ชื่อสารนิพนธ์ การศึกษาข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อม กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ A Study of common errors in the use Conjunction of the Chinese language of
Ubonratchathani University Liberal Arts Chinese 3rd year students
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน 汉语关联词用法偏误研究 研究对象 : 乌汶大学文学院中文系三年级学生
ชื่อผู้นิพนธ์ ว่าที่ ร.ต.ฐิติณิชคุณ โฆสิตชุติพงษ์
คณะ ศิลปศาสตร์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล
สาขาวิชา ภาษาจีน
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อม กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ : คำเชื่อมภาษาจีน, ข้อผิดพลาด, ภาษาจีน, ไวยากรณ์จีน, การใช้คำเชื่อม
เนื่องจากภาษาจีนเป็นภาษาที่มีโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่แตกต่างจากโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาไทย จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาจีนขึ้น เช่น ข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อม ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการศึกษาข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน โดยทำการศึกษาจากกลุ่มผู้เรียนภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 38 คนด้วยการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนทั้งหมด 20 คู่
ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนอยู่ร้อยละ 30.4 และร้อยละ 69.6 ไม่มีข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน โดยการศึกษายังพบว่าคำเชื่อมที่เกิดข้อผิดพลาดในการใช้มากที่สุดคือ “不” เนื่องจากในการเรียนภาษาจีนที่พบบ่อยจะเป็นในรูปแบบประโยคที่ใช้ร่วมกับ “不…不…” ส่วนที่เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดคือ “越…越…” เนื่องจากเป็นคำเชื่อมที่พบเห็นและใช้ในการเรียนและพูดภาษาจีนบ่อยครั้ง สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ทราบหลักการใช้หรือไม่ทราบหลักไวยากรณ์มีทั้งสิ้นร้อยละ 32 ใช้หลักไวยากรณ์ไม่เหมาะสมมีทั้งสิ้นร้อยละ 9 ไม่ทราบความหมายของคำเชื่อมนั้นมีทั้งสิ้นร้อยละ 28 เกิดการสับสนไม่แน่ใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ของคำเชื่อมนั้นมีทั้งสิ้นร้อยละ 31
ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรให้ความสำคัญและเน้นเรื่องหลักไวยากรณ์คำเชื่อมให้ผู้เรียนมากกว่านี้ ในการเรียนภาษาจีนควรฝึกให้ใช้คำเชื่อมในสถานการณ์ที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้เรียนจดจำหลักไวยากรณ์และรูปแบบการใช้คำเชื่อมดังกล่าวได้ อีกทั้งต้องเพิ่มความมั่นใจในการใช้ภาษาจีนให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้การเรียนการสอนภาษาจีนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
摘要
题目 : 汉语关联词用法偏误研究
研究对象 : 乌汶大学文学院中文系三年级学生
关键词 : 汉语关联词、错误、汉语、汉语语法、汉语关联词用法
由于汉语语法跟泰语的有差别,因此泰国学生使用汉语时会出现用法错误,所以本文的研究目的是对汉语关联词用法偏误进行研究。研究的方法是用调查问卷的 方法,对乌汶大学文学院中文系三年级三十八个学生的回答进行研究。
本文的研究目的是对汉语关联词用法偏误进行研究 。研究的方法是用调查问卷的方法,对乌汶大学文学院中文系三年级三十八个学生的回答进行研究。本文调查研究后分析发现用汉语关联词有错误的占30.4 %,用汉语关联词没有错误的占69.6 %。本文还发现错误最多的关联词是 “不” ,由于在学习汉语的时候多有“不…不…” 的句子,使用汉语关联词错误的最少是“越…越…” 因为在学习汉语的时候常见,常用的。用汉语关联词用法错误的原因是不知道汉语连词用法的占32 %,使用汉语连词不合适的占9 % ,不知道连词的意思的占28 % ,对汉语连词不确信的占31 %。
所以教学中应该注重的是汉语关联词用法,为了使学生记住汉语关联词用法,在学习的时候,应该给学生更多地关联词用法练习,在复杂的句子中使用汉语关联词,不断增加学生的自信,就会使汉语学习更有效率。
研究成果,问题组嘚及建议
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน โดยการวิจัยในครั้งนี้ได้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นอกจากการศึกษานี้ จะศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแล้ว ผู้วิจัยเองยังได้ศึกษาทฤษฏีข้อผิดพลาดและโครงสร้างทางไวยากรณ์ของคำเชื่อมจีนอีกด้วย จากผลการวิจัยการศึกษาค้นคว้าและการทดสอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
5.1 สรุปผลการวิจัย 研究成果
การศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 38 คนนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 38 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบว่า คำเชื่อมใดเป็นข้อผิดพลาดในการใช้ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ครูผู้สอนได้เน้นถึงข้อบกพร่องเหล่านั้นอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับในการเรียนการสอนภาษาในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและในประเทศไทยให้สูงขึ้นด้วย
จากการศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน กรณีศึกษา: นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 38 คนทำให้พบว่ากลุ่มตัวอย่างหรือนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 38 คนนั้น มีข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนอยู่ร้อยละ 30.4 ถือได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมีปัญหาเล็กน้อยในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน และอีกร้อยละ 69.6 ไม่มีข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน
สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 38 คนพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รู้ความหมายของคำเชื่อมตัวนั้น ต่อมาคือความไม่มั่นใจของตัวผู้ทดสอบเองโดยเกรงว่าจะไม่ถูกต้อง อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างยังไม่มีความรู้เพียงพอเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีน โดยสามารถคิดเป็นร้อยละได้ดังนี้ ไม่ทราบหลักการใช้หรือไม่ทราบหลักไวยากรณ์มีทั้งสิ้นร้อยละ 32 ใช้หลักไวยากรณ์ไม่เหมาะสมทั้งสิ้นร้อยละ 9 ไม่ทราบความหมายของคำเชื่อมนั้นมีทั้งสิ้นร้อยละ 28 เกิดการสับสนไม่แน่ใจเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ของคำเชื่อมนั้นมีทั้งสิ้นร้อยละ 31
ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรให้ความสำคัญและเน้นเรื่องหลักไวยากรณ์คำเชื่อมให้ผู้เรียนมากกว่านี้ ในการเรียนภาษาจีนควรฝึกให้ใช้คำเชื่อมต่างๆ ทั้งในรูปแบบประโยคที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำหลักไวยากรณ์และรูปแบบการใช้คำเชื่อมให้เหมาะสมกันเหตุการณ์ต่างๆได้ อีกทั้งครูผู้สอนยังต้องเพิ่มความมั่นใจในการใช้ภาษาจีนให้แก่ผู้เรียนการสอนภาษาจีนในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้มีคุณภาพมากขึ้น
นอกจากนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การเรียนการสอนภาษาจีนในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนยังสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ไปปรับใช้กับการเรียนภาษาจีนของผู้ที่สนใจเองให้มีประสิทธิภาพ ทั้งงานวิจัยเล่มนี้ผู้ที่สนใจยังสามารถศึกษาหลักไวยากรณ์หรือวิธีการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนได้อีกด้วย5.2 ปัญหาอุปสรรคในการวิจัย 研究的问题和组嘚
5.2.1 ปัญหาการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย คือหนังสือหรือข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการใช้คำ
เชื่อมต่างๆ หาค่อนข้างยาก เนื่องจากมีเพียงตัวอย่างประโยคแต่ไม่มีวิธีการใช้
5.2.2 หนังสือที่บอกวิธีการใช้คำเชื่อมต่างๆ เป็นภาษาจีนจึงทำให้ยากต่อการแปล
5.2.3 หนังสือเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนมีอยู่มากและข้อมูลบางเล่มก็แตกต่างกัน จึงทำให้ต้องใช้เวลาใน
การเลือกข้อมูลที่ถูกต้องนานพอสมควร
5.2.4 ปัญหาที่เกิดขึ้นในการตอบแบบทดสอบ คือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสัมภาษณ์แม้จะให้ความร่วมมือเป็นอย่าง
ดี แต่แบบทดสอบค่อนข้างมากหลายชุด ทำให้ผู้ทดสอบเกิดความเบื่อ
5.3 ข้อเสนอแนะการวิจัย 研究的建议
จากผลการวิจัยเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อม กรณีศึกษา : นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 38 คนทำให้ทราบถึงข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเพียงกลุ่มเดียว ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่านี้เพื่อให้งานวิจัยครอบคลุมทุกกลุ่มที่เรียนภาษาจีน อีกทั้งหนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนส่วนใหญ่จะมีแต่ตัวอย่างประโยค ไม่ค่อยมีวิธีการใช้ ในส่วนหนังสือที่มีวิธีการใช้คำเชื่อมในแต่ละตัวที่พบจะเป็นภาษาจีน ถ้าหากผู้ที่ต้องการวิจัยหรือศึกษาเรื่องการใช้คำเชื่อมในภาษาจีนไม่เคยเรียนภาษาจีนก็จะทำให้การศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปได้ยาก สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมหรือข้อผิดพลาดในการใช้ไวยากรณ์อื่นๆในภาษาจีน จะต้องมีเวลาในการเก็บข้อมูลจากหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ให้มากพอและต้องมีความอดทนในการเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักศึกษาบางคนก็ไม่มีเวลาว่างพอที่จะให้ผู้วิจัยทำการทดสอบ อีกทั้งแบบทดสอบที่จะใช้ต้องมีความน่าสนใจด้วยจึงจะสามารถทำให้ผู้รับการทดสอบสนใจที่จะทำการทดสอบ และการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเพียงข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมเพียงอย่างเดียว ซึ่งน้อยเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา ควรที่จะเพิ่มไวยากรณ์จีนเรื่องอื่นๆ ให้ครอบคลุมและกว้างกว่านี้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับข้อมูลและงานวิจัย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมในการเรียนการสอนภาษาจีนในด้านการศึกษาไวยากรณ์จีนในเรื่องการใช้คำเชื่อมของภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
没有评论:
发表评论