อาจารย์ที่ปรึกษา อ.วกุล นิมิตโสภณ
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน
คำสำคัญ วิธีการแปลความหมาย ชื่อมหาวิทยาลัย ภาษาจีน ประเทศไทย
การศึกษาวิเคราะห์ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลการแปลความหมาย กลวิธีการแปลความหมาย โดยนำเอาชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทย 83 สถาบัน มาแยกประเภทและศึกษาวิเคราะห์ถึงกลวิธีในการแปลความหมาย
ในภาษาจีนกลางนั้นจะมีทั้งการใช้การแปลตามเสียง ไวยากรณ์และความหมาย เนื่องจากการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ จึงทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้ เพราะมีการใช้คำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ สำหรับการแปลวามหมายของชื่อมหาวิทยาลัยมี 3 รูปแบบที่นิยมใช้ ดังนี้
(1) การแปลตามเสียง คือ การนำเอาชื่อมหาวิทยาลัยมาถอดเสียงให้คล้ายหรือใกล้เคียงกับเสียงเดิมให้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยรัฐบาล 10 สถาบัน มหาวิทยาลัยเอกชน 9 สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 24 สถาบัน
(2)การแปลตามความหมายคือการนำความหมายของชื่อมหาวิทยาลัยมาแปลให้ตรงกับความหมายในภาษาจีนให้กลมกลืนและใกล้เคียงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 42 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยรัฐบาล 4 สถาบัน มหาวิทยาลัยเอกชน 16 สถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี 5 สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 10 สถาบัน
(3) การแปลตามเสียงและแปลตามความหมาย คือการนำชื่อสถาบันอุดมศึกษามาแปล โดยส่วนหนึ่งเทียบเสียงในภาษาจีนและอีกส่วนเทียบความหมายในภาษาจีน การแปลคำศัพท์แบบนี้จะให้ความสำคัญทั้งการออกเสียงและความหมายในการแปลคำศัพท์ด้วย คิดเป็นร้อยละ 6 ของจำนวนทั้งหมด ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยรัฐบาล 2 สถาบัน มหาวิทยาลัยเอกชน 2สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 1 สถาบัน
ผลการศึกษาดังกล่าว ก่อให้เกิดความเข้าใจกลวิธีการแปลความหมายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีนนั้น จะนิยมสร้างแบบแปลตามเสียงมากที่สุด เพราะเป็นการสื่อความหมายที่ง่ายและชัดเจน นอกจากนั้นก็เป็นการแปลแบบแปลตามความหมาย, การแปลตามเสียงและแปลตามความหมายตามลำดับ ในการแปลความหมายในภาษาจีนกลางไม่ว่าจะเป็นวิธีใดล้วนแสดงให้เห็นถึงการคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของความหมายและการใช้งานของคำศัพท์ เพื่อสามารถที่จะใช้ในการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
摘要
题目 泰国大学名字的中文译法研究
本文的研究目的是通过对收集到的泰国大学名字的中文译法研究资料进行分析,进而研究其译法形式。研究对象是对八十三泰国大学名字进行种类判别和意义分析。
研究发现,如果借词要进入汉语的词汇系统,必须接受汉语的语音、语法和构词规则等各方面的改造,以符合汉语的发音习惯、语法和词汇规则。汉语的单音节、象形方块文字等特点,使汉语对借词的改造要比西方语言里的词语借用方式显得复杂,却又别具一格,更富于创造性。概括起来,研究成果发现英译汉语词汇的造词所采用的方式主要有以下三种方法:
(一) 音译法是用发音近似的汉字将外来语翻译成汉语,这种用于译音的汉字不再有其自身的原意,只保留其语音和书写形式。译词占本研究材料的52%:包括 10个泰国政府大学名称,9个泰国私立大学名称和24个泰国皇家师范大学名称;
