ชื่อเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์“ กลวิธีการแปลชื่ออาหารไทย เป็นภาษาจีน
”
Research name A
Study naming Thai food into Chinese.
题目
泰国菜名的中文译法研究 .
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. เมชฌ สอดส่องกฤษ
ชื่อผู้นิพนธ์ นางสาวสุจิตรา
ดวงสนิท
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5414401470
-------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง
: การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน
คำสำคัญ
: อาหารไทย รายชื่ออาหารไทย การแปลภาษาไทย-จีน รายชื่ออาหารไทยที่แปลเป็น
ภาษาจีน
สารนิพนธ์เรื่องฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางความหมายของชื่ออาหารไทยที่แปลเป็นภาษาจีน ข้อมูลที่ใช้ศึกษาและวิเคราะห์ในการทำวิจัยครั้งนี้คือ
รายชื่ออาหารไทยจำนวน 130 ชื่อ จาก www.http://pasaJeen.com
ผลการวิจัยพบว่า
กลวิธีที่ใช้ในการแปลรายชื่ออาหารไทยที่แปลเป็นภาษาจีน มี 6 กลวิธีดังนี้ 1)กลวิธีการแปลตามความหมาย เป็นการแปลที่พยายามรักษาและคงความหมายโครงสร้างของต้นฉบับไว้อย่างครบถ้วนซึ่งจะไม่มีการตัดทอนหรือแต่งเติมข้อความใดๆเพิ่มลงไปโดยเด็ดขาด
มีจำนวน 53 รายชื่อ คิดเป็น 40% 2) กลวิธีการแปลแบบอิสระ
เป็นรูปแบบที่ผู้แปลใช้ในการถ่ายทอดภาษาจะมีความแตกต่างกันออกไปจากโครงสร้างของต้นฉบับ
เป็นการแปลที่มีรูปแบบการแปลที่อิสระสามารถโยกย้ายหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบคำ มีจำนวน 62 รายชื่อ คิดเป็น 47% 3)
กลวิธีการแปลแบบทับศัพท์เลียนเสียง เป็นการแปล
หรือการถอดเสียง จากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งโดยยึดจากภาษาต้นฉบับ การทับศัพท์พยายามที่จะยึดภาษาต้นฉบับเป็นสำคัญ มีจำนวน
3
รายชื่อ คิดเป็น 2% 4) กลวิธีการแปลแบบเสริมความ
เป็นการแปลที่มีการเพิ่มคำหรือประโยคลงไปในการแปล
เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนมากขึ้น และมีความหมายใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด
มีจำนวน 6
รายชื่อ คิดเป็น 5% 5) กลวิธีการแปลแบบตัดความ การแปลที่มีการตัดคำ
หรือข้อความที่ไม่จำเป็นออก เพื่อความกระชับและสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นของรูปแบบประโยค
มีจำนวน 4 รายชื่อ
คิดเป็น 3% 6)
กลวิธีการแปลแบบทับศัพท์เลียนเสียง+การแปลตามความหมาย กลวิธีการแปลที่มี
2
กลวิธีในรูปประโยคเดียว คือ กลวิธีการแปลแบบทับศัพท์เลียนเสียงและมีกลวิธีการแปลตามความหมาย
มีจำนวน 4 รายชื่อ คิดเป็น 3%
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กลวิธีการแปลรายชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน
ส่วนใหญ่จะใช้กลวิธีการแปลแบบอิสระมากที่สุด รองลงมา คือ
กลวิธีการแปลตามความหมาย
กลวิธีกลวิธีการแปลแบบเสริมความ กลวิธีการแปลแบบตัดความ กลวิธีการแปลแบบทับศัพท์เลียนเสียง+การแปลตามความหมาย
กลวิธีการแปลทับศัพท์เลียนเสียง ตามลำดับ
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเรื่องการแปลต่างๆ
สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ผู้เรียนสามารถใช้ทฤษฎีการแปลเพื่อใช้ในการแปลได้ถูกต้อง
-------------------------------------------------------------------------------------------------
摘要
题目 :泰国菜名的中文译法研究
关键词 :泰国菜、菜名、泰汉翻译方法、泰国菜翻成中文
本文主要研究泰国菜名的泰汉翻译方法与泰国菜翻成中文的名关系的。研究对象主要来自在www.http://pasajeen.com 已在展出的130个泰国菜的汉语名字。研究发现泰国菜名的中文译法研究发现有六种方式 :一﹑意译法:保持原来的结构,不能加,减和改变原语言的句子形式。翻译后的意思跟原意思相同,占40%。二﹑自由译法:原来的结构不同。能加,减和改变原的形式。翻译后的意思跟原语言有所差异或完全不同,占 47% 三﹑音译法:用目的语中读音相似的字表示原语言。占2%。四﹑ 加字译法:可能加词或句子使意义更清楚,但翻译后的意义跟原语言的意义属于同一个方向 ,占5% 。五﹑消减译法:删减不重要的词使句子简单明了,但意义仍然是相同的,占3%。六﹑音译加意译法:一个句子有两个翻译方法,一 是音译法,二是意译法,占3% 。
研究表明泰国菜名的中文译法研究有六种方式,大部分采用自由译法,其次是意译法,加字译法和消减译法,还有少部分泰国菜名的中文翻译采用音译加意译法和音译法。
本研究使学生了解和掌握翻译的方法。除此之外、对汉语教学也有所帮助。
没有评论:
发表评论