2012年3月1日星期四

การศึกษาปัญหาการใช้ “ลักษณนามบอกสิ่งของ”ในภาษาจีน ของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้จัดทำ  นางสาวพิรญาณ์  สมบุตร


อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.ณัฐพัชร์  เตชะรุ่งไพศาล



บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง :               การศึกษาปัญหาการใช้ ลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน ของนักศึกษาไทย
                                กรณีศึกษา :  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัย                               อุบลราชธานี
คำสำคัญ :             การศึกษาปัญหา ลักษณนามจีน ความหมายของลักษณนามจีน ลักษณนามบอกสิ่งของ                                     การใช้ลักษณนามบอกสิ่งของ

                การศึกษาอิสระเรื่องการศึกษาลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน มีวัตถุประสงเพื่อศึกษา                  ลักษณนามจีน และศึกษาความหมาย รวมไปถึงการใช้ลักษณนามจีนบอกสิ่งของในภาษาจีน นอกเหนือจากนี้แล้วยังศึกษาปัญหาการใช้ ลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน
               
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถจัดหมวดหมู่คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนได้ 7 หมวดหมู่ดังต่อไปนี้  คำลักษณนามบอกหมวดห้องครัว คำลักษณนามบอกหมวดห้องนอน คำลักษณนามบอกหมวดห้องรับแขก  คำลักษณนามบอกหมวดห้องน้ำ  คำลักษณนามบอกหมวดเครื่องแต่งกาย  คำลักษณนามบอกหมวดเครื่องเขียน คำลักษณนามบอกหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการศึกษา     ลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน ผลการศึกษาปัญหาการใช้ลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากการทำแบบทดสอบพบว่านักศึกษามีปัญหาในการใช้ คือ นักศึกษาไม่มีความเข้าใจในคำศัพท์ การใช้ 只,把,方เพราะคำศัพท์เหล่านี้ไม่ได้ใช้บ่อย และทำผิดเป็นจำนวนมากและยังมีปัญหาพอสมควร โดยทำผิดมากที่สุดในส่วนที่ 1 นักศึกษาทำผิดคิดเป็นร้อยละ 55.4 % และส่วนที่ 2 นักศึกษาทำผิดคิดเป็นร้อยละ 38.7% โดยถือว่าเป็นเกณฑ์ที่พอใช้
การศึกษาคำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนครั้งนี้  ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยทำให้เข้าใจและจดจำได้ง่ายแก่ผู้เรียนภาษาจีนกลางที่ประสบปัญหาในเรื่อง การใช้คำลักษณนามจีน  และการจดจำคำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน  เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนกลางได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพต่อไป                                                                                                                            





摘要

题目:           汉语中表示物量词的使用问题研究 
                        研究对象:乌汶大学人文学院中文专业三年级和四年级的学生

关键词:       使用问题研究   汉语量词  汉语量词的意思  汉语物量词   物量词的使用

            本论文对汉语中使用的汉语物量词的问题进行研究,研究对象是乌汶大学人文学院中文专业三年级和四年级的学生,目的是对汉语量词的意义和汉语中表示物量词的使用问题进行研究。

            本文的研究成果发现,表示物量词可分为7类:厨房的物量词、卧房的物量词、客厅的物量词、卫生间的物量词、服装的物量词、文具的物量词、电器的物量词。这些是汉语中表示物量词研究的要素。通过调查问卷分析总结,乌汶大学人文学院中文专业三,四年级的学生在使用汉语中表示物量词出现各种问题:大部分学生在汉中表示物量词的使用问题在于不明白生词“只”“ 把”“ 方”的使用不常见,错得最语多的是第一段、占了55.4 % 和第二段、占了38.7%。这也说明了大部分学生都差不多明白了其用法。

            本论文是关于汉语中表示物量词的使用问题研究归纳,希望能使汉语学习者遇到此类问题时,方便理解和记忆。也为了把知识发展成能力,正确地有效地使用汉语。


บทที่ 5
สรุปผล  ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะผลการวิจัย
第五章:研究成果,研究的障碍及提议

ในบทที่  5  นี้เป็นการสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการทำแบบทำสอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 3  สาขาวิชาภาษาจีน  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ซึ่งแยกหัวข้อได้ดังนี้                                                                        
5.1  สรุปผลการวิจัย                                                                                                                                                          
5.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา                                                                                                                                            
5.3  ปัญหาและอุปสรรคในการศึกษา                                                                                                            
5.4  ข้อเสนอแนะ

