ชื่อผู้เขียน : นายวีระชาติ ดวงมาลา ( 张忠义)
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล
อาจารย์เจ้าของภาษา : 资嫔老师
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร 竹 เป็นตัวประกอบ
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน : “竹” 作为部件的汉字研究
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ : The studies about the characters of Chinese letter “ 竹 ” .
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “ 竹 ” เป็นตัวประกอบ
คำสำคัญ : ตัวอักษร 竹, หมวดนำ, คำศัพท์, ความหมาย 竹, โครงสร้างอักษร 竹
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “ 竹 ” เป็นตัวประกอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับวิวัฒนาการตัวอักษรจีน ศึกษาความหมายของตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “ 竹 ” เป็นตัวประกอบและจัดกลุ่มความหมายของคำศัพท์ ศึกษาลักษณะโครงสร้างการประกอบกันของตัวอักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “ 竹 ” เป็นตัวประกอบและจัดแบ่งเป็นกลุ่มออกตามลักษณะโครงสร้างโดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำคำศัพท์จากตัวอักษร “ 竹 ” จำนวนตัวอักษรทั้งหมด 181 ตัวอักษร จากพจนานุกรมจีน – ไทย ฉบับใหม่ (ฉบับพิมพ์หนังสือตัวย่อ) โดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ มาจัดแบ่งข้อมูลออกตามประเภทของความหมายและโครงสร้างของตัวอักษรของคำศัพท์อักษรจีนที่ใช้ตัวอักษร “ 竹 ” เป็นตัวประกอบ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้นำเอาตัวอักษรเดี่ยวสองตัวมาประกอบกันเพื่อให้เกิดตัวอักษรใหม่ขึ้น ซึ่งตัวอักษรใหม่ที่เกิดขึ้นจากการผสมกันของตัวอักษรจีน จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป จำนวนตัวอักษรที่นำมาศึกษาทั้งหมด 181 ตัวอักษร อักษรทั้งหมดสามารถนำมาจัดแบ่งตามประเภทข้อมูลออกเป็น 3 ประเภท ผลการวิจัยเป็นดังนี้
1. ความหมายตรง คิดเป็นร้อยละ 24.30%
2. ความหมายแผลง คิดเป็นร้อยละ 75.69 %
3. ความหมายแฝง คิดเป็นร้อยละ 0.55 %
การศึกษาวิเคราะห์ตัวอักษร “ 竹 ” ในครั้งนี้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการตัวอักษรจีนความเป็นมาของตัวอักษรจีน การผสมกันระหว่างตัวอักษรเดี่ยวสองตัวจนทำให้เกิดอักษรใหม่เพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งนี้ทำให้เราทราบว่าตำแหน่งตัวอักษรจีนเมื่อมีตำแหน่งที่ต่างกันก็จะทำให้มีหน้าที่ที่ต่างแตกกันออกไปเช่นกัน บางตำแหน่งอาจบอกในเรื่องของความหมาย บางตำแหน่งอาจบอกในเรื่องของเสียง และบางตำแหน่งอาจไม่บอกทั้งด้านเสียงและความหมายด้วยเช่นกัน การศึกษาตัวอักษรจีนนี้ทำให้เราสามารถเดาคำศัพท์ที่ยังไม่เคยได้เรียนมาก่อนได้ จากการสังเกตตัวอักษรหมวดนำของคำศัพท์ จึงเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
摘要
题目 : “ 竹 ” 作为部件的汉字研究
关键词 : 汉字、部首、生词、“ 竹 ”的意义、“ 竹 ” 作为部件的汉字结构
本文研究的目的是对于 以 “竹” 作为部件的汉字进行研究,研究汉字的演变进程,以及与 “ 竹” 字有关的汉字意义, 把每个汉字的意义进行分类。在柜关的学术资料、书籍、相关研究和因特网上收集有关的资料,本研究使用的汉字资料来自杨汉川编译的《现代汉泰词典》(简体字版)共收集 “ 竹 ”作为部件的一百八十一个汉字,以此为依据对 “ 竹 ”作为部件的汉字判别种类,分析 “竹”的意义。
在收集的 “ 竹” 作为部件的一百八十一个汉字中,分析其意义是否和“竹”有关,研究汉字两个单字一起组合产生的新汉字。研究发现“竹” 作为部件的汉字分类后期意义和结构分别可以分为三类:
一。和“竹”意义相同的占 24.30%
二。和“竹”意义不同的占 75.69 %
三。和“竹”意义有些微联系的占 0.55 %
研究发现 :对以 “竹作为部件” 的汉字研究, 有特别的造字法,两个单字一起组合产生新汉字,学习者要掌握汉字的发展和汉字的造字法。这本研究使研究者了解到, 在汉字的结构方法上“ 竹” 还可以做形旁,声旁或对汉字的声音和意义产生影响。研究者希望通过研究汉字的结构学生可以简单地猜汉字的意义,还可以作为发展教学的参考和资料。
没有评论:
发表评论