2012年2月29日星期三

ศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษา: คณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษา: คณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้จัดทำ นางสาวนิรมล ฤกษ์รัตนวารี   5114442560

อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.ณัฐพัชร์  เตชะรุ่งไพศาล



บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                  :  ศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ 
                                   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษาคณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะ
                                   ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                                                                  
คำสำคัญ               :  ปัญหา  การเรียนการสอน  ภาษาจีน  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


                สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษา: คณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2554 โดยมีคณาจารย์คนไทย 3 ท่าน  คณาจารย์คนจีน 3 ท่าน รวมทั้งสิ้น 6 ท่าน  นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 34 คน  นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 27 คน  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน  และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 123 คน โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย
                ผลการวิจัยพบว่าจากความคิดเห็นของคณาจารย์ต่อการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2554  ผู้วิจัยพบปัญหา 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านผู้เรียน และปัญหาด้านตำราหนังสือและสื่อการเรียนการสอน
                ผลการวิจัยพบว่าจากความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอนของคณาจารย์สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2554  ผู้วิจัยพบปัญหา 4 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านผู้สอน  ปัญหาด้านตำราหนังสือและสื่อการเรียนการสอน  ปัญหาด้านหลักสูตร  และปัญหาด้านสภาพแวดล้อม
                การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยจีน – ไทย คือหนึ่งความต้องการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง  สนทนากับเจ้าของภาษา  เรียนรู้วัฒนธรรม  จารีตประเพณี  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  รวมไปถึงทัศนคติของคนจีน
                ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษา: คณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2554 ในครั้งนี้ สามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 



摘要

题目     乌汶大学人文学院中文专业的教学及其问题研究 研究对象:乌汶大学人
文学院中文专业的教师与1-4年级的学生、第二个学期。

关键词:    问题、教学、汉语、人文学院、乌汶大学




      本论文的研究目的是研究关于乌汶大学人文学院中文专业的教学问题 对象:乌汶大学人文学院中文专业的教师与1-4 年级的学生、第二个学期。有泰国教师 3 位、 中国交流教师 3 位; 一共有 6 位教师。一年级的学生有 34 个人、 二年级的学生有 27 个人、 三年级的学生有 30 个人、四年级的学生有 32 个人; 一共有 123 个人。 研究的方法使用满意程度的评价表。
      本文发现教师对学生学习教法问题的看法有2 个情况。如下:
一、学生问题的情况
二、汉语课本问题的情况
      本文发现学生对教师教法问题的看法有 4个情况。如下:
一、教师问题的情况
二、汉语课本问题的情况
三、中文专业课程的问题
四、学习周围的问题
乌汶大学人文学院中文专业的学生对中泰大学留学很关注。他们对中国人讲话、中国文化、中国风俗、中国人的生活、中国人的想法感兴趣。
本研究是关于乌汶大学人文学院中文专业的教学问题 对象:乌汶大学人文学院中文专业的教师与1-4 年级的学生,能够发展中文专业的课程更好。