(二) 意译法是用汉语的构词材料和规则构成新词,把外来语里某个词的意义移植过来。意译词是指根据外来词的意义用汉语语素按照汉语构词法造出来的词。在汉语词汇研究中,意译词的类型最重要的是归属意义。意译法是最多的,占42% : 包括4个泰国政府大学名称,16个泰国私立大学名称,5个泰国皇家理工大学名称,10个泰国皇家师范大学名称以;
(三) 音译兼意译法多用于复合外来词,可以分为两类:一类是前半部分采用音译,后半部分采用意译;另一类是前半部分采用意译,后半部分采用音译。音译兼意译法占6% : 包括2个泰国政府大学名称,2个泰国私立大学名称 和1个泰国皇家师范大学的名称。
以上三种译法形式,显示出当今泰国大学名字的中文译法已达到与声音、意义、形式三者密切相关的状态。研究成果使我们进一步了解了泰国大学名字的译法形式。其中,音译法是最清楚的译法形式;第二是意译法;第三是音译词兼意译法。在汉语中为了使交流更清楚,更有效率,每个造词方法都充分考虑到语境、意义和用法。本研究成果可以作为中泰大学交流的借鉴资料。
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษากลวิธีการแปลความหมายของชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีนตลอดจนสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยการวิเคราะห์เป็นการนำเอาชื่อมหาวิทยาลัยมาวิเคราะห์ถึงกลวิธีการแปลความหมายว่า วิธีการแปลความหมายของชื่อสมหาวิทยาลัยนั้นมีการแปลความหมายแบบใด แล้วแยกประเภทของการแปลความหมายออกมา รวมทั้งวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของคำศัพท์ด้วย สำหรับการวิเคราะห์วิธีการแปลความหมายชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีนนั้น ผู้วิจัยได้แบ่งประเภทมหาวิทยาลัยไว้ในรูปแบบการแปลความหมาย 3 วิธีคือ 1. การแปลชื่อมหาวิทยาลัยแบบแปลตามเสียง 2. การแปลชื่อมหาวิทยาลัยแบบแปลตามความหมาย 3. การแปลชื่อมหาวิทยาลัยแบบแปลตามเสียงและแปลตามความหมาย ซึ่งในแต่ละวิธีก็มีการแปลความหมายที่แตกต่างกันและให้ความสำคัญในเรื่องของเสียง ความหมาย และรูปเดิมแตกต่างกันไปตามแต่ละรูปแบบของการแปลความหมายในภาษาจีนกลาง
สำหรับเนื้อหาในบทที่ 5 ของการศึกษาวิจัยเรื่อง ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน เป็นการสรุปผลการวิจัย ปัญหาและอุปสรรคการทำวิจัย และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
5.1 สรุปผลการวิจัย
5.1.1 สรุปผลการวิจัยตามประเภทของมหาวิทยาลัย
5.1.2 สรุปผลการวิจัยตามกลวิธีการแปลความหมาย
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาวิเคราะห์ชื่อมหาวิทยาลัย จำนวน 83 สถาบัน สามารถสรุปผลการวิจัย ได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. สรุปผลการวิจัยตามประเภทของมหาวิทยาลัย 2. สรุปผลการวิจัยตามกลวิธีการแปลความหมาย ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
5.1.1 สรุปผลการวิจัยตามประเภทของมหาวิทยาลัย
จากการศึกษาวิเคราะห์ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน จำนวน 83 สถาบัน สามารถสรุปผลการวิจัยตามประเภทของมหาวิทยาลัย โดยเป็นการสรุปแบบแยกประเภทของมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่ม เพื่อให้มองเห็นและเข้าใจกลุ่มมหาวิทยาลัยได้มากยิ่งขึ้น สำหรับการสรุปผลการวิจัยตามประเภทของมหาวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้
5.1.1.1 ชื่อมหาวิทยาลัยที่แปลตามเสียง มี จำนวนทั้งหมด 43 สถาบัน ประกอบด้วย
5(1) มหาวิทยาลัยรัฐบาล 10 สถาบัน
5(2) มหาวิทยาลัยเอกชน 9 สถาบัน
5(3) มหาวิทยาลัยราชภัฏ 24 สถาบัน
5.1.1.2 ชื่อมหาวิทยาลัยที่แปลตามความหมาย มีจำนวน28 สถาบัน ประกอบด้วย
5(1) มหาวิทยาลัยรัฐบาล 4 สถาบัน
5(2) มหาวิทยาลัยเอกชน 16 สถาบัน
5(4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี 5 สถาบัน
