ชื่อผู้เขียน : นางาสาวพนิดา เปรียบสนาดี(苗思洁)
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
อาจารย์เจ้าของภาษา : 资嫔老师
****************************
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 目 เป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ : ชิ้นส่วน, หมวดคำ, ตัวอักษร 目, ความหมายของ目,โครงสร้าง
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร目เป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการและความเป็นมาของตัวอักษรจีน ศึกษาความหมายของตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร目เป็นตัวประกอบ จำนวนทั้งหมด 166 ตัวอักษร โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมฉบับ จีน-ไทย หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดกลุ่มคำศัพท์แล้วศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงความหมายและจัดแบ่งกลุ่มตามโครงสร้างของตัวอักษร
ในการศึกษาวิจัยนี้ได้นำเอาตัวอักษรเดี่ยวสองตัวมาประกอบกันให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่เพื่อแสดงความหมายใหม่ จำนวนตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 目เป็นตัวประกอบ ที่นำมาศึกษามีจำนวน 166 ตัวอักษร จากการศึกษาพบว่าตัวอักษรมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป สามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ดังนี้
1. วิเคราะห์ตามความหมาย แบ่งเป็น
1.1 ความหมายตรง คิดเป็น 4.22 เปอร์เซ็นต์
1.2 ความหมายแผลง คิดเป็น 45.18 เปอร์เซ็นต์
1.3 ความหมายแฝง คิดเป็น 50.60 เปอร์เซ็นต์
2. วิเคราะห์ตามโครงสร้างแบ่งเป็น
2.1 โครงสร้างประกอบด้านข้าง คิดเป็น 45.78 เปอร์เซ็นต์
2.2 โครงสร้างประกอบด้านล่าง คิดเป็น 4.82 เปอร์เซ็นต์
2.3 โครงสร้างประกอบด้านใน คิดเป็น 0.60 เปอร์เซ็นต์
2.4 โครงสร้างที่ประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งคิดเป็น 48.80เปอร์เซ็นต์
การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 目เป็นตัวประกอบ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน การผสมกันระหว่างตัวอักษรจีนสองตัวขึ้นไปทำให้เกิดเป็นอักษรใหม่ และความหมายใหม่ ทำให้ทราบถึงโครงสร้างของตัวอักษรสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลาย เช่น บางตำแหน่งบอกความหมาย บางตำแหน่งบอกเสียง และบางตำแหน่งเป็นแค่ส่วนประกอบที่ไม่บอกความหมายและเสียงของตัวอักษร ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
摘要
题目 : 与“目” 字有关的汉字研究
关键词 : 部件、部音、汉字“目” 、意义、结构
本文研究的目的是收集有关的汉字变化,汉字的意义。研究方法是选取 166 个汉字,并收集有关的资料主要在现代汉泰词典、学术资料、书籍,相关研究和因特网上。然后把每个汉字的意义进行分类,从而分析汉字的意义和结构。
在收集的“目”作为部件的166 个汉字中, 研究者发现两个单独部件进行组合组成新汉字和新意义,不同种类有不一样的意义。分析汉字可以分成两种:
一、分析汉字的意义
(一) 意义相同占4.22%
(二) 意义不同占45.18%
(三) 意义有些微联系占50.60%
二、分析汉字的结构
(一) 在汉字结构旁边占45.78%
(二) 在汉字结构下边占4.82%
(三) 在汉字结构旁内边占0.60%
(四) 与 一部件组合后在与其,它部件组合占48.80%
这次目字旁的汉字研究中,学习者要掌握汉字的发展和造字法。对两个汉字或者两个汉字以上的进行组合组成与“目” 意义有关和与“目” 意义无关的汉字。研究者希望这项研究的成果能够对汉语教学有所帮助以及应用于教际时使交流更清楚。
บทที่ 5 (第五章)
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
(研究成果、研究与问题、研究建议 )
การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 目เป็นตัวประกอบ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและโครงสร้างประกอบของตัวอักษร目เพื่อที่จะนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีน เมื่อผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษร การผสมกันของตัวอักษรเดี่ยวทำให้เกิดตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่ ในแต่ละตำแหน่งของตัวอักษรนั้น ต่างก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ตัวอักษรที่มีตำแหน่งที่ต่างกันก็จะมีหน้าที่ต่างกันไปออกไป บางตำแหน่งอาจจะบอกในเรื่องของเสียง บางตำแหน่งอาจจะบอกในเรื่องของความหมาย และก็มีบางตำแหน่งที่ไม่บอกอะไรเลย แม้กระทั่งในเรื่องของเสียงและความหมายได้เกิดเป็นคำใหม่และมีความหมายใหม่ตามมา ซึ่งตัวอักษรมีทั้งหมด 147 ตัว ซึ่งมีบางตัวอักษรมีความหมายแยกย่อยออกไป หรือตัวอักษรหนึ่งมีคำอ่านหลายคำ ซึ่งคิดรวมตัวอักษรบางตัวอักษรมีความหมายแยกย่อยออกไป หรือตัวอักษรหนึ่งมีคำอ่านหลายคำ รวมทั้งหมดมีจำนวน 166 ตัว จากการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการสรุปการศึกษา บอกถึงปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้
5.1 ผลการศึกษา(研究成果)
5.1.1 การศึกษาวิเคราะห์โดยการใช้วิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มความหมายของตัวอักษร (分析汉字的意义)
การศึกษาวิเคราะห์โดยการใช้วิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มความหมายของตัวอักษรพบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์ความหมายที่เกิดขึ้นมีความเหมือนและใกล้เคียงกัน และมีความหมายที่แตกต่างกันออกไปในบางกลุ่ม เมื่อพิจารณาตามกลุ่มข้อมูลส่วนน้อยที่มีความหมายต่างกันออกไป
