2011年2月8日星期二

การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 力 เป็นตัวประกอบ

ชื่อสารนิพนธ์   การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร เป็นตัวประกอบ
论文题目:与“力”字有关的汉字研究

ผู้เขียน            นางสาวอรอนงค์ รักจันทร์  滥思伊                                               
                        นางสาวจินตหรา สุวรรณเทน 苏金兰
รหัสประจำตัวนักศึกษา        50147551
                                                                  50147523 
ที่อยู่                                        44 หมู่ที่ 11 บ้านหนองเหล่า ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ
                                                                จังหวัดอุบลราชธานี  34140 
                                               2 หมู่ที่ 1 บ้านหนองเหล่า ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ
                                               จังหวัดอุบลราชธานี  34140
อาจารย์ที่ปรึกษา                  อาจารย์วกุล  ธีรวงศกร
อาจารย์เจ้าของภาษา           Wang Wei
บทคัดย่อภาษาไทย 

ชื่อเรื่อง   : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ : ความหมาย ,หมวดนำ, คำศัพท์, ตัวอักษร ,ความหมายของ

                การศึกษาวิเคราะห์เรื่องตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษรจีน ศึกษาลักษณะการประกอบกันของตัวอักษรที่ได้จากการประกอบกันระหว่าง 2 ตัวอักษรเดี่ยว ศึกษาตัวอักษรจีนที่มีคำว่าเป็นตัวประกอบว่าตัวอักษรที่มาประกอบกันนั้นสามารถบอกโครงสร้างอะไรได้บ้าง ศึกษาความหมายของตัวอักษรจีนที่มีคำว่าเป็นตัวประกอบและจัดกลุ่มคำศัพท์ตามความหมายของคำศัพท์แต่ละตัวโดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยนำคำศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ เป็นตัวประกอบจำนวน 143 คำศัพท์ มาแยกประเภทและศึกษาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์ภาษาจีนที่มีเป็นตัวประกอบ
                ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้นำเอาตัวอักษรเดี่ยวสองตัวมาประกอบกันเพื่อให้เกิดตัวอักษรใหม่ขึ้น จำนวนตัวอักษรที่นำมาศึกษามีจำนวน 143 ตัวอักษร จากตัวอักษรดังกล่าวได้แบ่งกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. วิเคราะห์ตามความหมาย แบ่งเป็น
1.1 ความหมายตรง คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์
1.2 ความหมายแผลง คิดเป็น 62 เปอร์เซ็นต์
1.3 ความหมายแฝง คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์
2. วิเคราะห์ตามโครงสร้าง แบ่งเป็น
2.1โครงสร้างประกอบด้านข้าง คิดเป็น 42 เปอร์เซ็นต์
2.2 โครงสร้างประกอบด้านบน คิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์
2.3 โครงสร้างประกอบด้านล่าง คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์
2.4 โครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน คิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์
2.5 โครงสร้างที่ประกอบกับตัวอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่ง คิดเป็น 34 เปอร์เซ็นต์ 
                การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่มีเป็นตัวประกอบในครั้งนี้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษรจีน การผสมกันระหว่างอักษรเดี่ยวสองตัว ทำให้เกิดเป็นอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่เกิดขึ้น ทำให้ทราบว่าในแต่ละตำแหน่งของตัวอักษรต่างก็มีหน้าที่ต่างกัน ตัวอักษรที่มีตำแหน่งต่างกันก็จะมีหน้าที่ต่างกันไป บางตำแหน่งอาจจะบอกในเรื่องของเสียง บางตำแหน่งบอกในเรื่องความหมาย และยังมีอีกตำแหน่งที่ไม่บอกอะไรเลย แม้กระทั่งในเรื่องเสียงและความหมายพบว่าเกิดเป็นคำใหม่และมีความหมายใหม่เพิ่มขึ้นตามมา จึงเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

中文摘要 

 题目:与“力”字有关的汉字研究论文
关键词:意义、部首、生词、汉字“力”“力”的意义

本文研究的目的是收集有关的汉字演变、汉字组合的方法。汉字组合的方法是对两个单独部件进行组合。本文主要针对组合后意义、然后把每个汉字的意义进行分类。在学术资料、书籍、相关研究和因特网上收集有关的资料。研究方法是对一百四十三个与“力” 字有关的汉字判别分析意义,以便了解汉字的意义和汉字的结构。