บทที่ 5 第五章
สรุปผลการวิจัย 
研究成果
                ในบทนี้จะกล่าวถึงผลสรุปการวิจัยสภาพและปัญหาหลักสูตรการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยแบ่งผลการวิจัยดังนี้
                5.1 สรุปผลการวิจัย(研究的成果)       
5.1.1 สรุปความคิดเห็นของคณาจารย์           
5.1.1.1 ปัญหาด้านผู้เรียน
5.1.1.2 ปัญหาด้านตำราหนังสือและสื่อการเรียนการสอน       
5.1.2 สรุปความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4  
5.1.2.1 ปัญหาด้านผู้สอน
5.1.2.2 ปัญหาด้านตำราหนังสือและสื่อการเรียนการสอน
5.1.2.3 ปัญหาด้านหลักสูตรการเรียนการสอน
5.1.2.4 ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม
                5.2 ปัญหาและอุปสรรค (研究的问题)
                5.3 ข้อเสนอแนะ                  (研究的建议)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพและปัญหาหลักสูตรการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษาคณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. คณาจารย์ 6 ท่าน คณาจารย์คนไทย 3 ท่าน  คณาจารย์คนจีน 3 ท่าน โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  2. ความพึงพอใจของคณาจารย์ต่อการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  3. ข้อเสนอแนะต่างๆ 
2. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 34 คน  นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 27 คน  นักศึกษาชั้นปีที่ จำนวน 30 คน  และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน  32 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 123 โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น  3 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  2. แบบสอบถามสภาพและปัญหาหลักสูตรการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตามความคิดเห็นของนักศึกษา  3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการสอนของคณาจารย์สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และข้อเสนอแนะต่างๆ
                ในการอธิบายผลการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และการวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลเป็นแผนภูมิวงกลม
                รายงานสรุปผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหลักสูตรการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษา: คณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้
5.1 สรุปผลการศึกษา (研究成果)
                การศึกษาวิจัยนี้ครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ ในด้านสภาพและปัญหาหลักสูตรการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษา : คณาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
5.1.1. สรุปความคิดเห็นของคณาจารย์ (教师的看法)
จากการตรวจสอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรการเรียนการสอนและสภาพการเรียนของคณาจารย์สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบปัญหาทั้งหมด 2 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านผู้เรียน  และปัญหาด้านตำราหนังสือและสื่อการเรียนการสอน
                5.1.1.1 ปัญหาด้านผู้เรียน
                - เนื่องจากผู้เรียนจำนวนมากมีพื้นฐานด้านภาษาจีนในระดับประถม  มัธยมต้น มัธยมปลาย และหลักสูตรระยะสั้นมาก่อน จึงทำให้เกิดปัญหาในด้านการสอนอย่างมาก ส่งผลต่อความสนใจของผู้เรียนที่มีพื้นฐานภาษาจีนมาก่อนลดน้อยลง เบื่อหน่ายเนื้อหาสาระที่เรียน
                - ในบางชั้นปีมีจำนวนผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านภาษาจีนมาก่อนจำนวนมาก  ทำให้ผู้สอนง่ายต่อการสอนพื้นฐานทางด้านภาษาจีนมากยิ่งขึ้น  ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน แต่ในทางกลับกันผู้เรียนบางคนยังไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนนำมาใช้ได้จริง


                5.1.1.2 ปัญหาด้านตำราหนังสือและสื่อการเรียนการสอน
                 - ตำราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นของ北京语言大学 เนื้อหาภายในหนังสือบางส่วนไม่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน ตำราเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการแนะแนว หรือข้อสอบการสอบวัดระดับความรู้ทางด้านภาษาจีน (HSK)
                - คอมพิวเตอร์ภายในบางห้องเรียนไม่มีการลงโปรแกรมภาษาจีน ทำให้เอกสารประกอบการเรียนประเภท Power Point อักษรตัวจีนบางตัวปรากฎออกมาเป็นสัญลักษณ์  หรือในบางกรณีปรากฏเพียงบางตัวอักษรเท่านั้น
5.1.2 สรุปความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 1-4 年级的学生的看法)
จากการตรวจสอบแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ต่อหลักสูตรการเรียนการสอนของคณาจารย์สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบปัญหาสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาด้านผู้สอน  ปัญหาด้านตำราเนื้อหา ปัญหาด้านหลักสูตร  และปัญหาด้านสภาพแวดล้อม
5.1.2.1 ปัญหาด้านผู้สอน
- รูปแบบวิธีการสอนของคณาจารย์ตามความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 ส่วนใหญ่
ให้ความคิดเห็นว่า มีรูปแบบวิธีการสอนที่รวดเร็วเกินไป ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนอย่างถ่องแท้
- ระยะเวลาในการเรียนบางรายวิชากระชั้นชิดกับช่วงการสอบกลางภาคมากเกินไป จึง
ส่งผลต่อผลการการเรียนของผู้เรียนเป็นอย่างมาก
- การใช้ภาษาแม่ในการสื่อสารในชั้นเรียน ทำให้ทักษะการใช้ภาษาจีนในด้านต่างๆ ของ
ผู้เรียนไม่พัฒนา และทำให้ไม่คุ้นเคยในด้านการพูดและฟังภาษาจีน
- การขาดแคลนผู้สอนคนจีน ปัจจุบันทางสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่มีคณาจารย์คนจีนอยู่ประจำสาขา มีเพียงนักศึกษาคนจีนจาก 云南民族大学 มาฝึกสอน 3 คนเท่านั้น