5.1.1.1 ความหมายเหมือน (意义相同)
ความหมายเหมือน (จำนวน 7 ตัวอักษร) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุดในจำนวนร้อยละ4 (4.21 %) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 166 ตัวอักษร)
(1) ตัวอักษรที่มีความหมายว่าตา (有关“眼睛”的意思词)
ตัวอักษรที่มีความหมายว่าตา (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่คล้ายและใกล้เคียงในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 42 (42.86%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายเหมือน
(2) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าดูและมอง (有关“看”的意思词)
ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าดูและมอง(จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายและใกล้เคียงในระดับมากคิดเป็นร้อยละ57 (57.14%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายเหมือน
จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาวิเคราะห์ประเภทของข้อมูล โดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายเหมือน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายเหมือน พบว่าตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าตาน้อยกว่าตัวอักษรที่มีความหมายว่าดูและมอง
5.1.1.2 ความหมายแผลง (意义不同)
ความหมายแผลง (จำนวน 75 ตัวอักษร) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ45 (45.18%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่จะศึกษาทั้งหมด 166 ตัวอักษร)
(1) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้(有关“用品”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 11 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ14 (14.67%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(2) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับความรู้สึกและการกระทำ(有关“感觉”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 28 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ37 (37.33%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(3) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับเงินและชื่อสกุล(有关“名称”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 6 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ8 (8%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(4) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อสถานที่ต่างๆ(有关“地方”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 9 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ12 (12%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(5) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับสัตว์(有关“动物”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 3 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ4 (4%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(6) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ(有关“自然”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 4 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ5 (5.33%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(7) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับคน(有关“人”的意思词)
(จำนวนข้อมูล 8 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ10 (10.67%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(8) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายหลากหลาย(多义词)
(จำนวนข้อมูล 6 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ8 (8%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
จากข้อมูลที่ได้จาการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูล โดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแผลง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแผลง พบว่ากลุ่มตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับความรู้สึกและการกระทำมีจำนวนมากที่สุด และตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับสัตว์มีจำนวนน้อยที่สุด
5.1.1.3 ความหมายแฝง (意义有些微联系)
ความหมายแฝง (จำนวน 84 ตัวอักษร) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีการบอกความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่แท้จริงออกมา จำนวนร้อยละ50 (50.60%)ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 166 ตัวอักษร)
1. ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับตา(有关“眼睛”的意思词)
(จำนวน 42 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ50 (50%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
2. ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับมอง(有关“看”的意思词)