通过对一百四十三个与“力” 字有关系的汉字判别种类分析意义,发现其可以分为两种:
() 分析汉字的意义
(一)意义相同的占8%
(二)意义不同的占62%
(三)意义有些微联系的占30%
(二)分析汉字的结构
(一)在汉字旁边的占42%
(二)在汉字上边的占4%
(三)在汉字下边的占16%
(四)在汉字内边的占20%
(五)与一部件组合后其它部件组合的占34%

研究发现:对带有“力字旁的汉字的研究, 有特别的造字法。学习者要掌握汉字的发展和造字法。在汉语造字法的方面,分别为组成后新意为与“力”意义有关;与“力”意义无关,与“力”意义有关,但意义改变三个方面。在汉语的结构方法上,“力字旁”可以做形旁、声或对汉字的声音和意产生影响。研究者希望这项研究的成果对汉语教学有所帮助能够把研究成果应用于汉语教学使交流更清楚,更有效率。

สรุปผลการวิจัย 研究成果



วัตถุประสงค์ของงานวิจัย(研究目的)
1.2.1 เพื่อศึกษาลักษณะการประกอบตัวอักษรจีน
1.2.2 เพื่อศึกษาตัวอักษรจีนที่มีคำว่าเป็นตัวประกอบ
1.2.3 เพื่อศึกษาความหมายของตัวอักษรจีนที่มีคำว่า เป็นตัวประกอบและจัดกลุ่มคำศัพท์ตาม   
         ความหมายของศัพท์แต่ละตัว
1.2.4 เพื่อนำผลงานวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษรเป็นตัวประกอบ การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและโครงสร้างประกอบของตัวอักษรเพื่อที่จะนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางการเรียนการสอนภาษาจีน เมื่อผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของตัวอักษร การผสมกันระหว่างตัวอักษรเดี่ยวสองตัว ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่ ในแต่ล่ะตำแหน่งของตัวอักษรต่างมีหน้าที่ต่างกันตัวอักษรที่มีตำแหน่งต่างกันก็จะมีหน้าที่ต่างกันไป บางตำแหน่งอาจจะบอกในเรื่องของเสียง บางตำแหน่งอาจบอกในเรื่องของความหมาย และก็ยังมีบางตำแหน่งที่ไม่บอกอะไรเลย แม้กระทั้งในเรื่องของเสียงและความหมายได้เกิดเป็นคำใหม่และมีความหมายใหม่ตามมา จากการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการสรุปผลการศึกษา บอกถึงปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
5.1 ผลการศึกษา (研究成果)
                5.1.1 การศึกษาวิเคราะห์โดยการใช้วิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มความหมายของตัวอักษร(分析汉字的意义) พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์ความหมายที่เกิดขึ้นมีความเหมือนและใกล้เคียงกันและมีความหมายที่แตกต่างกันออกไปในบางกลุ่ม เมื่อพิจารณาตามกลุ่มของความหมายมีเพียงกลุ่มข้อมูลส่วนน้อยที่มีความหมายต่างกันออกไป
5.1.1.1 ความหมายเหมือน(意义相同) (จำนวนข้อมูล 12 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนและใกล้เคียงมากที่สุดในจำนวนร้อยละ8 (8.39%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัวอักษร)
(1)  ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าแรงหรือแรงงาน(有关“力量”或者劳动的意思 (จำนวนข้อมูล 6 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่คล้ายและใกล้เคียงในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50 (50%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายเหมือน
(2)  ตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่ากำลัง, พลัง, ความสามารถ(有关“能力”的意思词) (จำนวนข้อมูล 6 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่คล้ายและใกล้เคียงในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50 (50%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายเหมือน

จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาวิเคราะห์ประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายเหมือน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายเหมือน พบว่าตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่าแรงหรือแรงงานกับตัวอักษรจีนที่มีความหมายว่ากำลัง พลัง ความสามารถ มีจำนวนความหมายเหมือนในระดับเท่ากัน
5.1.1.2 ความหมายแผลง (意义不同) (จำนวนข้อมูล 89 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจำนวนร้อยละ62 (62.24%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัวอักษร)
                                (1)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับน้ำ(有关“水”的意思词) (จำนวนข้อมูล 11 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ12 (12.35%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                                (2) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิง(有关“女性”的意思词) (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 5 (5.61%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(3) ตัวอักษร ที่มีความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดี (有关“不好”意思词)(จำนวนข้อมูล 7 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 7 (7.86%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(4) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับหิน(有关“石头”的意思词) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 2 (2.24%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                (5) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับจิตใจ (有关“心灵”的意思词)(จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 2 (2.24%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(6) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเครื่องดนตรี(有关“乐器”的意思词) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 2 (2.24%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                (7) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพต่างๆ(有关“地理”的意思词) (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 5 (5.61%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                (8) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับพืช(有关“植物”的意思词) (จำนวนข้อมูล 8 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 8 (8.98%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(9) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับร่างกาย(有关“身体”的意思词) (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 5 (5.61%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                (10) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเสียงหรือคำพูด(有关“声音和话”的意思词) (จำนวนข้อมูล 8 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 8 (8.98%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(11) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับลักษณะของนิสัยใจคอ (有关“习惯”的意思词)(จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4 (4.49%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                                                (12) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการซื้อขาย(有关“买卖”的意思词)
 (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 2 (2.24%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
                (13) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับชื่อคนจีน (有关“中国人的名字”意思词) (จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4 (4.49%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง
(14) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายหลากหลาย(有关“多重”的意义词) (จำนวนข้อมูล 24 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 26 (26.96%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแผลง

จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแผลง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแผลง พบว่ากลุ่มตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับน้ำมีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับหิน ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับเครื่องดนตรี ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการซื้อขายมีจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาความหมายแผลง

5.1.1.3 ความหมายแฝง(意义有些微联系) (จำนวนข้อมูล 42 ตัว) เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่มีการบอกความหมายที่เป็นนัยไม่แสดงความหมายที่แท้จริงออกมา จำนวนร้อยละ29 (29.37%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัวอักษร)
 (1)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับคุณงามความดี(有关功绩的意思词) (จำนวนข้อมูล 6 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อย 14 (14.28%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
 (2)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการจับกุม การลักพาตัว(有关逮捕与绑架的意思词) (จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 9 (9.52%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
                 (3)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการทำงานหรือการกระทำ(有关“工作组行”的意义词) (จำนวนข้อมูล 6 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 14 (14.28%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
(4) ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการดำเนินการ(有关执行的意思词)(จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 9 (9.52%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
 (5)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการออกแรง(有关“出力”的意思词) (จำนวนข้อมูล 8 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 19 (19.04%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
 (6)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการให้กำลังใจ(有关“意志力”的意思词)(จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 7 (7.14%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
 (7)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือ (จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 9 (9.52%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
                 (8)  ตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับความกล้าหาญเข้มแข็ง(有关“帮助与合作”的意思词) (จำนวนข้อมูล 4 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 9 (9.52%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง
                (9) ตัวอักษรจีนที่มีความหมายหลากหลาย(有关“勇敢与强大”的意思词) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วมีความหมายที่เป็นนัย คิดเป็นร้อยละ 7 (7.14%) ของกลุ่มข้อมูลความหมายแฝง

จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มความหมายของตัวอักษรที่เป็นความหมายแฝง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มความหมายแฝง พบว่ากลุ่มตัวอักษรจีนที่มีความหมายเกี่ยวกับการออกแรง มีจำนวนมากที่สุด และกลุ่มตัวอักษรที่มีความหมายเกี่ยวกับการให้กำลังใจ มีจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาความหมายแฝง

                 สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามความหมายของตัวอักษร研究成果分析汉字的意义)ในการศึกษาข้อมูลตัวอักษรที่มีความหมายว่า1 แรงที่สามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวหรือหยุด 2 กำลัง; พลัง; ความสามารถ 3 พยายาม; มุ่งมานะ กับตัวอักษรเดี่ยวอีกตัวที่นำมาผสมกันที่มีความหมายต่างกัน เมื่อนำอักษรเดี่ยวทั้ง 2 ตัว มาประกอบกันความหมายที่ได้จึงมีความสัมพันธ์กันกับตัวอักษรค่อนข้างน้อย ความหมายที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นความหมายที่ไม่มีความสัมพันธ์กันกับตัวอักษรเป็นส่วนมาก เนื่องจากการผสมกันระหว่างตัวอักษรเดี่ยวสองตัว ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้น

