ผู้วิจัย : นางสาวหนึ่งรัตน์ บุญประเสริฐ
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร日เป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ : ความหมาย ,หมวดนำ, คำศัพท์, ตัวอักษร 日,ความหมายของ日
การศึกษาวิเคราะห์เรื่องตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร日เป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษรจีน ศึกษาตัวอักษรจีนที่มีคำว่า日เป็นตัวประกอบว่าตัวอักษรที่มาประกอบกันนั้นสามารถบอกโครงสร้างอะไรได้บ้าง ศึกษาความหมายของตัวอักษรจีนที่มีคำว่า日เป็นตัวประกอบและจัดกลุ่มคำศัพท์ตามความหมายของคำศัพท์แต่ละตัว โดยนำคำศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ 日 เป็นตัวประกอบจำนวน 130 คำศัพท์ มาแยกประเภทและศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์ภาษาจีนที่มี日เป็นตัวประกอบ
ในการศึกษาวิจัยนี้ จำนวนตัวอักษรที่นำมาศึกษามีจำนวน 130 ตัวอักษร จากตัวอักษรดังกล่าวได้แบ่งกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. วิเคราะห์ตามความหมาย แบ่งเป็น
1.1 ความหมายตรง คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์
1.2 ความหมายแผลง คิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์
1.3 ความหมายแฝง คิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์
2. วิเคราะห์ตามโครงสร้าง แบ่งเป็น
2.1โครงสร้างประกอบด้านซ้าย คิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์
2.2 โครงสร้างประกอบด้านขวา คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์
2.3 โครงสร้างประกอบด้านบน คิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์
2.4 โครงสร้างประกอบที่อยู่ล่าง คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์
การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มี日เป็นตัวประกอบในครั้งนี้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษร ทำให้ทราบว่าในแต่ละตำแหน่งของตัวอักษรต่างก็มีหน้าที่ต่างกัน ตัวอักษรที่มีตำแหน่งต่างกันก็จะมีหน้าที่ต่างกันไป บางตำแหน่งอาจจะบอกในเรื่องของเสียง บางตำแหน่งบอกในเรื่องความหมาย และยังมีอีกตำแหน่งที่ไม่บอกอะไรเลย แม้กระทั่งในเรื่องเสียงและความหมายพบว่าเกิดเป็นคำใหม่และมีความหมายใหม่เพิ่มขึ้นตามมา จึงเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
摘要
题目 :与“日”字有关的汉字研究论文
关键词 :意义、部首、生词、汉字“日”、“日”的意义
本文研究的目的是研究有关的汉字演变、汉字组合的方法、“日” 字有关的意义和分析差异的意义。本文研究范围限定为一百三十个与“日” 字有关的汉字判别分析意义,以便了解汉字的意义和汉字的结构。主要针对组合后意义、然后把每个汉字的意义进行分类。
通过对一百三十个与“日” 字有关系的汉字判别种类分析意义,发现其可以分为两种:
1.分析汉字的意义
1.1意义相同的占10%
1.2 意义不同的占50%
1.3 意义有些微联系的占40%
2. 分析汉字的结构
2.1在汉字左边的占46%
2.2 在汉字右边的占2%
2.3 在汉字上边的占40%
2.4 在汉字下边的占12%
研究发现:对带有“日子旁”汉字的研究, 有特别的造字法。学习者要掌握汉字的发展和造字法。在汉语造字法的方面,分别为组成后新意为与“日”意义有关;与“日”意义无关,与“日”意义有关,但意义改变三个方面。在汉语的结构方法上,“日字旁”可以做形旁、声旁或对汉字的声音和意义产生影响。研究者希望这项研究的成果对汉语教学有所帮助,能够把研究成果应用于汉语教学使交流更清楚,更有效率。
บทที่ 5 第五章
สรุปผลการวิจัย 研究成果
การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 日เป็นตัวประกอบ ได้ทำการ ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและโครงสร้างประกอบของตัวอักษร日ทำให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษร การผสมกันระหว่างตัวอักษรเดี่ยวสองตัว ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไป นอกจากเรื่องของความผู้วิจัยยังได้ทราบถึงว่าตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของตัวอักษรต่างมีหน้าที่ต่างกันไป บางตำแหน่งอาจจะบอกในเรื่องของเสียง บางตำแหน่งอาจบอกในเรื่องของความหมาย และก็ยังมีบางตำแหน่งที่ไม่บอกอะไรเลย จากการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการสรุปผลการศึกษา บอกถึงปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
5.1 สรุปผลการศึกษา (研究成果)
5.1.1 การศึกษาวิเคราะห์โดยการใช้วิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มความหมายของตัวอักษร (分析汉字的意义) พบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์ความหมายที่เกิดขึ้นมีความเหมือน ความหมายใกล้เคียงกันและมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เมื่อพิจารณาตามกลุ่มของความหมายมีเพียงกลุ่มข้อมูลส่วนน้อยที่มีความหมายต่างกันออกไป
5.1.1.1 ความหมายตรง (意义相同) (จำนวนข้อมูล 24 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุดในจำนวนร้อยละ 11 (11.11 %) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัวอักษร)
(1) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าพระอาทิตย์ หรือ ตะวัน (有关“太阳”的意思同)(จำนวนข้อมูล 7 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่คล้ายและใกล้เคียงมาก คิดเป็นร้อยละ 29 (29.17%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายตรง
(2) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่ากลางวัน (有关“白天”的意思同)(จำนวนข้อมูล 1 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่คล้ายและใกล้เคียงมาก คิดเป็นร้อยละ 4 (4.17%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายตรง
(3) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าระยะเวลาในหนึ่งวัน(有关“在一天的时间”的意思同) (จำนวนข้อมูล 16 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่คล้ายและใกล้เคียงมาก คิดเป็นร้อยละ 66 (66.67%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายตรง
จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาวิเคราะห์ประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายตรง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายตรง พบว่าตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าระยะเวลาในหนึ่งวัน มีจำนวนมากที่สุด และตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่า กลางวันมีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มข้อมูลความหมายตรงทั้งหมด
