2012年3月5日星期一

การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “疒” เป็นตัวประกอบ


ชื่อผู้นิพนธ์ นางสาวพัชรี  สำนักนิตย์ 5114410620
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ณัฐพัชร์  เตชะไพศาล

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง:  การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ

คำสำคัญ:  คำศัพท์,  วิวัฒนาการจีน ,  ความหมายตรง, ความหมายแผลง,ความหมายแฝง

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิวัฒนาการของตัวอักษรจีน  ศึกษาโครงสร้างและความหมายของตัวอักษร  ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน  ในการวิจัยครั้งนี้มีตัวอักษรทั้งหมด116 ตัวอักษร  ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรม จีน-ไทย (ฉบับย่อ)  มาทำการวิเคราะห์ความหมาย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้  เมื่อนำตัวอักษรจีน ไปผสมกับตัวอักษรอื่นจะมีความหมายที่หลากหลายรูปแบบทั้งยังทำให้เกิดความหมายใหม่   ความหมายตรง, ความหมายแฝง  และ ความหมายแผลง การศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างของตัวอักษร พบว่าตัวอักษรจีนที่มี เป็นตัวประกอบไม่มีโครงสร้างอื่นใดนอกจากด้านหน้าซึ่งมีอยู่เพียงด้านเดียว

การศึกษาวิจัยพบว่าตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  สามารถแบ่งออกเป็น  3  กลุ่มด้วยกัน  ซึ่งได้แก่ 1.  กลุ่มความหมายตรง  2. กลุ่มความหมายแฝง  3. กลุ่มความหมายแผลง   ในแต่ละกลุ่มยังมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ  เพื่อง่ายแก่การศึกษาและเข้าใจ  ข้อมูลที่ได้จากการแบ่งประเภทพบว่า  กลุ่มข้อมูลที่เป็นความหมายตรงจะมีจำนวนมากที่สุด  เมื่อนำมาเทียบกับทั้ง  3 กลุ่ม  คิดเป็นร้อยละ45%  ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมด  (116ตัวอักษร)  ส่วนกลุ่มข้อมูลที่มีมากเป็นอันดับสองก็คือ  กลุ่มข้อมูลความหมายแฝงเป็นร้อยละ26%ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมด  ท้ายที่สุดกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ  กลุ่มความหมายแผลงคิดเป็นร้อยละ23%ของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมด

 ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่าตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ  ตัวอักษรเหล่านี้ได้แสดงความหมายออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน  อาจจะอยู่ในรูปแบบของความหมายแผลง  ความหมายแฝง  หรือแม้แต่ในรูปของความหมายตรง    ส่งผลให้ผู้ศึกษาหรือผู้ที่กำลังเริ่มศึกษาสามารถที่จะเดาความหมายของตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ  เมื่อผู้ที่สนใจได้มาศึกษาก็สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างมีประสิทธิภาพได้


摘要



题目       ”作为部件的汉字研究



关键词    汉字、意义、同义、相同  意义类别不同



本文研究的目的是以“ ”作为部件的汉字为例,对其结构和意义进行研究,以探讨归纳汉字的性质和演化。研究者认为此次的研究成果可以作为发展教学的参考。本文共收集 116 汉字作为研究资料,分析意义和结构。本研究使用的资料来自杨汉川编译的《现代汉泰词典》(简体字版)

在收集的汉字中,“   ”与别的汉字组合时产生了很多新意义 :产生的新汉字与“”字旁意义相同或不同。汉字意义大约有三类 :    

1.新汉字意义与意义类别相同

2.新汉字意义与 意义类别不同

3.新汉字意义与 原意义类似, 但有些不同

名类都对部分汉字进行分析,增强研究力度。 分析这些汉字发现:  新汉字意义与   意义类别相同,这一类所占比重大,占  54%  新汉字意义与原意类似,  但有些不同,占26% 这一部分汉字数量为第二位;新汉字意义与    意义类别不同,占23%,这一部分汉字佷少

       作为部件的汉字的研究成果能够使学生简单地猜测“    ”字作为部件的 汉字的意义,虽然有些不可以猜测,但大部分符合研究得出的规律,这些发现可以作为发展教学的参考资料。