5.1.2.2 ปัญหาด้านตำราเรียนและสื่อการเรียนการสอน
- ในบางรายวิชาเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ยากเกินกว่าพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน จาก
แบบประเมินจะพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 4 มีความคิดเห็นว่าเนื้อหาสาระที่เรียนยากมาก
- เนื้อหาสาระของตำราเรียนไม่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
- ขาดแคลนหนังสือนิทาน  เรื่องสั้น  หรือนิยายไว้ให้บริการกับผู้เรียน เพื่อเป็นการฝึกฝน
ทักษะด้านการอ่าน การวิเคราะห์รูปแบบไวยากรณ์ของผู้เรียน
- ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนเช่น ภาพยนตร์จีน  เพลงจีน และสื่อโทรทัศน์
จีนให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการฟังและทักษะการอ่านของผู้เรียน
- หนังสือที่ให้บริการอยู่ภายในห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประเภทของหนังสือไม่มีความหลากหลาย และหนังสือบางประเภทมีเนื้อหายากเกินกว่าที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้
5.1.2.3 ปัญหาด้านหลักสูตร
- การเพิ่มเติมหลักสูตรการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยจีน – ไทย เพื่อการ
พัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของผู้เรียน และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ทัศนคติของคนจีนอีกด้วย
- การเพิ่มเติมรายวิชาการฝึกงานลงในหลักสูตรสาขา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมใน
การประกอบอาชีพที่ต้องการในอนาคตของผู้เรียน
- ด้านรายวิชาเอกเลือกต่างๆ ผู้เรียนมีความต้องการให้มีรายวิชาเพิ่มเติมและหลากหลาย
มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นรายวิชาที่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง
- เนื้อหาหลักสูตรรายวิชาภาษาจีน ควรเน้นรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีนให้มากกว่าเดิม
เนื้อหาหลักสูตรทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศจีน
- รายวิชาเอกบังคับควรมีการปรับเปลี่ยนให้เข้มข้นขึ้น โดยมีรายวิชาที่ผู้เรียนสามารถ
นำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง


5.1.2.4 ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม
- อิทธิพลทางด้านภาษาแม่(ภาษาไทย) ส่งผลให้ผู้เรียนไม่นำภาษาจีนมาใช้ในการสื่อสาร
หรือภายในชั้นเรียน ยกเว้นรายวิชาเรียนที่ต้องสนทนากับผู้สอนคนจีน
- อิทธิพลทางด้านภาษาถิ่น (ภาษาไทยอีสาน)  ส่งผลต่อการออกเสียงของผู้เรียน
โดยเฉพาะอักษร ช ผู้เรียนบางคนออกเสียง ซ  ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้เรียนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ในปีการศึกษา 2554 รายวิชาบางรายวิชาไม่สามารถหาห้องเรียนได้ เนื่องจากไม่มีสื่อ
มัลติมีเดียประกอบการเรียนการสอน  ขนาดของห้องไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน  คอมพิวเตอร์ไม่มีโปรแกรมภาษาจีน  และบางรายวิชาผู้เรียนไม่สามารถสัมผัสกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์จริงได้
                ดังนั้นผู้สอนควรมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมหลักสูตรการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนแต่ละระดับชั้น  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนยกระดับทักษะด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรมีการติดตามผลความพึงพอใจต่อการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน แล้วนำผลที่ได้มาพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนหรือวิชาอื่นๆ ต่อไป
5.2 ปัญหาอุปสรรค (研究的问题)
                1. ปัญหาแหล่งสืบค้นและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนมีจำนวนน้อย  เนื้อหาส่วน
ใหญ่จะกล่าวคร่าวๆ อธิบายไม่ละเอียด ดังนั้นข้อมูลการทบทวนวรรณกรรมส่วนใหญ่ จึงได้มา
จากการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์
2. ผู้วิจัยมีปัญหาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสถิติอย่างมาก  เนื่องจากการศึกษานี้จำเป็นต้องใช้
   โปรแกรมการวิเคราะห์ทางด้านสถิติ (SPSS) ใช้เวลาในการเรียนรู้และขอความช่วยเหลือจาก
   เพื่อนต่างสาขา จึงทำให้งานล่าช้าไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้
3. กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำแบบประเมินความพึงพอใจ
5.3 ข้อเสนอแนะ  (研究的建议)
                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเฉพาะหลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2554 เท่านั้น  จึงควรศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนในปีต่อๆ ไป เพื่อเป็นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย  มัธยมต้น และประถมศึกษาที่มีการเรียนการสอนภาษาจีน  เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยเป็นแนวทางการปรับปรุงและจัดรูปแบบหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาต่อไป

没有评论:

发表评论