5.1.1.2 ความหมายแฝง (意义有些微联系) (จำนวนข้อมูล 106 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีการบอกความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่แท้จริงออกมา จำนวนร้อยละ 49 (49.07%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัวอักษร)
(1) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับแสงสว่าง (有关“光亮”的意思同)(จำนวนข้อมูล 51 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 48 (48.11%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(2) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับฤดูกาล (有关“季儿”的意思同)(จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 1 (1.89%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(3) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับการตาก หรือการผึ่งแดด(有关“晒太阳”的意思同) (จำนวนข้อมูล 8 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 7 (7.55%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(4) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับความมืดและกลางคืน(有关“晚上”的意思同) (จำนวนข้อมูล 17 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 16 (16.04%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(5) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรื่อง(有关“光明”的意思同) (จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 3 (3.77%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(6) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับดวงดาว(有关“星星”的意思同) (จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 3 (3.77%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(7) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับการส่องสะท้อน(有关“反照”的意思同) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 1 (1.89%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(8) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับความแจ้งชัด หรือ ชัดเจน(有关“明显”的意思同) (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 4 (4.72%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(9) ความหมายของตัวอักษรที่ความหมายหลากหลาย(有关“多重”的意思同)(จำนวนข้อมูล 13 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 12 (12.26%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแฝง พบว่ากลุ่มตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับแสงสว่าง มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับฤดูกาล ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการส่องสะท้อน มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มข้อมูลความหมายแฝงทั้งหมด
5.1.1.3 ความหมายแผลง (意义不同) (จำนวนข้อมูล 86 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 39 (39.82%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัวอักษร
(1) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับซอกมุม(有关“角落”的意思同) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ 2 (2.33%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(2) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับความเก่า(有关“古老”的意思同) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ 3 (3.49%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(3) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับความกว้าง(有关“广度”的意思同) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ3 (3.49%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(4) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับการเลื่อน(有关“搬移”的意思同) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ 3 (3.49%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(5) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับชื่อสกุลของชาวจีนและชื่อเฉพาะ(有关“名称”的意思同) (จำนวนข้อมูล 20 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ23 (23.26%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(6) ความหมายของตัวอักษรที่เกี่ยวกับความอ่อนนุ่ม(有关“柔软”的意思同) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ3 (3.49%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(7) ความหมายของตัวอักษรที่หลากหลาย(有关“多重”的意思同) (จำนวนข้อมูล 52 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คิดเป็นร้อยละ60 (60.46%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแผลง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแผลง พบว่ากลุ่มตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อสกุลของชาวจีนและชื่อเฉพาะ มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับซอกมุม มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มข้อมูลความหมายแผลงทั้งหมด
สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามความหมายของตัวอักษร ในการศึกษาข้อมูลตัวอักษร日ที่มีความหมายว่า①พระอาทิตย์; ตะวัน ② กลางวัน ③ ช่วงระยะเวลาโลกหมุนรอบตัวเอง 1รอบ; วัน; หนึ่งวันหนึ่งคืน ④ทุกวัน; แต่ละวัน ⑤ หมายถึง ญี่ปุ่น เมื่อนำอักษรตัวอื่นมาประกอบกับ อักษรตัว日 ความหมายที่ได้จึงมีความสัมพันธ์กันกับตัวอักษร日ค่อนข้างมาก แต่ก็มีบางตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เป็นส่วนที่น้อยกว่า เนื่องจากการรวมตัวกันของตัวอักษร日กับตัวอักษรอื่นๆ ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายคงหรือแฝงความหมายเดิมอยู่ขึ้น
5.1.2 การศึกษาวิเคราะห์โดยใช้การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร (分析汉字结构) พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ โครงสร้างบอกตำแหน่งและโครงสร้างบอกเสียง
5.1.2.1 โครงสร้างประกอบด้านซ้าย (在汉字左边) (จำนวนข้อมูล 126 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านซ้าย มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ58 (58.33%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัว)