5(5) มหาวิทยาลัยราชภัฏ 10 สถาบัน
5.1.1.3 ชื่อมหาวิทยาลัยที่แปลตามเสียงและแปลตามความหมายมีจำนวน5 สถาบัน ประกอบด้วย
5(1) มหาวิทยาลัยรัฐบาล 2 สถาบัน
5(2) มหาวิทยาลัยเอกชน 2สถาบัน
5(4) มหาวิทยาลัยราชภัฏ 1 สถาบัน
สำหรับการสรุปผลการวิเคราะห์ที่แบ่งตามประเภทของมหาวิทยาลัยจาก 83 สถาบันสามารถจัดแบ่งได้เป็น 6 ประเภทคือ 1. มหาวิทยาลัยรัฐบาล 2. มหาวิทยาลัยเอกชน 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี โดยวิธีการแปลชื่อมหาวิทยาลัยนิยมใช้คือ การแปลแบบแปลตามเสียง การแปลแบบแปลตามความหมาย และการแปลแบบแปลตามเสียงและแปลตามความหมาย ซึ่งมีการแปลความหมายที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในการใช้ เพื่อให้สามารถใช้สื่อความหมายให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
5.1.2 สรุปผลการวิจัยตามกลวิธีการแปลความหมาย
จากการศึกษาวิเคราะห์ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน จำนวน 83 สถาบัน สามารถสรุปผลการวิจัยตามกลวิธีการแปลความหมายในภาษาจีนกลาง ซึ่งในแต่ละวิธีมีการแปลความหมายที่แตกต่างกันไปตามแต่ละรูปแบบของการแปลความหมายในภาษาจีนกลางเพื่อให้เหมาะสมในการสื่อความหมายให้ได้มากที่สุด มี 3 วิธีดังนี้
5.1.2.1 ชื่อมหาวิทยาลัยที่แปลตามเสียง คือ การนำเอาชื่อมหาวิทยาลัยมาถอดเสียงให้คล้ายหรือใกล้เคียงกับเสียงเดิมหรือเรียกว่า คำทับศัพท์ เป็นวิธีที่พบมากในการสร้างคำศัพท์ที่มาจากชื่อเฉพาะต่างๆ เนื่องจากเสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนมีเพียง 4 เสียง อาจทำให้เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนๆไปจากเดิมบ้าง การแปลคำศัพท์ประเภทนี้จะให้ความสำคัญในการออกเสียงให้ใกล้เคียงเสียงเดิมมากที่สุดโดยไม่อิงความหมายเดิม
5.1.2.2 ชื่อมหาวิทยาลัยที่แปลความหมาย คือ การนำความหมายของชื่อมหาวิทยาลัยมาแปลให้ตรงกับความหมายในภาษาจีนให้กลมกลืนและใกล้เคียงมากที่สุด ในการแปลตามความหมายนั้นมีทั้งการแปลตามความหมายตรงตัวและความหมายแฝงของคำศัพท์ เป็นวิธีที่เน้นความหมายให้ใกล้เคียงความหมายเดิมมากที่สุดไม่อิงการออกเสียง
5.1.2.3 ชื่อมหาวิทยาลัยที่แปลตามเสียงและแปลตามความหมาย คือ การนำชื่อมหาวิทยาลัยมาแปล โดยส่วนหนึ่งเทียบเสียงในภาษาจีนและอีกส่วนเทียบความหมายในภาษาจีน การแปลคำศัพท์แบบนี้จะให้ความสำคัญทั้งการออกเสียงและความหมายในการแปลคำศัพท์ด้วย
จากการวิเคราะห์กลวิธีการแปลความหมายของชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน จำนวน 83 สถาบัน สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในรูปแบบร้อยละโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังต่อไปนี้
(1.) การแปลแบบแปลตามเสียง คิดเป็นร้อยละ 52 ของจำนวนทั้งหมด
(2.) การแปลแบบแปลตามความหมาย คิดเป็นร้อยละ42 ของจำนวนทั้งหมด
(3.) การแปลตามเสียงและแปลตามความหมาย คิดเป็นร้อยละ 6 ของจำนวนทั้งหมด