(จำนวน 26 ตัวอักษร)ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ30 (30.95%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
3. ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับข้อใหญ่ๆแบ่งออกเป็นข้อเล็กๆ(有关“治理”的意思词)
(จำนวน 1 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ1 (1.20%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
4. ตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับตระกูลของสัตว์หรือพืช(有关“动物和植物的族”的意思词)
(จำนวน 8 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ9 (9.52%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
5. ตัวอักษรจีนที่มีความหมายหลากหลาย(多义词)
(จำนวน 7 ตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ8 (8.33%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
จากข้อมูลที่ได้จาการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแฝง พบว่ากลุ่มตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับตา มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับข้อใหญ่ๆแบ่งออกเป็นข้อเล็กๆ มีจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาความหมายแฝง
สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามความหมายของตัวอักษร (研究成果分析汉字的意义)
ในการศึกษาข้อมูลตัวอักษร 目ที่มีความหมายว่า 1.ตา 2. [ภาษาหนังสือ]ดู;มอง 3.ข้อใหญ่ๆแบ่งออกเป็นข้อเล็กๆ 4.[ชีว]ตระกูล(ของสัตว์หรือพืช);ส่วนที่เล็กลงจาก目จะเป็น科 5.รายชื่อ;สารบัญ กับตัวอักษรเดี่ยวอีกตัวที่นำมาผสมกันที่มีความหมายต่างกัน เมื่อนำอักษรเดี่ยวทั้งสองตัว มาประกอบกันความหมายที่ได้จึงมีสัมพันธ์กันกับตัวอักษร目ค่อนข้างน้อย ความหมายที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นความหมายที่ไม่มีความหมายสัมพันธ์กันกับตัวอักษร 目 เป็นส่วนมาก เนื่องจากการผสมกันระหว่างตัวอักษรเดี่ยวนั้น ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่
5.1.2 การศึกษาวิเคราะห์โดยใช้การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร (分析汉字结构)
พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ โครงสร้างบอกตำแหน่งและโครงสร้างบอกเสียง
5.1.2.1 โครงสร้างประกอบด้านข้าง (在汉字旁边)
(จำนวนข้อมูล 76 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านข้างมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ45 (45.78%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 166 ตัว)
(ก) บอกความหมาย (有意义)
(จำนวนข้อมูล 67 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 目 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ88 (88.16%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านข้าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากกว่าโครงสร้างประกอบด้านข้างที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างด้านข้าง
(ข) ไม่มีความหมาย (没有意义)
(จำนวนข้อมูล 9 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับตัวอักษร目 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ11 (11.84%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านข้างพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่ไม่บอกความหมายน้อยกว่าโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านข้าง
5.1.2.2 โครงสร้างประกอบด้านล่าง (在汉字下边)
(จำนวนข้อมูล 8 ตัวอักษร) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านล่างมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมาย ให้กับตัวอักษรที่ประกอบกันนั้น จำนวนร้อยละ4 (4.82 %) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 166 ตัว)
(ก) บอกความหมาย (有意义)
(จำนวนข้อมูล 1 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 目 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ12 (12.50%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านล่าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบด้านล่างที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างด้านล่าง
(ข) ไม่มีความหมาย (没有意义)
(จำนวนข้อมูล 7 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับตัวอักษร目 หรือไม่ก็บอกความหมายคราวๆ เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ87 (87.50%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกกอบด้านล่างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านล่างพบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง
5.1.2.3 โครงสร้างประกอบด้านใน (在汉字旁内边)
(จำนวนข้อมูล 1 ตัวอักษร)เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านในมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมาย ให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ0.60% ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 166 ตัว)
