ชื่อผู้นิพนธ์ นางสาวเบญจพร สมภาวะ
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วกุล นิมิตโสภณ
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “阝”เป็นตัวประกอบ
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ : A study of radical “阝”in Chinese characters
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน : “阝”作为部件的汉字研究
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ: หมวดนำ, ความหมาย, คำศัพท์, ตัวอักษร“阝”, ความหมายของตัวอักษร“阝”
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน ศึกษาความหมายและโครงสร้างของตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ ซึ่งจากการวิจัยครั้งนี้ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรม จีน-ไทย (ฉบับย่อ โดยเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ) โดยนำคำศัพท์ที่ใช้ตักษร“阝”เป็นตัวประกอบ จำนวน 174 ตัวอักษร มาทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึง ความหมายและโครงสร้างของตัวอักษรจีนที่มีตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้นำตัวอักษรเดี่ยวสองตัวมาประกอบกันเพื่อให้เกิดอักษรใหม่ขึ้น จำนวนตัวอักษรที่นำมาศึกษา จำนวน 174 ตัวอักษร นำตัวอักษรดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. วิเคราะห์ตามความหมาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1.1 ความหมายตรง คิดเป็น 33 เปอร์เซ็นต์
1.2 ความหมายแผลง คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์
1.3 ความหมายแฝง คิดเป็น 5 เปอร์เซ็นต์
2. วิเคราะห์ตามโครงสร้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
2.1 โครงสร้างประกอบ (ซ้าย) คิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์
2.2 โครงสร้างประกอบ (ขวา) คิดเป็น 49 เปอร์เซ็นต์
2.3 โครงสร้างด้านล่าง คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์
2.4 โครงสร้างด้านใน คิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์
ผลจากการวิจัย พบว่าตัวอักษร“阝” มีลักษณะและวิธีการสร้างที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ ทำให้ทราบถึงความหมายของตัวอักษรสามารถแบ่งได้หลายประเภท อาจอยู่ในรูปของความหมายตรง ความหมายแผลง และความหมายแฝง จึงทำให้เกิดเป็นคำใหม่และความหมายใหม่ขึ้นมา โดยพื้นฐานของความหมายตัวอักษรใหม่ก็ยังคงความหมายเดิมของตัวอักษร“阝”ทำให้ผู้เรียนสามารถเดาความหมายและเสียงได้ นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างบอกตำแหน่งในการประกอบตัวอักษร แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ต่างกัน บางตำแหน่งบอกในเรื่องของเสียง บางตำแหน่งบอกในเรื่องของความหมาย และยังมีบางตำแหน่งไม่บอกอะไรเลย การศึกษาเรื่องตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้สนใจและผู้ที่กำลังศึกษา สามารถนำเป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
摘要
题目: “阝”作为部件的汉字研究
关键词: 部首、意义、生词、汉字“阝”、“阝” 意义
本文研究目的是对以“阝”作为部件的汉字进行研究, 研究汉字的演化进程, 研究“阝”作为部件的汉字的结构和意义。研究者认为此次的研究用来作为教学参考。本研究使用的资料来自杨汉川编译的《现代汉泰词典》(简体字版)共收集。研究方法是对174个“阝”作为部件的的汉字判别分析的意义,以了解汉字的结构和意义。
通过对174个“阝”作为部件的的汉字判别种类分析的意义,发现其可以分为两种
(一)分析汉字的意义
(一)新汉字与 “阝”意义类別相同的占33 %
(二)新汉字与 “阝” 意义类別不同的占60 %
(三)新汉字与原意类似, 但有些不同 的占5 %
(二)分析汉字的结构
(一)汉字结构左边的占 41 %
(二)汉字结构右边的占 49 %
(三)汉字结构下边的占 2 %
(四)汉字结构内部的占 4 %
研究“阝”作为部件发现 ,有自身特点和造字方法。在汉字的结构方面,“阝”可以做形旁、声旁或对汉字的声音和意义的影响。在汉字的意义方面, 汉字有很多意义: 新汉字与 “阝”意义类別相同、新汉字与 “阝” 意义类別不同、新汉字与原意类似, 但有些不同。这次研究使学生简单地猜测“阝” 汉字的意义 ,虽然有些不可以猜测,但汉字有 80% 是复合汉字可以推测出意义与声音。研究可以作为发展教学的参考和资料。
บทที่ 5 弟五章
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
研究成果、问题阻碍及建议
การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นส่วนประกอบ การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและความหมายของตัวอักษร“阝”มีจำนวนตัวอักษร“阝”ทั้งหมด 174 ตัวอักษร จุดประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อนำผลการเรียนการสอนภาษาจีน เมื่อผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษร การผสมกันระหว่างอักษรเดี่ยวสองตัว ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรที่มีความหมายใหม่ และในแต่ละตำแหน่งของตัวอักษรที่แตกต่างกัน บางตำแหน่งบอกเสียง บางตำแหน่งบอกความหมาย และบางตำแหน่งไม่บอกอะไรเลยเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น จากการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรที่มีตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ ผู้วิจัยได้ทำการสรุปผลการศึกษา เพื่อบอกถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
5.1 สรุปผลการวิจัย (研究成果)
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย(研究问题阻碍)
5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป(研究建议)
5.1 สรุปผลการวิจัย (研究成果)
การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นส่วนประกอบ จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีทั้งหมด 174 ตัวอักษร สามารถแบ่งกลุ่มข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์ออกเป็นตามกลุ่มความหมายคือ ความหมายตรง ความหมายแผลง ความหมายแฝง ตามโครงสร้างคือ โครงสร้างข้าประกอบ (ซ้าย) โครงสร้างข้าประกอบ (ขวา) โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างประกอบด้านใน ซึ่งสามารถสรุปผลวิจัยได้ดังนี้
5.1.1 การวิเคราะห์ตามกลุ่มของความหมายของตัวอักษร(分类汉字的意义)
5.1.1.1 ความหมายตรง (新汉字与 “阝”意义类別相同)(จำนวนข้อมูล 62 ตัวอักษร) เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุดในจำนวนร้อยละ 33 ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 186 ตัวอักษร )
(1) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเขตการปกครอง(有关 “管辖区” 意思词) คือจำนวนข้อมูล 54 ตัวอักษรในภาพรวมแล้วมีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มความหมายตรง
(2) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเนินเขา ภูเขา ลักษณะภูมิประเทศ(有关 “山,地势” 意思词) ) คือจำนวนข้อมูล 8 ตัวอักษร54 ตัวอักษรในภาพรวมแล้วมีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12 ของกลุ่มข้อมูลความหมายตรง จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ประเภทของข้อมูลโดยแบ่งกลุ่มตามความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายตรง เมื่อพิจารณาพบว่าตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับเขตการปกครองมีความหมายมากที่สุด
5.1.1.2 ความหมายแผลง 新汉字与“阝”意义类別不同 (จำนวนข้อมูล 113 ตัวอักษร) เป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 60 ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 186 ตัวอักษร )
(1) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อ สกุลของคนจีน(有关 “中国人的名姓” 意思词) คือจำนวนข้อมูล 40 ตัวอักษร ในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 35 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(2)ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเสียงหรือคำพูด(有关 “声音和话” 意思词 ) คือจำนวนข้อมูล 7 ตัวอักษร ในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 6 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(3) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก(有关 “心情” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 9 ตัวอักษร ในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 7 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(4) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรม(有关 “举动” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 9 ตัวอักษรในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 7 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(5) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับ ไม่ดี(有关 “不好” 意思词 )คือจำนวนข้อมูล 5 ตัวอักษร ในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 4 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(6) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับไวยากรณ์(有关 “语法” 意思词 )คือจำนวนข้อมูล 6 ตัวอักษร ในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 5 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(7) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับบันได(有关 “楼梯” 意思词 )คือจำนวนข้อมูล 4 ตัวอักษรในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 3 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(8) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับกำแพง(有关 “墙” 意思词 ) คือจำนวนข้อมูล 3 ตัวอักษรในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 2 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(9) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับทาง(有关 “路” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 2ตัวอักษรในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ1 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(10) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับน้ำ(有关 “水” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 3 ตัวอักษรในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ2 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(11) ตัวอักษรที่มีความหมายหลากหลาย(有关 “多重” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 49 ตัวอักษรในภาพรวมเป็นกลุ่มของตัวอักษรความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ 43 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวที่เป็นความหมายแผลง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มของความหมายแผลงพบว่ากลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายหลากหลาย มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ ความหมายเกี่ยวกับทาง