(1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 97 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ 76 (76.98%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านซ้ายที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาพบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากกว่าโครงสร้างประกอบด้านซ้ายที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านซ้าย
(2) ไม่มีความหมาย (没有意义) (จำนวนข้อมูล 29 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 23 (23.02%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านซ้าย เมื่อพิจารณาตาม พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่ไม่บอกความหมายน้อยที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง
5.1.2.2 โครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านขวา (在汉字右边) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) เป็นโครงสร้างที่วางอยู่ด้านในของตัวประกอบมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และยังไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 1 (1.39%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัว)
(1) บอกความหมาย(有意义) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ 100 (100%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านขวา เมื่อพิจารณา พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านขวา
(2) ไม่มีความหมาย ( 没有意义) (จำนวนข้อมูล 0 ตัว) ในภาพรวมแล้วไม่พบความหมายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日ที่อยู่ในกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านขวา
5.1.2.3 โครงสร้างประกอบด้านบน (在汉字上边) (จำนวนข้อมูล 61ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านบนมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 28 (28.24%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัว)
(1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 25 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ 40 (40.98%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านบน เมื่อพิจารณาพบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยกว่าโครงสร้างประกอบด้านบนที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านข้าง
(2) ไม่มีความหมาย (没有意义) (จำนวนข้อมูล 36 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่น คิดเป็นร้อยละ 59 (59.02%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านบน เมื่อพิจารณาพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนตัวอักษรที่ไม่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านบน
5.1.2.4 โครงสร้างประกอบด้านล่าง(在汉字下边) (จำนวนข้อมูล 16 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านล่างมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 12 (12.03%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 216 ตัว)
(1) บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 7 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร 日 หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆ คิดเป็นร้อยละ26 (26.92%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่าง เมื่อพิจารณาพบว่า ผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยกว่าโครงสร้างประกอบด้านล่างที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง
(2) ไม่มีความหมาย (没有意义) (จำนวนข้อมูล 19 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร日 มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่น คิดเป็นร้อยละ 73 (73.08 %) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านบน เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านล่าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่ไม่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง
สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 โครงสร้าง คือ โครงสร้างประกอบด้านบน โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างประกอบด้านซ้าย โครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านขวา รูปแบบทั้งหมดนี้ต่างก็บอกในเรื่องของความหมายและไม่มีความหมาย จะเห็นว่ามีการใช้โครงสร้างประกอบด้านซ้ายมากกว่าโครงสร้างประกอบในด้านอื่นๆที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่งซึ่งดูจากปริมาณของตัวอักษรแล้วสามมารถสรุปได้ว่า
โครงสร้างประกอบด้านซ้ายนิยมใช้มากกว่าโครงสร้างที่ประกอบด้านอื่นๆที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่ง
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย(研究中的问题)
1. พจนานุกรมกรมที่ต้องการมีจำนวนน้อย ทำให้การค้นหาคำศัพท์ในพจนานุกรมเป็นไปได้ลำบาก
2. ความหมายของคำศัพท์ไม่มีในพจนานุกรม เนื่องจากเป็นคำศัพท์ที่สร้างใหม่ ทำให้พจนานุกรมที่พิมพ์ก่อนหน้า ไม่มีความหมายของคำศัพท์
3. เวลาในการทำวิจัยน้อย ทำให้ขั้นตอนการข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะต้องแข่งกับเวลา
5.3 ข้อเสนอแนะ(研究建议)
จากการทำวิจัยในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาตัวอักษรจีนที่มี 日เป็นส่วนประกอบ ได้พบข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาในครั้งต่อไปดังนี้ ควรจะเพิ่มชนิดคำของตัวอักษรจีนตัวนั้นๆว่ามีหน้าที่อะไร และควรมีการศึกษาในเรื่องของปัญหาการใช้ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัว日เป็นตัวประกอบ เพราะผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์เท่านั้น และควรทำการศึกษาตัวอักษรจีนที่มีตัวอื่นๆเป็นตัวประกอบเพิ่มอีก และที่ผ่านได้มีผู้วิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษรต่างๆเป็นตัวประกอบจำนวนหลายท่าน ดังนั้น ควรจะมีการนำการวิจัยเหล่านั้นมาเปรียบเทียบหาว่าอักษรจีนแต่ละหมวดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และถ้ามีความสัมพันธ์ สัมพันธ์กันอย่างไร
没有评论:
发表评论