2011年2月8日星期二

การศึกษาข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü ของนักเรียนมัธยมปลาย กรณีศึกษา : นักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้เขียน : นางสาวสกุลรัช  วรรณฤทธิ์  รหัสประจำตัวนักศึกษา   48143761  
                 นางสาวรตินันท์  ระหงษ์      รหัสประจำตัวนักศึกษา   50147535
อาจารย์ที่ปรึกษา  :  อาจารย์ณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล
อาจารย์เจ้าของภาษา   :  王薇师 (Mrs.Wang Wei   )
บทคัดย่อภาษาไทย
ชื่อเรื่อง    :  การศึกษาข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü ของนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ   :   การออกเสียง   ข้อผิดพลาด    ภาษาจีน   ระบบเสียง    วิธีการออกเสียง
               
เนื่องจากการออกเสียงมีความสำคัญมาก  เพราะการออกเสียงที่ถูกต้องและชัดเจนจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายที่เราต้องการจะสื่อสาร  หากออกเสียงผิดก็จะทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปด้วย  และการออกเสียงสระภาษาจีนเมื่อเปรียบเทียบเสียงในภาษาไทยแล้วไม่มีในภาษาไทย   คือสระ   ü    üe   üan  ün  ซึ่งเป็นสระที่ทำให้นักศึกษาไทยส่วนใหญ่ออกเสียงแล้วออกผิดบ่อยๆ  ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการศึกษาข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü   ของนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 156 คน  ด้วยการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการออกเสียงสระ ü   และสระอื่นๆ ที่มีสระ ü  ประกอบ  ทั้งหมด 20 คำ
ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกิดข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü  ดังนี้
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü     อ่านผิดร้อยละ  59  และอ่านถูกร้อยละ 41  
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ üe   อ่านผิดร้อยละ  57  และอ่านถูกร้อยละ 43 
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ üan อ่านผิดร้อยละ  52  และอ่านถูกร้อยละ 48 
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ün   อ่านผิดร้อยละ  51  และอ่านถูกร้อยละ 49 
สาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü  พบว่า
1. เกิดจากการลืมกฎในการลดรูปของสระ ü  มีทั้งสิ้นร้อยละ  38 
2. เลิกห่อปากก่อนเปล่งเสียงเสร็จมีทั้งสิ้นร้อยละ  26   
3. ไม่คุ้นกับคำศัพท์และความหมายมีทั้งสิ้นร้อยละ  19 
4. ใช้วิธีการเทียบเสียงสระในภาษาแม่มีทั้งสิ้นร้อยละ  17
ดังนั้นครูผู้สอนควรให้ความสำคัญและเน้นเรื่องการออกเสียงให้ผู้เรียนมากกว่านี้  ผู้เรียนควรฝึกออกเสียงให้บ่อยๆ เพื่อผู้เรียนจะได้จดจำหลักการลดรูปของสระ ü   และออกเสียงได้อย่างถูกต้องและชัดเจน  อีกทั้งต้องเพิ่มความมั่นใจในการออกเสียงภาษาจีนให้แก่ผู้เรียนเพื่อการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


中文摘要

题目          :   汉语语音中韵母    ü    偏误研究        
                          研究对象 : 乌汶府本扎玛妈哈菜学校 和那丽努功学校高中中文专业学生

关键词      :  汉语拼音  错误  韵母  汉语  声音体系  汉语拼音方法
               
外语学习中发音是最重要的,因为发音是否正确清晰会使交流有不同的结果。如果语音失真就会使意思改变。汉语语音中韵母与泰语韵母比较,泰语韵母里没有的是 韵母   ü   üe   üan  ün 此类韵母使大部分泰国学生常常出现语音错误。所以本文的题目是对汉语语音中韵母    ü   偏误进行研究,是针对乌汶府本扎玛妈哈菜学校和那丽努功学校高中中文专业学生一百五十六个学生的问卷调查进行的
                  本文调查研究后分析发现使用汉语拼音中韵母    ü  用法有错误的占59 %,正确的占   41 % ;
                               üe   错误的占57 %,正确的占 43 %  ;
                               üan  错误的占52 %,正确的占 48 %  ;
                               ün    错误的占51 %,正确的占 49 %  ;
常用的汉语拼音中韵母    ü    错误的原因是
1 .在与j, q, x   拼读时忘记  ü  的本身形式的占38 % ;
2. 发音口型错误占26 %   ;
3. 不熟悉词和意思造成误读的占19 %   ;
4. 汉语和母语对比方法时产生偏误的占17%  ;
                所以为了使学生记住汉语拼音,教学中应该注重汉语拼音教学方法。为了让学生记住韵母  ü  本身形式和变化,以及正确清晰的发音,学生应该常常进行发音练习。这样可以不断增加学生的自信,从而就使汉语学习更有效率。


