2011年2月21日星期一

การศึกษาปัญหาการใช้ "ลักษณนามจีนบอกปริมาณ" ในภาษาจีน ของนักศึกษาไทย

ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาปัญหาการใช้ “ลักษณนามจีนบอกปริมาณ” ในภาษาจีน
                                              ของนักศึกษาไทย
                                              กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์
                                              มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
题目:               汉语中表示体积量词的使用问题研究
                           研究对象:乌汶大学人文学院中文专业二年级
                           和三年级的学
ชื่อผู้นิพนธ์                        นางสาววาสนา    พันมงค
                                             นางสาวกฤษณา   สุภาษร
อาจารย์ที่ปรึกษา               อาจารย์ณัฐพัชร์  เตชะรุ่งไพศาล
อาจารย์เจ้าของภาษา      王薇老师



บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องการศึกษาปัญหาการใช้ “ลักษณนามจีนบอกปริมาณ” ในภาษาจีน ของนักศึกษาไทย
                 กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
                 อุบลราชธานี
คำสำคัญการศึกษาปัญหา  ลักษณนามจีน  ลักษณนามบอกปริมาณ  ลักษณะทางไวยากรณ์
การศึกษาอิสระเรื่องการศึกษาลักษณนามจีนบอกปริมาณในภาษาจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณนามจีน และศึกษาความหมาย รวมไปถึงการใช้ลักษณนามจีนบอกปริมาณในทางไวยากรณ์ด้วย นอกเหนือจากนี้แล้วยังศึกษาปัญหาการใช้ “ลักษณนามจีนบอกปริมาณ”
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถจัดหมวดหมู่ลักษณนามจีนบอกปริมาณได้ 8 หมวดหมู่ดังต่อไปนี้ ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการวัด, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการชั่ง, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการตวง, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกพื้นที่, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกปริมาตร, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกเวลา, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกคุณภาพ, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกการกระทำ ส่วนลักษณะทางไวยากรณ์ของลักษณนามจีนบอกปริมาณที่สำคัญ สามารถจำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ 1) ลักษณนามจีนบอกปริมาณหมวด วัด, ชั่ง, ตวง,พื้นที่, บอกปริมาตร และ คุณภาพ มีโครงสร้างการใช้ คือ จำนวน + ลักษณนาม + คำนาม 2) ลักษณนามจีนบอกปริมาณหมวดเวลา มีโครงสร้างการใช้ คือ จำนวน + ลักษณนาม 3) ลักษณนามจีนบอกปริมาณหมวดบอกการกระทำ มีโครงสร้างการใช้ คือ คำกริยา + จำนวน + ลักษณนาม + (คำนาม) สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการศึกษาลักษณนามจีนบอกปริมาณ ผลการศึกษาปัญหาการใช้ลักษณนามจีนบอกปริมาณ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2และ3 สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จาการทำแบบทดสอบพบว่านักศึกษามีปัญหาในการใช้ดังนี้ ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาจะมีปัญหาการใช้คำลักษณนาม ในโจทย์ที่มีลักษณะเติมคำ และจับคู่ความหมาย โดยข้อที่ผิดมากที่สุดอยู่ในหมวดลักษณนามบอกการกระทำ นักศึกษาที่ทำผิดคิดเป็นร้อยละ 62.5% เนื่องจากนักศึกษาไม่ทราบความหมายของลักษณนาม นักศึกษาที่ทำถูกมากที่สุดคือ การทำเครื่องหมายถูกหน้าประโยคที่ใช้ลักษณนามถูกต้อง และเครื่องหมายผิดหน้าประโยคที่ใช้คำลักษณนามผิด ในหมวดวัด ชั่ง และตวงโดยคิดเป็นร้อยละ 50.2% โดยถือว่านักศึกษามีความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์พอใช้
               การศึกษาลักษณนามจีนบอกปริมาณครั้งนี้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยทำให้เข้าใจและจดจำได้ง่ายแก่ผู้ที่เรียนภาษาจีนกลางที่ประสบปัญหาในเรื่องการใช้ และการจดจำคำลักษณนามจีน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนกลางได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพต่อไป



摘要

题目:汉语中表示体积量词的使用问题研究
            研究对象:乌汶大学人文学院中文专业二年级和三年级的
            学

关键词:使用问题研究  汉语量词  体积的量词  语法特点

          本论文对汉语中使用的表示体积量词的问题进行研究,研究对象:乌汶大学人文学院中文专业二年级和三年级的学生,目的是学习汉语量词的意义,学习汉语中表示体积量词的语法特点和汉语中表示体积量词的使用问题研究
      
本文的研究成果发现,表示体积的量词可分为八类:丈量土地量词、称重量词、盛满量词、面积量词、体积量词、时间量词、质量量词、动量词。汉语中表示体积量词的语法特点可分为三个方面:1)丈量土地、称重、盛满、面积、体积、质量的量词语法结构是“数词+量词+名词”; 2)时间量词语法结构是 “数词+量词”; 3)动量词语法结构是“动词+数词+量词+名词”。些是汉语中表示体积量词研究的重要因。通过调查问卷分析总结,乌汶大学人文学院中文专业二、三年级的学生在使用汉语中表示体积量词出现各种问题:大部分学生在汉语中表示体积量词的使用问题在于不明白子的,错得最多的是动量词,占了62.5%;在对错题中,学生对得最多的是丈量土地量词、称重量词和盛满量词,占了50.2%。这也说明了大部分学生都差不多明白了其用法。