บทที่5  ()

สรุปผลการวิจัย  ปัญหาอุปสรรค  และข้อเสนอแนะ

研究成果, 问题阻碍及建议

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร       เป็นตัวประกอบ  จุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการเรียน  การสอนภาษาจีนในครั้งต่อไป  การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาความหมายของตัวอักษร       ในหลายๆรูปแบบ  มีจำนวนตัวอักษรที่ทำการศึกษาวิจัยทั้งหมด 116  ตัวอักษร  ซึ่งแบ่งแยกข้อมูลที่ศึกษาออกเป็น  3  กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน  ได้แก่ 1.ความหมายตรง  2.  ความหมายแฝง  3.  ความหมายแผลง  ใน  3  ส่วนนี้ยังแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆจากนั้นได้นำข้อมูลของตัวอักษรทั้งหมดนี้มาทำการวิเคราะห์  ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

5.1  สรุปผลการศึกษา  研究成果

                การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร  เป็นตัวประกอบ  จำนวนตัวอักษรที่ศึกษามีทั้งหมด  116  ตัวอักษร  ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้ข้อมูลของความหมายที่ได้จากตัวอักษรมาเป็นตัวสรุปผลการวิจัย  ได้แบ่งกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาออกเป็น  3  กลุ่ม ได้แก่ ความหมายตรง    ความหมายแฝง  และ ความหมายแผลงสามารถที่จะสรุปผลการวิจัยออกมาตามความหมายที่ได้ทั้งหมดดังนี้

           5.1.1  กลุ่มความหมายตรง  新汉字与      意义类别不同  (จำนวนข้อมูล 54ตัวอักษร)

เป็นกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนมากที่สุดอยู่ในจำนวนร้อยละ50  ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด(จำนวนข้อมูลทั้งหมด  116  ตัวอักษร)

ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ  意义关于     

                (จำนวนข้อมูล116ตัวอักษร)  ตัวอักษรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนและใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ศึกษา  ตัวอักษรที่บอกความหมายเกี่ยวกับโรค,การเจ็บป่วย  คิดเป็นร้อยละ50 ของข้อมูลความหมายตรง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยทุกกลุ่มของกลุ่มความหมายตรง  ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มความหมายตรง

5.1.2  ความหมายแฝง    新汉字与原意类似,  但有些不同 (จำนวนข้อมูล  31  ตัวอักษร)

เป็นกลุ่มข้อมูลตัวอักษรที่มีรองลงมาจากความหมายตรงความหมายของตัวอักษร  อยู่ในจำนวนร้อยละ26  ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมดจำนวน  116  ตัวอักษร

5.1.2.1   ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับอาการ   意义关于  症状

(จำนวนข้อมูล 20 ตัวอักษร)  ตัวอักษรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของตัวอักษรที่ศึกษา  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับอาการ  คิดเป็นร้อยละอยู่ในจำนวนร้อยละ18  ของข้อมูลความหมายแฝงจำนวน 31  ตัวอักษร  ผลการศึกษาการวิเคราะห์  พบว่า  กลุ่มข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากเป็นอันดับที่หนึ่งของกลุ่มความหมายแฝง

5.1.2.2  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับบาดแผล  意义关于  

(จำนวนข้อมูล  11  ตัวอักษร) ตัวอักษรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของตัวอักษรที่ศึกษา  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับบาดแผล  คิดเป็นร้อยละอยู่ในจำนวนร้อยละ9  ของข้อมูลความหมายแฝงจำนวน 31  ตัวอักษร  ผลการศึกษาการวิเคราะห์  พบว่า  กลุ่มข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สองของกลุ่มความหมายแฝง

5.1.3  ความหมายแผลง   新汉字与      意义类别不同  (จำนวนข้อมูล  27  ตัวอักษร)

เป็นกลุ่มข้อมูลตัวอักษรที่มีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มของความหมาย  อยู่ในจำนวนร้อยละ23 ของข้อมูลความหมายที่ได้จากตัวอักษรทั้งหมด  (จำนวนข้อมูล116  ตัวอักษร)

5.1.3.1  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับความรู้สึก    意义关于  感觉

