การศึกษาวิเคราะห์คำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีน 汉语同体字研究
ชื่อสารนิพนธ์ : การศึกษาวิเคราะห์คำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีน
Research Name :
题目
: 汉语同体字研究
อาจารย์ที่ปรึกษา :อาจารย์ประภาพร. ศศิประภา
ชื่อผู้นิพนธ์
: นางสาวพิมพ์ชนก บุญเอื้อ
รหัสประจำตัวนักศึกษา :
___________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์คำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีน
คำสำคัญ : คำพ้องรูป
เสียงอ่าน ความหมายของคำ ชนิดของคำ
คำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีน
หมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกันและมีเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกัน
การศึกษาวิเคราะห์คำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีน
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความหมาย และชนิดของคำ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้รวบรวมคำศัพท์ทั้งหมด124 คำ
จากหนังสือพจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (2549) ของเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ โดยแบ่งประเภทข้อมูลตามความหมายที่สอดคล้องกันและความหมายที่ไม่สอดคล้องกันและวิเคราะห์ชนิดของคำ ผลการศึกษาคำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีนพบว่า
การวิเคราะห์ตามความหมายแบ่งได้ 2ประเภท ดังนี้ 1) ความหมายของคำศัพท์ที่ไม่สอดคล้องกันมีจำนวน 69 คำคิดเป็นร้อยละ 56 (จำนวนข้อมูลคำศัพท์ที่ศึกษา 124คำ) 2) ความหมายของคำศัพท์ที่สอดคล้องกันมีจำนวน 55 คำ คิดเป็นร้อยละ 44 (จำนวนข้อมูลคำศัพท์ที่ศึกษา 124 คำ)
จากการวิจัยพบว่าความหมายที่ไม่สอดคล้องกันมีมากที่สุด
และความหมายที่ไม่สอดคล้องกันเป็นส่วนน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าการศึกษาการวิเคราะห์คำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีน
หากนำมาวิเคราะห์ตามชนิดของคำศัพท์สามารถจัดแบ่งชนิดของคำได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) คำที่มีความหมายไม่สอดคล้องกันชนิดของคำต่างกันมีจำนวน 40 คำ คิดเป็นร้อยละ 32
2) คำที่มีความหมายสอดคล้องกันเป็นคำชนิดเดียวกันมีจำนวน 39 คำ คิดเป็นร้อยละ 32
3) คำที่มีความหมายไม่สอดคล้องกันแต่เป็นคำชนิดเดียวกันมีจำนวน 29 คำ คิดเป็นร้อยละ 23
4) คำที่มีความหมายสอดคล้องกันแต่ชนิดของคำต่างกันมีจำนวน 16 คำ คิดเป็นร้อยละ 13 ชาวไทยที่เรียนภาษาจีน
หากไม่ระมัดระวังในการอ่านหรือออกเสียงคำพ้องรูปสองพยางค์ที่มีเสียงอ่านใกล้เคียงกันในภาษาจีนอาจจะทำให้การสื่อสารเกิดข้อผิดพลาดได้ จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอันเกิดจากการที่ตัวอักษรหนึ่งตัวมีรูปเหมือนกันและมีเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันให้หมดไปหรือให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้น้อยที่สุด
และยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาทักษะการอ่านและการเรียนรู้ภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
摘要
题目 :汉语同体字研究
关键词 :多音字 、发音、音译 、同体字、分类
汉语同体字是文字与声音相近 汉语同体字研究的目的是研究它们的含义关系以及同体字分类。研究的主要资料包括124个是从收集《汉-泰》词典楊潢川编译本文主要分成以下三个部分:一 、相同含义
二、 不同的含义 三 、同体字分类。
研究发现 分析了同体字的含义,可分为以下两个部分 :
一、不同的含义(占 56% 所有的生词中124个)
二、相同含义 (占44% 所有的生词中124个) 从研究的成果还发现不同含义的同体字较多,而相同含义的同体字较少。研究中还发现汉语同体字可以分成四个部分 :
一、相同含义 以及相同类型(占 32 %)
二、不同的含义也不同类型 (占 32 %)
三、不同的含义 但相同类型(占 23 %)
四、相同含义 但不同类型 (占 13 %)
如果汉语者学习者对汉语同体字不掌握,就会发生了发音的差错。本文研究为未来解决问题,减少汉语同体字的误用,而研究成果使汉语者学习者更了解汉语发音,对汉语教学有所帮助。
没有评论:
发表评论