5.1.1.3 ความหมายแฝง 新汉字与原意类似, 但有些不同 (จำนวนข้อมูล 11 ตัวอักษร) ความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่เป็นจริงออกมาจำนวนร้อยละ 5 ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 186 ตัวอักษร )
(1) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับราชการ(有关 “公务” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 2 ตัวอักษรในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่เป็นจริงออกมาจำนวนร้อยละ 18 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(2) ตัวอักษรเกี่ยวกับความชัน, ภูเขา(有关 “山” 意思词) คือจำนวนข้อมูล 4 ตัวอักษรในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่เป็นจริงออกมาจำนวนร้อยละ 36 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(3) ตัวอักษรที่มีความหมายหลากหลาย(有关 “多重” 意思词)คือจำนวนข้อมูล 5 ตัวอักษรในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่เป็นจริงออกมาจำนวนร้อยละ 45 ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
จากข้อมูลที่ได้จาการศึกษาวิเคราะห์การแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแฝง พบว่ากลุ่มที่มีความหมายหลากหลาย มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่มีความหมายเกี่ยวกับความชัน, แสง และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับราชการมีจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาความหมายแฝง
สรุปผลจากการแบ่งข้อมูลตามความหมายของตัวอักษร(研究成果分析汉字的意义)ในการศึกษาข้อมูลตัวอักษร“阝”เมื่อนำมาผสมกับอักษรเดี่ยวอีกตัวมาผสมกันที่มีความหมายต่างกัน ส่วนใหญ่จะมีความหมายที่ไม่สัมพันธ์กันกับตัวอักษร“阝”และการผสมกันระหว่างตัวอักษรเดี่ยว ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา
5.1.2 ผลการวิเคราะห์โครงสร้างของตัวอักษร 研究成果分析汉字的结构
5.1.2.1 โครงสร้างประกอบ (ซ้าย) 汉字结构左边 (จำนวนข้อมูล 75 ตัว) เป็นโครงสร้างประกอบ (ซ้าย) มีหน้าที่แสดงความหมาย และไม่แสดงความหมายให้กับตัวประกอบจำนวนร้อยละ41 ของกลุ่มที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีทั้งหมด 174 ตัวอักษร)
(1) แสดงความหมาย(有意思)คือจำนวนข้อมูล 5 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ6 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบ (ซ้าย)ที่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบ(ซ้าย) พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่แสดงความหมายน้อยรองลงมาจากโครงสร้างประกอบ(ซ้าย) ที่ไม่แสดงความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบ (ซ้าย)
(2) ไม่แสดงความหมาย(沒有意思)คือจำนวนข้อมูล 70 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 93 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบ (ซ้าย)ที่ไม่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบ (ซ้าย) พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่ไม่แสดงความหมายมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบ (ซ้าย)
5.1.2.2 โครงสร้างประกอบ (ขวา) 汉字结构右边 (จำนวนข้อมูล 86 ตัว) เป็นโครงสร้างประกอบ (ขวา) มีหน้าที่แสดงความหมาย และไม่แสดงความหมายให้กับตัวประกอบจำนวนร้อยละ 49 ของกลุ่มที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีทั้งหมด 174 ตัวอักษร)
(1) แสดงความหมาย(有意思)คือจำนวนข้อมูล 46 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 53 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบ (ขวา)ที่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบ (ขวา) พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่แสดงความหมายมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบ (ขวา)
(2) ไม่แสดงความหมาย(沒有意思)คือจำนวนข้อมูล 40 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ46 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบ (ขวา)ที่ไม่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบ(ขวา) พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่แสดงความหมายน้อยรองลงมาจากโครงสร้างประกอบ(ขวา) ที่แสดงความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบ (ขวา)
5.1.2.3 โครงสร้างประกอบด้านล่าง 汉字结构下边 (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) เป็นโครงสร้างด้านล่าง มีหน้าที่แสดงความหมาย และไม่แสดงความหมายให้กับตัวประกอบจำนวนร้อยละ 2 ของกลุ่มที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีทั้งหมด 174 ตัวอักษร)
(1) ไม่แสดงความหมาย(沒有意思)คือจำนวนข้อมูล 5 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่างที่ไม่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านล่าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่ไม่แสดงความหมายมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง
5.1.2.4 โครงสร้างประกอบด้านใน 汉字结构内边 (จำนวนข้อมูล 8 ตัว) เป็นโครงสร้างด้านในมีหน้าที่แสดงความหมาย และไม่แสดงความหมายให้กับตัวประกอบจำนวนร้อยละ4 ของกลุ่มที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีทั้งหมด 174 ตัวอักษร)
(1) แสดงความหมาย(有意思)คือจำนวนข้อมูล 1 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 12 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านในที่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านใน พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่แสดงความหมายน้อยรองลงมาจากโครงสร้างประกอบด้านในที่ไม่แสดงความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านใน
(2) ไม่แสดงความหมาย(沒有意思)คือจำนวนข้อมูล 7 ตัวอักษรโดยในภาพรวมความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัว“阝”หรือไม่ก็แสดงความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านในที่ไม่แสดงความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านใน พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับจำนวนที่ไม่แสดงความหมายมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านใน
สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร(研究成果分析汉字的结构) ตาม โครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 โครงสร้าง คือ โครงสร้างประกอบ (ซ้าย) โครงสร้างประกอบ (ขวา) โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างประกอบด้านใน โครงสร้างทั้งหมดบอกในเรื่องของแสดงความหมายและไม่แสดงความหมาย จะเห็นได้ว่าโครงสร้างประกอบ (ขวา)จะแสดงความหมายมากที่สุด รองลงมาคือโครงสร้างประกอบ (ซ้าย) โครงสร้างประกอบด้านใน โครงสร้างประกอบด้านล่าง ตามลำดับ ส่วนโครงสร้างที่ไม่แสดงความหมายมากที่สุดคือโครงสร้างประกอบ (ซ้าย) โครงสร้างที่รองลงมาคือ โครงสร้างประกอบ (ขวา) โครงสร้างด้านใน ตามลำดับ ส่วนโครงสร้างด้านล่างไม่แสดงความหมายทั้งหมด
ผลการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ การศึกษานี้มีตัวอักษรที่ศึกษาทั้งหมด 174 ตัวเมื่อนำคำเหล่านี้มาแบ่งประเภทตามแบ่งประเภทตามกลุ่มความหมาย พบว่าตัวอักษรที่มีความหมายตรงมีทั้งหมด 62 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ 33 ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา ตัวอักษรที่มีความหมายแผลงมีทั้งหมด 113 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนที่ศึกษา ตัวอักษรที่มีความหมายแฝงมีทั้งหมด 11 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา เมื่อนำมารวมกันปรากฏว่า มีจำนวนตัวอักษรทั้งหมด 186 ตัวอักษร ซึ่งจำนวนที่เกินมานี้เป็นจำนวนตัวอักษรที่มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย เมื่อนำมาจัดกลุ่มความหมายทำให้มีตัวอักษรจาก 174 ตัวอักษรเพิ่มเป็น 186 ตัวอักษร ข้อมูลดังที่ได้แบ่งตามกลุ่มของความหมายได้ใช้ตัวอักษรทั้งหมด 186 ตัวอักษร และโครงสร้างของตัวอักษร พบว่าตัวอักษรที่เป็น โครงสร้างข้างซ้ายมีทั้งหมด 75 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ43 ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา โครงสร้างด้านขวามีตัวอักษรทั้งหมด 86 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ49 ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา โครงสร้างด้านล่างมีตัวอักษรทั้งหมด 5 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา โครงสร้างด้านในมีตัวอักษรทั้งหมด 8 ตัวอักษรคิดเป็นร้อยละ4 ข้อมูลดังที่ได้แบ่งตามกลุ่มของความหมายได้ใช้ตัวอักษรทั้งหมด 174 ตัวอักษร นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และได้สรุปผลการวิจัยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย(研究问题阻碍)
จากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นส่วนประกอบ ผู้วิจัยได้พบกับปัญหาดังนี้
5.2.1 เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นส่วนประกอบ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก ทำให้ข้อมูลในเรื่องนี้มีน้อย ทั้งในสื่ออินเตอร์เน็ตและหนังสือ และถ้ามีข้อมูลในหนังสือและในอินเตอร์เน็ตก็ไม่ตรงกัน
5.2.2 เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นส่วนประกอบ คำศัพท์บางคำจะมีเฉพาะระบบตัวเต็มเท่านั้น จึงทำให้ผู้วิจัยเกิดความสับสนในส่วนนี้
5.2.3 เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ มีจำนวนที่ศึกษาทั้งหมด 174 ตัวอักษร แต่เมื่อศึกษาและได้จัดแบ่งประเภทของข้อมูล ได้มีข้อมูลมากกว่าที่กำหนดทำให้เกิดความคลาด
เคลื่อนในส่วนนี้
5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป(研究建议)
จากการทำวิจัยในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ พบข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไปดังนี้
5.3.1 ควรศึกษาเรื่องปัญหาการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร“阝”เป็นตัวประกอบ
5.3.2 ควรจะขยายกลุ่มของตัวอักษรจีนให้มากขึ้น เช่นศึกษาในหนังสือเรียน เอกสารการเรียนการสอน ภาพยนตร์ และอื่นๆเพิ่มเติม เนื่องจากผู้วิจัยได้ศึกษาคำศัพท์ที่มีในพจนานุกรมเท่านั้น
没有评论:
发表评论