          本论文是关于汉语中表示体积量词的使用问题研究归纳,希望能使汉语学习者遇到此类问题时,方便理解和记忆。也为了把知识发展成能力,正确地有效地使用汉语。



สรุปผล  ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะผลการวิจัย
研究成果,研究的障碍及提议

           ในบทที่ 5 นี้เป็นการสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการทำแบบทดสอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำวิจัยครั้งนี้ และข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจและผู้ที่ทำวิจัยใช้ในการทำวิจัยในครั้งต่อไปด้วย
             ขั้นตอนการสรุปผล ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นการทำวิจัยมาจนถึงบทที่ 4 นอกจากจะทำให้ทราบถึงผลการวิจัยของปัญหาการใช้ลักษณนามบอกปริมาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแล้ว ยังได้รับประสบการณ์และทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยครั้งนี้อีกด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประกอบการทำวิจัยในครั้งต่อไปได้

5.1 สรุปผลการศึกษา(研究成果)
                จากการศึกษาพบว่าลักษณนามภาษาจีนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ลักษณนามนับนาม(名量词)และลักษณนามนับการกระทำ (动量词)
1. ลักษณนามนับนาม แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้ ลักษณะนามเฉพาะราย (个体量词), ลักษณนามรวมหมู่(集体量词), ลักษณนามมาตราชั่งตวงวัด (度量词), ลัษณะนามจำนวนประมาณ(不定量词), ลักษณะนามยืมใช้ชั่วคราว (错用量词)
2. ลักษณนามนับการกระทำ แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้ ลักษณนามสำหรับนับการกระทำแบบเฉพาะ(专用动量词),ลักษณนามสำหรับนับการกระทำแบบยืมมาใช้ (错用动量词)
           ลักษณนามจีนบอกปริมาณเป็นลักษณนามที่ใช้บอกค่าของขนาด จำนวน ตัวเลข ความจุ ที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบความมากน้อยได้ และสามารถแบ่งได้ 8 หมวด ดังนี้ ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการวัด, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการชั่ง, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการตวง, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกพื้นที่, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกปริมาตร, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกเวลา, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกคุณภาพ, ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ใช้ในการบอกการกระทำ
           ลักษณะการใช้ทางไวยากรณ์ของลักษณนามจีน มีโครงสร้างดังต่อไปนี้  “ตัวเลข + ลักษณนาม + คำนาม” ตามหลังคำกริยา ถ้าตัวเลขเป็น 1 สามารถละ 1 ได้ และระหว่างลักษณนามกับคำนามสามารถเติมคำขยายได้ ส่วนลักษณนามพยางค์เดี่ยวสามารถซ้ำคำได้ ส่วนใหญ่หมายถึง “ทุก” และโครงสร้าง “ตัวเลข + ลักษณนาม” สามารถซ้ำคำได้ คือใช้รูป “_A_A” เช่น 时间一天一天(地)过去。 แปลว่า วันเวลาผ่านไปทีละวัน ถ้าใช้ขยายคำกริยา แปลว่า ทีละ... โดยข้างหน้าคำกริยาใช้ หรือไม่ก็ได้ และถ้ามีตัวเลข 1 สามารถใช้ในรูป “AA” และส่วนลักษณนามจีนที่เป็นคำนามแสดงเวลาในตัวของมันเองสามารถใช้เป็นลักษณนามได้โดยไม่ต้องมีลักษณนามคำอื่น
          ส่วนลักษณะการใช้ตามหลักไวยากรณ์ของลักษณนามจีนบอกปริมาณ ลักษณะการใช้ตามหลักไวยากรณ์ของหมวด วัด, ชั่ง, ตวง, คุณภาพ, บอกปริมาตร และพื้นที่ มีโครงสร้างการใช้ คือ จำนวน + ลักษณนาม + คำนาม ส่วนลักษณะการใช้ตามหลักไวยากรณ์ของหมวด “เวลา”โครงสร้าง คือ จำนวน + ลักษณนาม และที่นอกเหนือจากนี้แล้วยังมีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ต้องมีคำกริยาวางไว้ด้านหน้า คือ หมวด “บอกการกระทำ”โดยมีโครงสร้าง คือ คำกริยา + จำนวน + ลักษณนาม + (คำนาม) ถือเป็นโครงสร้างที่ยาวที่สุดของลักษณนามจีนบอกปริมาณ
จากการศึกษาปัญหาการใช้ “ลักษณนามจีนบอกปริมาณ” ในภาษาจีน ของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการแจกแบบทดสอบให้แก่นักศึกษาสาขาภาษาจีนชั้นปีที่ 2 และ3 จำนวน 65 คน แบบสอบถาม 65 ชุด จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจค่อนข้างน้อยในการใช้ลักษณนามจีนบอกปริมาณ เนื่องจากว่าเปอร์เซ็นต์การทำแบบทดสอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ3 ทำถูกทั้งหมดคิดเป็น42.5%ส่วนข้อที่ทำผิดทั้งหมดคิดเป็น 57.5%เปอร์เซ็นต์ นักศึกษาส่วนใหญ่ค่อนข้างมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ลักษณนามจีนบอกปริมาณ ซึ่งในจำนวนนักศึกษาที่ตอบผิดสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ว่าปัญหาที่เกิดจากการไม่ทราบความหมายและไม่เข้าใจประโยค เพราะนักศึกษาเร่งรีบในการทำแบบทดสอบ ไม่พยายามทำความเข้าใจ และอาจเป็นเพราะหนังสือและแหล่งข้อมูลให้ศึกษาลักษณนามจีนน้อย แต่ภาพรวมปัญหาการใช้ลักษณนามจีนบอกปริมาณของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ก็ถือว่าความเข้าใจและไม่เข้าใจในลักษณนามจีนบอกปริมาณไม่แตกต่างกันมากนัก