การแปลความหมายในภาษาจีนกลางนั้น มีการเลือกวิธีที่เป็นตัวกำหมดความหมายของคำศัพท์แต่ละคำให้เหมาะสม จากการศึกษาจะพบว่า ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีนมักจะใช้การแปลแบบแปลตามความหมายมากที่สุด เพราะเป็นการที่เน้นการอิงเอาความหมายเดิมมาสร้าง ทำให้การสื่อสารเป็นไปด้วยความราบรื่น เข้าใจความหมายตรงกัน ทำให้ไม่ว่าคำศัพท์ประเภทใดก็จะพบในการแปลความหมายแบบนี้มากที่สุด รูปแบบการแปลความหมายรองลงมาคือการแปลตามเสียง เป็นการอิงเอาเสียงเดิมมาใช้แปลความหมายให้ได้มากที่สุด การแปลความหมายประเภทนี้ มักจะเน้นการรักษาเสียงเดิมไว้ให้มากที่สุด เนื่องจากเสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนมีเพียง 4 เสียง อาจทำให้เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนๆไปจากเดิมบ้าง อันดับที่สามเป็นการแปลตามเสียงและการแปลตามความหมาย เป็นการแปลความหมายที่เน้นทั้งเสียงและความหมายในการแปลความหมาย โดยส่วนหนึ่งเทียบเสียงในภาษาจีน อีกส่วนหนึ่งเทียบความหมายภาษาจีน สามารถพบได้ในทุกประเภท
ในการแปลความหมายจะแปลด้วยรากศัพท์ที่ง่ายที่สุด เพื่อให้สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการแปลความหมายนั้นต้องคำนึงถึงที่มาก่อนว่า การแปลความหมายในรูปแบบไหนจะทำให้สามารถแปลความหมายของคำศัพท์ได้อย่างลึกซึ้งที่สุด ต้องคำนึงถึงด้านเสียงและด้านความหมายร่วมกัน เพราะหากเลือกใช้ตัวหนังสือที่มีความหมายไม่ดี ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่สมควรและบอกถึงหลักในการเลือกใช้คำและวิธีการแปลความหมายด้วย การศึกษาภาษาจำเป็นต้องหาแหล่งที่มาของแต่ละภาษาให้ได้โดยเฉพาะรากศัพท์จึงจะทำให้รู้การเปลี่ยนแปลงของภาษาจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงนั้น มีทั้งการเปลี่ยนแปลงเสียง เปลี่ยนแปลคำ เปลี่ยนแปลงความหมาย มีความหมายคงเดิม
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย
5.2.1 หนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการแปลความหมายของภาษาจีนไม่ค่อยมี ทำให้การศึกษาหาข้อมูลเป็นไปด้วยความล่าช้า
5.2.2 เอกสารประกอบการวิจัยมีน้อย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีไม่มากทำให้ยากในการหาข้อมูลประกอบการทำวิจัย
5.2.3 ความหมายของคำศัพท์ไม่มีในพจนานุกรม
5.2.4 เวลาในการทำวิจัยน้อย
5.2.5 เกิดปัญหาในการแยกคำศัพท์ เพราะข้อมูลมีมาก ทำให้เกิดความสับสนในการแยกประเภทของข้อมูล
5.3 ข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาวิจัยเรื่อง ชื่อมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่แปลเป็นภาษาจีน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นการแยกประเภทของคำศัพท์ที่แปลโดยการแปลตามเสียง เพราะเราไม่สามารถเดาได้ว่าคำไหนเป็นการแปลแบบใด เราสามารถหาความหมายของคำศัพท์ที่แปลตามเสียง จากการแปลความหมายของคำศัพท์และสังเกตจากเสียงที่คล้ายเสียงเดิมด้วย ซึ่งมักจะมีความหมายแปลกๆหรือไม่มีความหมายแต่คล้ายเลียงเดิม จากนั้นเราสามารถตรวจความถูกต้องอีกทีด้วยการนำเอาคำศัพท์นั้นๆไปค้นหาข้อมูลผ่านสื่ออินเทอร์เนต ส่วนการหาเสียงในระบบพินอินซึ่งเป็นปัญหามากในการพิมพ์ เราสามารถนำคำศัพท์คำนั้นๆไปแปลเป็นพินอินได้โดยผ่านสื่ออินเทอร์เนตทำให้ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากขึ้น ส่วนการหาความหมายแต่ละคำ แนะนำให้ตรวจความหมายผ่านสื่ออินเทอร์เนตด้วย เพื่อความแม่นยำในการแปลความหมายได้ถูกต้องมากที่สุด
没有评论:
发表评论