2015年5月21日星期四

การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย

ชื่อสารนิพนธ์                  :   การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ  :    A Comparative study of Chinese and Thai Noun Classifier
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน        :   泰国歌名的汉译法研究

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา    รศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ     
ชื่อผู้นิพนธ์               นางสาวปิยนันท์    โพธิวัฒน์
รหัสประจำตัวนักศึกษา    5414401359                                                              
                        
     --------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง  : การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย
คำสำคัญ : คำลักษณนามในภาษาจีน คำลักษณนามในภาษาไทย การเปรียบเทียบ  การจำแนกประเภท
                                                                                                                            
          เนื่องจากภาษาไทยและภาษาจีนต่างก็มีการใช้คำลักษณนาม ปัญหาประการหนึ่งในการเรียนภาษาของผู้ศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยและผู้ศึกษาภาษาไทยในประเทศจีน นั่นคือการใช้คำลักษณนาม ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามภาษาจีนและภาษาไทย วิธีการศึกษากระทำโดยการรวบรวมคำลักษณนามในภาษาจีนเฉพาะที่ใช้ในปัจจุบันและได้รวบรวมจากคู่มือลักษณนามจีน-ไทย  (2549) ทั้งหมด 133 คำ ส่วนคำลักษณนามในภาษาไทยรวบรวมจาก หนังสือชื่อลักษณนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546) ทั้งหมด 88 คำ 
จากการเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์การจำแนกคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย พบว่า คำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่นิยมใช้มากที่สุด คือ คำลักษณนามที่ใช้กับประเภทสิ่งของ คำลักษณนามในภาษาจีนที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 79 คำ คิดเป็นร้อยละ 64 คำลักษณนามในภาษาไทยที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 45 คำคิดเป็นร้อยละ 36 และคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่นิยมใช้น้อยที่สุด คือ คำลักษณนามประเภทอมนุษย์  คำลักษณนามในภาษาจีนที่ใช้กับประเภทอมนุษย์จำนวน 1 คำ คิดเป็นร้อยละ 33 คำลักษณนามในภาษาไทยที่ใช้กับประเภทมนุษย์จำนวน 2 คำคิดเป็นร้อยละ 67 ส่วนการเปรียบเทียบเกณฑ์การจำแนกคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน พบว่า คำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่นิยมใช้มากที่สุด คือ คำลักษณนามที่ใช้กับประเภทสิ่งของ คำลักษณนามในภาษาไทยที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 17 คำ คิดเป็นร้อยละ 29 คำลักษณนามในภาษาจีนที่มีที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 41 คำ คิดเป็นร้อยละ 71 และคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่นิยมใช้น้อยที่สุด คือ คำลักษณนามประเภทอมนุษย์ไม่มีคำลักษณนามที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
 ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงความเหมือนและความแตกต่างกันในด้านการใช้คำลักษณนาม การจำแนกประเภทคำลักษณนามและเกณฑ์การจำแนกคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย ทำให้ทราบถึงคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยนั้น มีความเหมือนกัน คือนิยมใช้คำลักษณนามที่ใช้กับประเภทสิ่งของและที่นิยมใช้น้อยคือคำลักษณนามที่ใช้กับประเภทอมนุษย์  นอกจากนี้แล้วยังแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของทั้งสองชนชาติรวมถึงลักษณะความเป็นอยู่ของชนชาตินั้น ๆ ได้อีกด้วย

 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 


摘要
题目     :   汉泰量词比较研究

关键词 : 汉语量词  泰语量词   对比   分类


由于泰语和汉语都有量词,在泰国学习汉语的学生与在中国学习泰语的学生都有使用量词的问题。因此本文才汉泰量词进行比较研究。研究的方法是从《汉-泰量词手册》(2549)收集现代汉语量词,133,《量词》(Royal Institute.2546) 收集泰语量词,88个。
汉语和泰语量词的分类研究发现, 最常用的汉语和泰语量词是东西量词,汉语东西量词有79, 64%,泰语东西量词有45,36%。最少用的汉语和泰语量词是非人量词,汉语非人量词有1,33%,泰语非人量词有2,67%。从有同或相似的汉语和泰语量词的分类研究发现,最常用的同样或相似的汉语和泰语量词是东西量词,泰语东西量词有17,29%,汉语东西量词有41,71%。最少用的同样或相似的汉语和泰语量词是非人量词,没有同样或相似的量词。
本文量词的相同点差别、量词分类及汉语与泰语的分类规程,并且得汉语和泰语量词东西量词数量最非人量词数量最。此外,还表示了两国的传统以及人民的生活。


没有评论:

发表评论