้ แต่จะเกิดเสียงใหม่ขึ้นมาแทน คิดเป็นร้อยละ 78 (78%) ของกลุ่มข้อมูล

                5. 1.5 ตัวอักษรที่ไม่บอกความหมาย没有意
                                (มีจำนวนข้อมูลทั้งหมด 15 ตัวอักษร) ตัวอักษรในกลุ่มนี้ เป็นตัวอักษรกลุ่มที่ไม่มีความหมาย คือ ไม่สามารถแยกตัวอักษรเดี่ยวออกมาได้ หรือ ตัวอักษรเดี่ยวไม่มีความหมาย ไม่สามารถอยู่เดี่ยวๆ ได้ มีดังต่อไปนี้คิดเป็นร้อยละ 22 (22%) ของกลุ่มข้อมูล
    ในส่วนนี้จะอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของการอธิบายความหมาย เนื่องจากว่า มีตัวอักษรหลายๆ ตัว เมื่อนำไปผสมกับตัวอักษร”  บางตัวอักษรก็จะพบว่าเสียงเดิมของตัวอักษรเดี่ยวที่นำมาผสมก็จะเปลี่ยนไป เช่นzhūnเมื่อทำการแยกออกเป็นตัวอักษรจะได้túnเป็นต้น หรือบางตัวอักษรก็ไม่สามารถแยกออกเป็นตัวอักษรเดี่ยวได้ เช่น ตัวอักษรตัวนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่บางตัวอักษรก็แยกออกจากกันได้ แต่ก็อาจจะไม่มีความหมาย จึงได้จัดตัวอักษรนี้ไว้ในกลุ่มของตัวอักษรที่ไม่บอกความหมาย เป็นต้น

            ผลจากการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ ตัวอักษรที่ศึกษามีจำนวนทั้งหมด 118 ตัวอักษร เมื่อนำตำอักษรเหล่านี้มาแบ่งประเภทตามกลุ่มความหมายที่ได้ พบว่า ตัวอักษรตรงมีจำนวนทั้งหมด 24 ตัวอักษร คิดเป็นร้อยละ 20 (20.5%) ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด ตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝงจำนวนทั้งหมด 24 ตัวอักษร คิดเป็นจำนวนร้อยละ 20 (20.5%) ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด และตัวอักษรที่เป็นความหมายแผลงมีจำนวนทั้งหมด 70 ตัวอักษร คิดเป็นร้อยละ 59 (59%) ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นที่ได้กล่าวมา ได้ใช้จำนวนตัวอักษรทั้งหมด 118 ตัวอักษร นำมาทำการแยกข้อมูลและแยกประเภทของข้อมูลตัวอักษรทั้งหมด จากนั้นนำมาหาค่าเฉลี่ยให้กับข้อมูลที่ศึกษา และได้สรุปผลการศึกษาวิจัยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย
            5.2.1 เนื่องจากว่า การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ เป็นเรื่องที่ยากแก่การศึกษา เพราะข้อมูลความหมายของตัวอักษรหาค่อนข้างยาก จึงยากแก่การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบ และการศึกษาหาข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากว่าข้อมูลจำนวนของตัวอักษรมีเยอะ
           5.2.2 กสารประกอบการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องมีน้อย ทำให้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีไม่มาก ทำให้ยากในการหาข้อมูลประกอบการวิจัย
                 5.2.3ในการทำวิจัยค่อนข้างน้อย ทำให้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
                 5.2.4 กิดปัญหาในการแยกคำศัพท์ เพราะข้อมูลมีมาก ทำให้เกิดความสับสนในการแยกประเภทของข้อมูล

5.3 ข้อเสนอแนะ
                ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการแยกคำศัพท์ การแปลความหมาย เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าความหมายที่แท้จริงของตัวอักษรนั้นๆ เป็นอย่างไร แต่เราสามารถรวบรวมหาความหมายได้จากพจนานุกรมในหลายๆ เล่ม และการรวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะให้ได้ความหมายที่ใกล้เคียงมากที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการแยกประเภทตามความหมายได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1.ความหมายตรง 2.ความหมายแฝง 3.ความหมายแผลง เพื่อที่จะทำให้ผู้ศึกหรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของตัวอักษรได้เข้าใจอย่างแท้จริง และการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ควรมีการศึกษาเรื่องปัญหาการใช้ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ เพราะการศึกษายังไม่มีผู้ใดศึกษามาก่อน และควรศึกษาในเรื่องของโครงสร้างของตัวอักษร เนื่องจากว่าผู้วิจัยได้ทำศึกษาเฉพาะความหมาย และวิเคราะห์ความหมายของตัวอักษรเท่านั้น ซึ่งก็เหมาะสมอย่างยิ่งแก่การศึกษาต่อไป
                งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ ผลการวิจัยพบว่า ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ ส่วนใหญ่จะมีความหมายเกี่ยวข้องในลักษณะของการเดิน ไม่ว่า จะเป็นการเคลื่อนไหว การเดินเล่น วิ่ง หลบหนี ไล่ตาม ท่องเที่ยว ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับตัวอักษร(zǒu zhī páng) ที่มีลักษณะเหมือนเรือหรือเป็นยานพาหนะ ที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ และเมื่อนำมาประกอบกับตัวอักษรตัวอื่น ก็จะพบว่าส่วนหนึ่งจะมีความหมายที่สอดคล้องกัน เช่นyóu แปลว่า ท่องเที่ยว ; เคลื่อนที่ เป็นต้น
                สำหรับงานวิจัยเล่มนี้ ถือเป็นประโยชน์อย่างมากที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของตัวอักษรจีน วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว เพราะสะดวกแก่ผู้ที่สนใจที่จะใช้วิจัยเล่มนี้เป็นแนวทางในการศึกษาอีกด้วย ผู้ที่ใช้งานวิจัยเล่มนี้เป็นตัวช่วยในการสืบค้นข้อมูลของตัวอักษรจีน วิวัฒนาการตัวอักษรจีน และข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวอักษร” ก็สามารถทำได้โดยสะดวก ทั้งยังสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ที่ต้องการทำงานวิจัยภาษาจีนในด้านของการวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ หรือวิเคราะห์ตัวอักษรต่างๆ ของจีนได้อีกด้วย




没有评论:

发表评论