                5.1.2 การศึกษาวิเคราะห์โดยใช้การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยจัดแบ่งข้อมูลตาม                 โครงสร้างของตัวอักษร(分析汉字结构)พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 โครงสร้าง คือ โครงสร้างบอกตำแหน่งและโครงสร้างบอกเสียง
5.1.2.1 โครงสร้างประกอบด้านข้าง(在汉字旁边) (จำนวนข้อมูล 61 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านข้างมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ42 (42.65%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัว)
() บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 29 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ47 (47.54%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านข้าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบด้านข้างที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านข้าง
() ไม่มีความหมาย(没有意义) (จำนวนข้อมูล 31 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 50 (50.81%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านข้างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านข้าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านข้าง

5.1.2.2 โครงสร้างประกอบด้าน(在汉字上边) (จำนวนข้อมูล 6 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านบนมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ 4 (4.19%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัว)
() บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 2 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ33 (33.33%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านบนที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านบน พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบด้านบนที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านบน
() ไม่มีความหมาย(没有意义) (จำนวนข้อมูล 3 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 50 (50%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านบนที่ไม่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านบน พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านบน

5.1.2.3 โครงสร้างประกอบด้านล่าง(在汉字下边) (จำนวนข้อมูล 24 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้านล่างมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ16 (16.78%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัว)
() บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 10 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 41 (41.66%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่างที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านล่าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบด้านล่างที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง
() ไม่มีความหมาย(没有意义) (จำนวนข้อมูล 16 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น 66 (66.66%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบด้านล่างที่ไม่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบด้านล่าง พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบด้านล่าง

5.1.2.4 โครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน(在汉字内边) (จำนวนข้อมูล 30 ตัว) เป็นโครงสร้างที่วางอยู่ด้านในของตัวประกอบมีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และยังไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ20 (20.97%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัว)
() บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 5 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 16 (16.66%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านในที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านในที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน
() ไม่มีความหมาย(没有意义) (จำนวนข้อมูล 24 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 80 (80%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านในที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน พบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน

5.1.2.5 โครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่ง(与一部件组合后在与其,它部件组合) (จำนวนข้อมูล 50 ตัว) เป็นโครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่ง มีหน้าที่ในการใช้บอกความหมาย และไม่บอกความหมายให้กับตัวอักษรที่ประกอบ จำนวนร้อยละ34 (34.96%) ของกลุ่มข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด (จำนวนข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 143 ตัว)
() บอกความหมาย (有意义) (จำนวนข้อมูล 13 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร หรือไม่ก็บอกความหมายคร่าวๆเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 26 (26%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งที่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่บอกความหมายน้อยลงมารองจากโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งที่ไม่มีความหมาย เมื่อเทียบกันภายในกลุ่มโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่ง
() ไม่มีความหมาย(没有意义) (จำนวนข้อมูล 49 ตัว) ในภาพรวมแล้วความหมายที่ได้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวอักษร มีไว้ทำให้รูปแบบของตัวอักษรมีความแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 98 (98%) ของกลุ่มข้อมูลโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งที่ไม่บอกความหมาย เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์อยู่ในระดับที่มีจำนวนที่ไม่บอกความหมายมากที่สุด เมื่อเทียบกันกับโครงสร้างประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่งแล้วบอกความหมาย

สรุปผลจากการจัดแบ่งข้อมูลตามโครงสร้างของตัวอักษร研究成果分析汉字的结构) ตามโครงสร้างของตัวอักษรจีนแบ่งโครงสร้างออกเป็น 5 โครงสร้าง คือ โครงสร้างประกอบด้านข้าง โครงสร้างประกอบด้านบน โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน และโครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอี กตัวอักษรหนึ่ง ทั้งห้าแบบนี้ต่างก็บอกในเรื่องของความหมายและไม่มีความหมาย จะเห็นว่ามีการใช้โครงสร้างประกอบด้านข้างมากกว่าโครงสร้างประกอบในด้านอื่นๆที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่งซึ่งดูจากปริมาณของตัวอักษรแล้วสามมารถสรุปได้ว่าโครงสร้างประกอบด้านหน้านิยมใช้มากกว่าโครงสร้างที่ประกอบด้านอื่นๆที่อยู่ในรูปแบบโครงสร้างบอกตำแหน่ง
แผนภูมิการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลของตัวอักษรจากวิธีการจัดแบ่งของข้อมูลข้างต้น
แสดงวิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มความหมายของตัวอักษร