(จำนวนข้อมูล  8 ตัวอักษร) ตัวอักษรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมที่ยังคงรากศัพท์เดิมของความหมายอักษรที่ศึกษา  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับความรู้สึกคิดเป็นร้อยละ6  ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง  (จำนวนข้อมูล  27  ตัวอักษร) เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยทุกกลุ่มของความหมายแผลง  ผลการศึกษาการวิเคราะห์  พบว่า  กลุ่มข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สองของกลุ่มความหมายแผลง

5.1.3.2  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับรอยตำหนิ    意义关于  污点

(จำนวนข้อมูล  5 ตัวอักษร) ตัวอักษรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมที่ยังคงรากศัพท์เดิมของความหมายอักษรที่ศึกษา  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับรอยตำหนิคิดเป็นร้อยละ4  ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง  (จำนวนข้อมูล  27  ตัวอักษร) เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยทุกกลุ่มของความหมายแผลง  ผลการศึกษาการวิเคราะห์  พบว่า  กลุ่มข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สามของกลุ่มความหมายแผลง

5.1.3.3  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับอื่นๆ  意义关于 

(จำนวนข้อมูล  14 ตัวอักษร) ตัวอักษรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมที่ยังคงรากศัพท์เดิมของความหมายอักษรที่ศึกษา  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับความหมายอื่นๆคิดเป็นร้อยละ12  ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง  (จำนวนข้อมูล  27  ตัวอักษร) เมื่อพิจารณาจากกลุ่มย่อยทุกกลุ่มของความหมายแผลง  ผลการศึกษาการวิเคราะห์  พบว่า  กลุ่มข้อมูลตัวอักษรประเภทนี้มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สามของกลุ่มความหมายแผลง

ผลการศึกษาวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร      เป็นตัวประกอบการศึกษานี้มีตัวอักษรที่ศึกษาทั้งหมด  116 ตัวอักษร  เมื่อนำตัวอักษรเหล่านี้มาแบ่งตามกลุ่มความหมายพบว่า   ตัวอักษรที่เป็นความหมายตรงมีทั้งหมด 54ตัวอักษร  คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา,  ตัวอักษรที่เป็นความหมายแผลงมีทั้งหมด 31ตัวอักษร  คิดเป็นร้อยละ26ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา, ตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝงมีทั้งหมด27 ตัวอักษร คิดเป็นร้อยละ23   ของจำนวนตัวอักษรที่ศึกษา  มาหาค่าเฉลี่ยให้กับข้อมูลที่ศึกษา  และสรุปผลการศึกษาวิจัยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

5.2  ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย  研究问题阻碍

จากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร      เป็นตัวประกอบ  ผู้วิจัยได้พบปัญหาดังนี้

เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร      เป็นตัวประกอบนั้นสามารถหาข้อมูลได้ทั้งในหนังสือและทางอินเตอร์เน็ตต่างๆ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายหลากหลายทำให้ยากแก่การตัดสินใจในตัวความหมายนั้นๆ  ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องตัดสินใจเอาข้อมูลทางพจนานุกรมเล่มใหญ่เป็นหลักและนำข้อมูลที่หามาได้นำมาเปรียบเทียบกันเพื่อความแน่ใจในความหมายในตัวอักษรนั้นๆ  และในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากความหมายที่หามาได้มีความหมายที่ค่อนข้างหลากหลายมีมากกว่า 2-3  ความหมายขึ้นไป  จึงยากแก่การจัดหมวดหมู่ จึงอาจส่งผลทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในข้อมูลที่ศึกษา

5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป 

            จากการทำวิจัยในหัวข้อนี้  ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร      เป็นตัวประกอบ  พบข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการศึกษาในครั้งต่อไปดังนี้

5.3.1  ควรมีการศึกษาเรื่องการออกเสียงของนักเรียนที่มีตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร    เป็นตัวประกอบ  เพราะค่อนข้างมีความน่าสนใจ

5.3.2  ควรมีการศึกษาเรื่องปัญหาการใช้ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร    เป็นตัวประกอบ   เพราะการศึกษาการศึกษานี้ยังไม่มีผู้ใดเคยทำมาก่อน  ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ 

没有评论:

发表评论