(ก) บอกความหมาย (有意义)
(จำนวนข้อมูลไม่มีตัวอักษร) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 目 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ0 (0%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านในที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านในไม่มีตัวอักษรในการวิเคราะห์
(ข) ไม่มีความหมาย (没有意义
(จำนวนข้อมูล 1 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับตัวอักษร目 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ100 (100%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านในที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านข้างพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านใน
5.1.2.4 โครงสร้างที่ประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวหนึ่ง(与 一部件组合后在与其,它部件合)
(จำนวนข้อมูล 80 ตัวอักษร) เป็นโครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวอักษรหนึ่งที่บอกความหมาย มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมาย ให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ48 (48.19%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 166 ตัว)
(ก) บอกความหมาย (有意义)
(จำนวนข้อมูล 25 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 目 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ31 (31.25%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวอักษรหนึ่งที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวอักษรหนึ่ง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่ง
(ข) ไม่มีความหมาย (没有意义)
(จำนวนข้อมูล 55 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับตัวอักษร目 หรือไม่ก็บอกความหมายคราวๆ เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ68 (68.775%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวอักษรหนึ่งที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวอักษรหนึ่ง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีที่ไม่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกับโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งแล้วบอกความหมาย
สรุปผลจาการจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร (研究成果分析汉字的结构)
ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 โครงสร้าง คือ โครงสร้างประกอบด้านข้าง โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างประกอบด้านใน และโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่ง ทั้ง 4 แบบนี้ต่างก็บอกในเรื่องของความหมาย และไม่มีความหมาย จะเห็นได้ว่า มีการใช้โครงสร้างที่ประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวหนึ่งมากกว่าโครงสร้างประกอบด้านอื่นๆ ที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่ง ซึ่งดูจากปริมาณของตัวอักษรแล้วสามารถสรุปได้ว่า โครงสร้างที่ประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับตัวหนึ่ง มากกว่าโครงสร้างอื่น เนื่องจากตัวอักษรจีนที่ได้จากการประกอบกันของตัวอักษรเดี่ยว ซึ่งความหมายและเสียงไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย เพราะส่วนประกอบนี้มีไว้เพื่อทำให้รูปของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่น จึงทำให้มีมากกว่าตัวอักษรอื่น โดยแสดงเป็นแผนภูมิต่อไปนี้
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย (研究中国问题)
(1.) เอกสารประกอบการวิจัยมีน้อย เนื่องจากตัวอักษรที่มีตัว 目 เป็นส่วนประกอบ ซึ่งยังไม่ค่อยได้รับความสนใจมากหนัก ทำให้ข้อมูลในเรื่องนี้มีน้อย และทำให้ยากต่อการค้นหาข้อมูล
(2.) หนังสือในการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย และแหล่งอื่นๆ ยังมีไม่มากหนัก
(3.) ตัวอักษรจีนบางคำมีคำอ่านมากกว่าหนึ่ง และความหมายแตกออกเป็นข้อย่อยออก จึงทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
5.3 ข้อเสนอแนะ (研究建议)
จากการทำวิจัยในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาตัวอักษรจีนที่มี 目 เป็นส่วนประกอบ ได้พบข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาในครั้งต่อไป ควรศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการตัวอักษรจีนเพิ่มเติม เนื่องจากตัวอักษรจีนมีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย โดยมีการพัฒนาตัวอักษรมาเรื่อยๆจนมาถึงปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างมาก และควรเพิ่มชนิดคำของตัวอักษรจีนตัวนั้นๆ ด้วยว่ามีน่าที่อะไร และควรมีการศึกษาในเรื่องของปัญหาการใช้ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว 目 เป็นส่วนประกอบ เพราะผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะความหมาย และโครงสร้างของคำศัพท์เท่านั้น
没有评论:
发表评论