สรุปผลการวิจัย 研究成果
                การศึกษาเรื่อง  ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü     ของนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน  156 คนนี้  เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ  ü     ของนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน  156 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบว่าเสียงสระ ü  เสียงนี้ได้เป็นข้อผิดพลาดในการออกเสียงของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างหรือไม่  เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้เน้นถึงข้อบกพร่องนั้น ๆ และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับในการเรียนการสอนภาษาจีนในคณะศิลป-ศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  และในระดับประเทศไทยให้สูงขึ้นด้วย  จากการสำรวจสามารถสรุปผลได้ดังนี้  1.  ข้อผิดพลาดในการออกเสียงออกเสียงสระ ü       2.  สาเหตุของข้อผิดพลาด
 ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü     จากการศึกษาข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü     นักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน  156 คน  ทำให้พบว่ากลุ่มตัวอย่างหรือนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน  156 คนนั้น    มีดังนี้
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü     อ่านผิดร้อยละ  59  และอ่านถูกร้อยละ 41  
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ üe   อ่านผิดร้อยละ  57  และอ่านถูกร้อยละ 43 
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ üan อ่านผิดร้อยละ  52  และอ่านถูกร้อยละ 48 
ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ün   อ่านผิดร้อยละ  51  และอ่านถูกร้อยละ 49 
สาเหตุของข้อผิดพลาด  นอกจากการศึกษาถึงข้อผิดพลาดในการออกเสียงแล้วยังบอกถึงสาเหตุของข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü  ของนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน  156 คนนั้นว่า  สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้  คือ
1. การลืมกฎในการลดรูปของสระ  ü    โดยที่สระ ü  เมื่อผสมกับ  j  q   x   จะต้องตัดจุดสองจุดด้านบนออก  เป็นสระ   มีทั้งสิ้นร้อยละ  38  
2. เกิดจากเลิกห่อปากก่อนออกเปล่งเสียงเสร็จ  มีทั้งสิ้นร้อยละ  26   
3. กลุ่มตัวอย่างไม่คุ้นกับคำศัพท์และความหมายมีทั้งสิ้นร้อยละ  19 
4. ใช้วิธีการอาศัยการเทียบเสียงสระให้ใกล้เคียงเสียงในภาษาแม่มีทั้งสิ้นร้อยละ  17   
ดังนั้นผู้สอนควรให้ความสำคัญและเน้นเรื่องการออกเสียงสระ ü  ให้แก่ผู้เรียนมากกว่านี้  ผู้เรียนควรพยายามฝึกพูดออกเสียงสระ ü ให้บ่อยๆ และออกเสียงได้อย่างถูกต้องและชัดเจน  เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจและความเคยชินในการออกเสียงสระ ü    
               การศึกษาครั้งนี้นอกจากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การเรียนการสอนภาษาจีนในคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว  ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการออกเสียงสระ ü  ในภาษาจีน ยังสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีนของผู้ที่สนใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

   ผู้ที่ากยิ่งขึ้นแล้ว  ผู้ที่สนใจเสียงสระารออกเสียงสระ อนภาษาจีนในคณะศิลปศาสตร์ 5.2.   ปัญหาอุปสรรค   研究的问题和阻碍
               1.  ปัญหาการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย  คือ  หนังสือหรือข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการออกเสียงสระ ü  ค่อนข้างน้อย  เนื้อหาส่วนมากกล่าวถึงคร่าวๆ และบอกวิธีการออกเสียงสระแต่ ละเสียงสระน้อย
                2.  ปัญหาแหล่งข้อมูลภายในจังหวัดอุบลราชธานีมีน้อย  และระยะทางไกล  ยากต่อการไปศึกษาค้นคว้า
3.  ในการสำรวจผู้วิจัยนั่งฟังจนบางครั้งรู้สึกไม่แน่ใจ  เพราะฟังมาก  และให้กลุ่มตัวอย่างอ่านอีกรอบ
4.  กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าไรนัก

5.3.   ข้อเสนอแนะ   研究的建议
                จากผลการวิจัยเรื่อง   เรื่อง   ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü ของนักเรียนมัธยมปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน  156 คน  ทำให้เราทราบถึงเรื่อง  ข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ ü     ของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเพียงกลุ่มเดียว    ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องข้อผิดพลาดในการออกเสียงสระ  ü      ควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากกว่านี้    เพื่อให้งานมีความครอบคลุมทุกกลุ่มที่เรียนภาษาจีน    อีกทั้งในด้านข้อมูลหนังสือเอกสารต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องมีไม่มากทำให้ผู้ที่สนใจต้องค้นคว้าจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แต่ในด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็มีข้อมูลเฉพาะด้านมีไม่มากเท่าที่ควร ส่วนมากจะมุ่งเน้นไปด้านคำศัพท์และระบบเสียงทั่วไป  แต่ไม่มีเฉพาะเจาะจงเฉพาะด้าน 

没有评论:

发表评论