2012年3月6日星期二

การศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมาย กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ทำวิจัย  นางสาวโสภาพันธ์  คนตรง

อาจารย์ที่ปรึกษา  อ. วกุล  นิมิตโสภณ



บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง :     การศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมาย
กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ: คำกริยา  คำพ้องความหมาย  คำกริยาพ้องความหมาย  คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน

                วิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้และลักษณะทางไวยากรณ์ของคำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ หนังสือเจาะลึกคำกริยาจีนกลาง ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย สุภาณี ปิยพสุนทรา รวบรวมข้อมูลจากการทำแบบทดสอบของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน30คน
                ผลการศึกษาวิจัยพบว่าจากการศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน ของนักศึกษาชั้นปีที่3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 30 คน สรุปว่า คำกริยาพ้องความหมาย (คำโดด)  มีผู้ตอบถูกคิดเป็นร้อยละ 42 และมีผู้ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 58  ส่วนคำกริยาพ้องความหมาย (คำคู่)  มีผู้ตอบถูกคิดเป็นร้อยละ 58 และมีผู้ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 42  และจากแบบทดสอบทั้งหมดทั้งสองตอน มีผู้ตอบถูกคิดเป็นร้อยละ 51 และมีผู้ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 49 ซึ่งในจำนวนของนักศึกษาที่ตอบถูกและตอบผิดสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ว่า นักศึกษาบางส่วนไม่เข้าใจวิธีการใช้หรือข้อแตกต่างของคำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน จึงยึดเฉพาะความหมายทำให้นำไปใช้ได้ผิด  จึงควรศึกษาวิธีการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนอย่างละเอียดเพื่อการใช้อย่างถูกต้องและควรมีการสังเกต จดจำ และศึกษาเพิ่มในหนังสือประกอบการเรียน หนังสือไวยากรณ์ พจนานุกรมและสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น


摘要

目的  :     泰国学生使用汉语动词同义词的问题研究

研究对象:  乌汶大学文学院中文专业三年级的学生

关键词 :   动词,同义,动词同义词,汉语动词同义词

      本文研究的目的是研究汉语动词同义词的语法结构,通过对乌汶大学文学院中文专业三年级的学生研究。研究方法主要借助Supanee Piyapasunottara译者的动词书籍, 信息以及对三十名汉语专业三年级的学生运用调查问卷方式收集资料。

      研究发现泰国学生使用汉语动词同义词的问题,所有参与调查的学生当中, 了解汉语同义简单动词的占42% 不了解的占58% ,了解同义复合的占58%不了解的占42%, 从两部分的卷测试结果来看,能正确回答的占51%,回答错误的占49%,本文研究了汉语动词同义词的语法结构、特点和意义,建议学生应该熟练掌握汉语动词同义词语法结构,可以借助汉语语法书、词典以及网络更好地掌握汉语动词同义词的用法除此之外,应该观察并牢记汉语动词同义词的语法特点和语法意义。本研究成果也将会对对外汉语教学有所帮助。


บทที่ 5(第五章)
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ(研究的成果)

                ในบทนี้จะกล่าวถึงการสรุปงานวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาทั้งหมดเพื่อศึกษาความหมายและวิธีการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนและเพื่อศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย  
                ในบทสุดท้ายนี้จะกล่าวถึงสรุปผลการวิจัย และปัญหาอุปสรรคที่พบเจอระหว่างทำการวิจัย รวมถึงข้อเสนอแนะ ซึ่งมีเนื้อหาและรายละเอียดดังต่อไปนี้
                5.1 สรุปผลการวิจัย(研究的成果)
                5.2 ปัญหาและอุปสรรค(研究的问题和阻碍)
                5.3 ข้อเสนอแนะ (研究的建议)

5.1 สรุปผลการวิจัย(研究的成果)
                จากการศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน) ของนักศึกษาชั้นปีที่3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 30 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความหมายและวิธีการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนและเพื่อศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากผลการศึกษาได้สรุปว่า คำกริยาพ้องความหมาย (คำโดด)  มีผู้ตอบถูกคิดเป็นร้อยละ 42 และมีผู้ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 58  ส่วนคำกริยาพ้องความหมาย (คำคู่)  มีผู้ตอบถูกคิดเป็นร้อยละ 58 และมีผู้ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 42  และจากแบบทดสอบทั้งหมดทั้งสองตอน มีผู้ตอบถูกคิดเป็นร้อยละ 51 และมีผู้ตอบผิดคิดเป็นร้อยละ 49 ซึ่งในจำนวนของนักศึกษาที่ตอบถูกและตอบผิดสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ว่า นักศึกษาบางส่วนอาจจะยังไม่เข้าใจวิธีการใช้หรือข้อแตกต่างของคำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน จึงยึดเฉพาะความหมายทำให้นำไปใช้ได้ผิด  จึงควรศึกษาวิธีการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนอย่างละเอียดเพื่อการใช้อย่างถูกต้องและควรมีการสังเกต จดจำ และศึกษาเพิ่มในหนังสือประกอบการเรียน หนังสือไวยากรณ์ พจนานุกรมและสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

5.2 ปัญหาและอุปสรรค(研究的问题和阻碍)
                ในการศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน มีปัญหาและอุปสรรคมากมายที่ทำให้การวิจัยล่าช้าและเพิ่มความซับซ้อนในการหาคำตอบให้กับงานวิจัย ดังนี้
                5.2.1 ปัญหาการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย คือหนังสือหรือข้อมูลจากสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีน้อยทำให้เกิดความยากลำบาก ความล่าช้าให้กับการค้นหาข้อมูล
                5.2.2  ปัญหาในการทำแบบทดสอบล่าช้า
                5.2.3 ปัญหาในการวิเคราะห์และหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลทำให้ใช้เวลาเป็นอย่างมาก

5.3 ข้อเสนอแนะ (研究的建议)
                จากผลการวิจัยปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ทำให้ทราบถึงปัญหาการใช้คำกริยาเสริมประเภทบอกทิศทางการเคลื่อนไหวจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเพียงแค่กลุ่มเดียว ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องคำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีน  ควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้นเพื่อให้งานวิจัยครอบคลุมทุกกลุ่มที่เรียนภาษาจีนหรือหากต้องการศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในเรื่องคำกริยาพ้องความหมายในภาษาจีนควรศึกษาในเรื่องข้อแตกต่างของการใช้ของคำกริยาและเพิ่มคำศัพท์ที่นอกเหนือจากนี้ให้มากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป

没有评论:

发表评论