5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการศึกษา (研究的问题)
                5.2.1 ปัญหาในการสืบค้นข้อมูล คือ เอกสารและหนังสือยังมีน้อย ไม่เพียงพอในการสืบค้น ทั้งในห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์
                5.2.2 ข้อมูลที่ใช้ทำการวิจัยยังมีไม่เพียงพอต่อการวิจัย เนื่องจากยังไม่เคยมีใครจัดกลุ่มและจับคู่ลักษณนามจีนบอกปริมาณ จึงทำให้ผู้วิจัยต้องคิดและวิเคราะห์หาหลักการ หรือทฤษฎีต่างๆขึ้นมาเองเป็นส่วนใหญ่ โดยอ้างอิงจากหนังสือ เอกสาร ร่วมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่อย่างจำกัด และสถานที่สืบข้อมูลที่ไม่เพียงพอด้วย
5.2.3 ตัวอย่างประโยคหรือคำศัพท์ของลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ได้รวบรวมมาได้นั้น อาจมีข้อมูลบางส่วนที่ตกหล่นหรือผิดพลาดไป เนื่องจากผู้วิจัยเกิดการสับสนในข้อมูลหรือขาดการตรวจสอบที่ละเอียดถี่-ถ้วน หรือด้วยสาเหตุใดก็ตาม ที่ทำให้ข้อมูลไม่ครบครอบคลุมและไม่ถูกต้องสมบูรณ์
5.2.4 ปัญหาในการสำรวจข้อมูล คือ นักศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร มีนักศึกษาบางคนไม่อ่านแบบทดสอบและไม่พยายามใช้ความสามารถในการตอบแบบทดสอบ ลอกคำตอบจากแบบทดสอบของเพื่อน และเนื่องจากนักศึกษามีจำนวนจำกัด จึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากในการตอบแบบทดสอบ อีกทั้งนักศึกษาแต่ละคนมีวิชาเรียนไม่เหมือนกันจึงทำให้ประสบปัญหาในการแจกแบบสอบถาม
         5.2.5 ปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความยุ่งยากในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย เพราะจะต้องทำการวิจัย วิเคราะห์และสรุปข้อมูลของแต่ละคนในแต่ละข้อ และแต่ละชั้นปี จากการตอบแบบทดสอบ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยและตรวจทานความถูกต้องของจำนวนผลลัพธ์ที่ได้

5.3 ข้อเสนอแนะ (提议)
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาลักษณนามจีนบอกปริมาณ พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจที่ควรนำไปศึกษาต่อ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
5.3.1 ลักษณนามจีนบอกปริมาณที่ผู้วิจัยนำมาวิจัยในครั้งนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของลักษณนามจีนที่มี
มากมาย และเป็นหมวดหมู่ที่ยังไม่มีผู้วิจัยท่านใดวิจัยขึ้นมา ดังนั้นต้องศึกษาเพิ่มเติมด้านความแตกต่างของคำลักษณนามเพิ่มเติม และคำพ้องความหมายของคำลักษณนามจีนตัวอื่นๆ รวมถึงวิธีการใช้ของคำลักษณนามเหล่านั้นด้วย
5.3.2 เนื่องจากลักษณนามจีนมีหมวดหมู่มากมาย จึงมีอีกหลากหลายหมวดหมู่ที่ควรนำไปศึกษานอกเหนือจากลักษณนามจีนบอกปริมาณ เช่น ลักษณนามนับนาม ลักษณนามนับกริยา หรือลักษณนามหมวดบอกสิ่งของ เป็นต้น หรืออาจจะนำลักษณนามจีนมาศึกษาและจัดหมวดหมู่ใหม่ได้ เพราะจากการค้นคว้าข้อมูลของผู้วิจัย พบได้ว่าการจัดหมวดหมู่ลักษณนามจีนของหนังสือ หรือแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน มีหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไปบ้าง จึงไม่จำเป็นต้องศึกษาตามหมวดหมู่ที่มีอยู่ตามแหล่งข้อมูลนั้นอยู่แล้ว





                                                              

没有评论:

发表评论