แผนภูมิที่ 1 การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลตามกลุ่มวามหมายของตัวอักษร
แสดงวิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มโครงสร้างของตัวอักษร
การจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มโครงสร้างของตัวอักษร มี 5 โครงสร้าง คือ โครงสร้างประกอบด้านข้าง โครงสร้างประกอบด้านบน โครงสร้างประกอบด้านล่าง โครงสร้างประกอบที่อยู่ด้านใน โครงสร้างที่ประกอบกับอักษรอื่นมาก่อนแล้วไปประกอบกับอีกตัวอักษรหนึ่
แสดงวิธีการจัดแบ่งประเภทของข้อมูลโดยการแบ่งกลุ่มโครงสร้าง

แผนภูมิที่ 3 โครงสร้างบอกตำแหน่ง
5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย(研究中的问题)
 (1.) พจนานุกรมกรมที่ต้องการมีจำนวนน้อย ทำให้การค้นหาคำศัพท์ในพจนานุกรมเป็นไปได้ลำบาก
 (2.) เอกสารประกอบการวิจัยมีน้อยเนื่องจากการศึกษาตัวอักษรจีนที่มีเป็นส่วนประกอบยังไม่ค่อย ได้รับความสนใจมากนัก ทำให้ข้อมูลในเรื่องนี้มีน้อย และทำให้ยากในการหาข้อมูลประกอบ
 (3.) ความหมายของคำศัพท์ไม่มีในพจนานุกรม เนื่องจากเป็นคำศัพท์ที่สร้างใหม่ ทำให้พจนานุกรมที่พิมพ์ก่อนหน้า ไม่มีความหมายของคำศัพท์
                (4.) เวลาในการทำวิจัยน้อย ทำให้ขั้นตอนการข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะต้องแข่งกับเวลา


5.3 ข้อเสนอแนะ(研究建议)
              จากการทำวิจัยในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาตัวอักษรจีนที่มี เป็นส่วนประกอบ ได้พบข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาในครั้งต่อไป ควรศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเพิ่มเติม เนื่องจากตัวอักษรจีนมีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างมากและควรจะเพิ่มชนิดคำของตัวอักษรจีนตัวนั้นๆว่ามีหน้าที่อะไร และควรมีการศึกษาในเรื่องของปัญหาการใช้ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวเป็นตัวประกอบ เพราะผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะความหมายและโครงสร้างของคำศัพท์เท่านั้น


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ(预期成果)
1.3.1 มีความเข้าใจการประกอบกันของตัวอักษรจีน
1.3.2 มีความเข้าใจตัวอักษรจีนที่มีคำว่าเป็นตัวประกอบ
1.3.3 มีความเข้าใจในความหมายของตัวอักษรจีนที่มีคำว่าเป็นตัวประกอบและการจัดกลุ่มคำศัพท์
         ตามความหมายของคำศัพท์ในแต่ละตัว
1.3.4 สามารถนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนภาษาจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
         ยิ่งขึ้น

ระเบียบวิธีวิจัย(研究方法)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีการกำหนดวิธีวิจัยดังนี้
                   1. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล 
                                - หนังสือคำศัพท์จีน-ไทย     โดยการรวบรวมข้อมูลหรือความหมายของตัวอักษรจีน
                                                                              ที่ใช้เป็นตัวประกอบ
                                   - พจนานุกรมจีน-ไทย          โดยการรวบรวมคำศัพท์หรือความหมายของตัวอักษรจีน
                                                                              ที่ใช้เป็นตัวประกอบ
                                 -วิทยานิพนธ์และงานวิจัย     โดยนำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับหมวดนำอักษรจีน
                                                                               มาศึกษาและสรุปว่ามีแนวคิดอย่างไร
       - สื่ออินเตอร์เน็ต                   โดยการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ที่เกี่ยวกับหมวดนำ      
                                                     ตัวอักษรภาษาจีน
  2 การคัดเลือกข้อมูล
                -โดยการคัดเลือกเฉพาะคำศัพท์ที่มีคำว่าเป็นตัวประกอบ จากพจนานุกรมเพื่อนำมาศึกษาความหมายของคำศัพท์
                   3 การวิเคราะห์ข้อมูล
                 -นำตัวอักษรจีนที่คำว่าเป็นตัวประกอบมาแยกเป็นกลุ่มๆโดยการใช้ความหมายของตัวที่ศึกษามาเป็นตัวกำหนดในการวิเคราะห์หาความแตกต่างทั้งทางด้านความหมายและทางด้านโครงสร้างของตัวอักษร



没有评论:

发表评论