5.1  สรุปผลการวิจัย  
จากการศึกษาปัญหาการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สาขาวิชาภาษาจีน  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวนทั้งหมด 61  คน มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาคำลักษณนามบอกหมวดสิ่งของภายในบ้าน คำลักษณนามบอกหมวดห้องครัว คำลักษณนามบอกหมวดห้องนอน คำลักษณนามบอกหมวดห้องรับแขก คำลักษณนามบอกหมวดห้องน้ำ คำลักษณนามบอกหมวดเครื่องแต่งกายคำลักษณนามบอกหมวดเครื่องเขียนและคำลักษณนามบอกหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้า และเพื่อการศึกษาปัญหาการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สาขาวิชาภาษาจีน  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นได้รวบรวมจากหนังสือประกอบการเรียน หนังสือคู่มือคำลักษณนามจีน -ไทย และสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ การออกแบบทดสอบจะนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน เนื้อหาทั่วไปในหนังสือที่ทางหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีใช้เท่านั้น และได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อแจกให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4  สาขาวิชาภาษาจีนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 61 คน ได้ทำการทดสอบ และนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าร้อยละ หลังจากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ปัญหาในการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน
แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นจงจับคู่คำลักษณนามบอกสิ่งของให้ถูกต้อง จำนวน 10 ข้อ และตอนที่ 2 เป็นการเติมเครื่องหมาย Pหรือ O ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยแบบทดสอบ
จากการศึกษาปัญหาการใช้ คำลักษณนามบอกสิ่งของ”  ในภาษาจีน กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 สาขาวิชาภาษาจีน  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทั้งหมด 61 คน ในภาคการเรียนที่ 2                 ปีการศึกษา 2554  โดยทำแบบสอบถามแจกให้กับนักศึกษา  เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของของนักศึกษาไทย
ปัญหาที่พบจากการทำแบบสอบถามคือนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในด้านคำลักษณนามบอกสิ่งของได้ค่อนข้างดีสามารถทำถูกคิดเป็น 53% ทำผิดคิดเป็น 47%  สำหรับในข้อที่ผิดมากที่สุด คือ การใช้ 只,把,方เป็นเพราะคำศัพท์เหล่านี้ไม่ได้ใช้บ่อยๆจึงทำให้นักศึกษาไม่มีความเข้าใจในคำศัพท์ ไม่พยายามทำความเข้าใจ และอาจเป็นเพราะหนังสือและแหล่งข้อมูลให้ศึกษาลักษณนามจีนมีน้อย แต่ภาพรวมปัญหาการใช้ลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนของนักศึกษาสาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ถือว่าเข้าใจและไม่เข้าใจในลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนไม่แตกต่างกันมากนัก
5.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา
5.2.1   เพิ่มหนังสือในหลักสูตรการศึกษาให้มากขึ้น                                                                                                 
5.2.2  เพิ่มหนังสือที่เกี่ยวกับคำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน   เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มมากขึ้น                                                                                                                                                                                          
5.2.3   พยายามค้นคว้าหาความรู้กับสื่อต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน   เช่น   หนังสือพิมพ์   อินเตอร์เน็ต   โทรทัศน์   เป็นต้น                                                                                                                                                                          
5.2.4   ในการทำแบบทดสอบ ทำการบ้าน และอ่านหนังสือ  พยายามทำอย่างตั้งใจเพราะการเร่งรีบทำ  อาจจะทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจในเนื้อหา
5.3  ปัญหาและอุปสรรคในการศึกษา                                                                                                                                              5.3.1  ปัญหาในการสืบค้นข้อมูล  คือ เอกสารและหนังสือยังมีน้อย  ไม่เพียงพอในการสืบค้น  ทั้งในห้องสมุดกลางและห้องสมุดศิลปศาสตร์                                                                                                                         5.3.2  ข้อมูลที่ใช้ทำการวิจัยยังมีไม่เพียงพอต่อการวิจัย  เนื่องจากยังไม่เคยมีใครศึกษาเรื่องคำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน จึงทำให้ผู้วิจัยต้องคิดและวิเคราะห์หาหลักการ  หรือทฤษฎีต่างๆขึ้นมาเองเป็นส่วนใหญ่  โดยอ้างอิงจากหนังสือ  เอกสาร  รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่อย่างจำกัด  และสถานที่สืบค้นข้อมูลที่ไม่เพียงพอด้วย                                                                                                                                                                              5.3.3   ปัญหาในการสำรวจข้อมูล  คือ นักศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร  มีนักศึกษาบางคนไม่อ่านแบบทดสอบและไม่พยายามใช้ความสามารถในการตอบแบบสอบถาม  ลอกคำตอบจากแบบทดสอบของเพื่อนและเนื่องจากนักศึกษามีจำนวนจำกัด  จึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากในการตอบแบบทดสอบ  อีกทั้งนักศึกษาแต่ละคนมีวิชาเรียนไม่เหมือนกันจำทำให้ประสบปัญหาในการแจกแบบสอบถาม                                                                                                                                                                                                       5.3.4   ปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ความยุ่งยากในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย  เพราะจะต้องทำการวิจัย  วิเคราะห์และสรุปข้อมูลของแต่ละคนในแต่ละข้อ  จากการตอบแบบทดสอบแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยและตารางทานความถูกต้องของจำนวนผลลัพธ์ที่ได้                                                                                    
5.4ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย                                                                                                                                                        การวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ศึกษาคำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน  พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจที่ควรนำไปศึกษาต่อซึ่งมีดังนี้                    
5.4.1  คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนที่ผู้วิจัยนำมาวิจัยในครั้งนี้  เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการทำวิจัย  และยังมีคำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนอีกมากมาย  และเป็นหมวดหมู่ที่ยังไม่มีผู้วิจัย  ดังนั้นต้องศึกษาเพิ่มเติม เช่น คำลักษณนามจีนบอกสิ่งของในห้องเก็บของ เฟอร์นิเจอร์  และลักษณะทางไวยากรณ์ เหล่านี้ด้วย                                                                                                                                 
                                                                                                                                                                                             
5.4.2  จากผลการวิจัยปัญหาการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีน  ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน  ชั้นปีที่  3-4  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 61  คน ทำให้ทราบถึงปัญหาการใช้คำลักษณนามบอกสิ่งของในภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว  ผู้ที่ต้องการศึกษา  เรื่อง คำลักษณนามจีนในภาษาจีนควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่านี้เพื่อให้งานวิจัยครอบคลุมทุกกลุ่มที่เรียนภาษาจีน

没有评论:

发表评论