2012年3月11日星期日

การศึกษาวิเคราะห์สุภาษิตจีนที่มีตัว 牛

ผู้จัดทำ   นางสาวสุชาดา  กุลบุตร
อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์  วกุล   นิมิตโสภณ



บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง    : การศึกษาวิเคราะห์สุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛”
คำสำคัญ  : สุภาษิต สุภาษิตจีนที่มีคำว่า牛” นิยาม ความหมาย โครงสร้าง
                การศึกษาเรื่อง  การศึกษาสุภาษิตจีนที่มีคำว่า牛” มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของสุภาษิตจีน ศึกษาความหมายของสุภาษิตจีน แนวคิด ทฤษฎี นิยาม  ที่มาของสุภาษิต และโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีน รวมทั้งศึกษาความเชื่อ หลักคำสอนและสิ่งแวดล้อมที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า牛” ตลอดจนนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาวิจัยดังนี้ 1.มุ่งเน้นศึกษาเฉพาะที่มีคำว่า 牛” เท่านั้น  2.ศึกษาสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛”โดยไม่จำหัดจำนวนพยางค์จากการสุ่มคัดเลือก  จำนวน 150  สุภาษิต  ผู้วิจัยได้สืบค้นข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมสุภาษิตจีนสื่อสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวนพยางค์
                จากการศึกษาวิจัยสรุปผลได้ว่า  สุภาษิตจีน  เป็นถ้อยคำหรือข้อความสั้นๆ  กระชับได้ใจความ  จดจำเข้าใจได้ง่ายและแฝงความหมายแง่คิดสอนใจ  เป็นโวหารที่แสดงออกทางความคิดมีเนื้อหาหรือความหมายที่ดี  และไม่ดี   เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดี  สะท้อนให้เห็นแนวคิด  ความเชื่อ  สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม  และเป็นการสืบต่อวัฒนธรรมทางภาษาของชาติเอาไว้ไม่ให้สูญหาย  สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนรุ่นหลังที่มีบรรพชนได้สร้างสรรค์ถ้อยคำที่มีคุณค่าไว้ให้แก่เราได้ศึกษา  จากการสุ่มคัดเลือกสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” จำนวน สุภาษิต 150 สุภาษิต โดยไม่กำหนดจำนวนพยางค์นั้น พบว่าสามารถสรุปผลการวิจัยได้ 4 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
                                (1.) สรุปผลการวิจัยตามการแบ่งหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้ คือ แบ่งตามควาหมายของสุภาษิต แบ่งย่อยตามความหมายได้ 3 ประเภทคือ ความหมายในแง่บวกจำนวน23%ความหมายที่เป็นกลางจำนวน 48% ความหมายในแง่ลบ 29% จำนวนและแบ่งตามประเภทของสุภาษิตแบ่งย่อยตามความหมายได้ สองประเภท คือ การสั่งสอนตักเตือนชี้แนะจำนวน 76% และข้อห้ามจำนวน24%
                        (2.) สรุปผลการวิจัยตามตำแหน่งการจัดวาง牛”ในสุภาษิตจีนลักษณะรูปแบบของตำแหน่งการจัดวาง牛” ในสุภาษิตจีน แบ่งได้ 3 ลักษณะคือสุภาษิตจีนที่มีการใช้ 牛” 1ตัวพบว่าปรากฏอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า牛”มากที่สุด จำนวน 91% สุภาษิตจีนที่มีการใช้ 牛” สองตัวจำนวน8% และสุภาษิตจีนที่มีการใช้牛” สามตัวปรากฏอยู่ในสุภาษิตจีนน้อยที่สุดจำนวน1%               
                                (3.) สรุปผลการวิจัยตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ส่วน คือแบบหนึ่งวรรค มีจำนวน79% พบมากในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛”   แบบสองวรรคจำนวน19%  พบรองลงมา  และสุดท้ายคือแบบหลายวรรคจำนวน2% พบน้อยที่สุดในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛”
                                (4.) สรุปผลการวิจัยตามภาพสะท้อนที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” ตามแบบฉบับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวจีนที่มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความผสมผสานกลมกลืนกัน ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทางชนชาติ ภาษา ทำให้เราเข้าใจถึงความเหมือนและความแตกต่างของชาวจีน พร้อมกันยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างนั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนที่มีต่อสิ่งต่างๆรอบตัว วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนทัศคติความเชื่อ และค่านิยมของชนชาติจีน
                           จากการศึกษาวิเคราะห์สุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้สุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” ยังสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม ความใกล้ชิดเกี่ยวพันถึงวิถีชีวิตผู้คนกับสัตว์  การศึกษาให้เข้าใจถึงลักษณะทั่วไปของสุภาษิตจีน ความหมายและลักษณะทางไวยากรณ์ เข้าใจถึงความเชื่อ  ค่านิยม  สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า 牛” เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้  มีส่วนช่วยให้ผู้ที่สนใจหันมาศึกษาเรียนรู้ สุภาษิตจีนเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการอนุรักษ์มรดกทางภาษาที่มีความสำคัญต่อคนทุกชนชาติ


摘要

题目            :  与“牛”字有关的汉语谚语研究
关键词      :  谚语“牛”字有关的汉语谚语    定义  意义   结构
                    本研究的目的是研究汉语谚语的普通性,意义,内涵,汉语谚语创作的结果和结果语法,进而研究体现的中国人在行为,流行价值,环境,文化,以及将帮助汉语学习者提高学习效率。研究的范围界定如下:一,研究仅与“牛”字有关的汉语谚语。二,研究与“牛”字有关的汉语谚语荫街,不限字数,从中选择150条谚语。研究方法是从论文,书籍,文章,以网络收集资料进行研究。
      研究结果发现,汉语谚语是语言形式简单明白了意义和道德规范。教导和指示人们,反映思想观点和人们的社会生话。汉语谚语继承文化和民族的语言,是祖先创造型赠给后人的宝贵语言。选择150条言语不限字数,根据研究结果可分为四种
            (一)研究按类别分,可以分为两种:一,言语的含义分为:褒义的占23%,中型的意义占48%,贬义的占29%。言语的作用分为:教义指示占76%,禁忌占24%
            (二)研究按与“牛”字有关的汉语谚语为止,可以分为三种:一,在谚语中使一个“牛”字,出现于“牛”字有关的汉语谚语的位置最上的多占91%,二,在谚语中使用两个“牛”字的占8%,三,在谚语中使用三个“牛”字出现最少的占1%
            (三)研究按与“牛”字有关的汉语谚语的语法结构,可以分为三种:一,单段式,出现最多的占79%,二,双段式的占19%,三,多段式,出现最少的占2%
            (四)研究发现与“牛”字有关的汉语谚语中体现了中国人相关的文化和生话方式,以及几千年前对自然的认识。混合了各种各样的文化,例如:民族,言语,风俗习惯,从而进一步了解中国人的文化差异,以及文化差异存在的原因,这次原因体现了中国人的思想观念风俗习惯和流行价值的追求。
            通过这个研究,是人们更加深入了解到与“牛”字有关的汉语谚语。除此之外,与“牛”字有关的汉语谚语的意义和内涵也使我们进一步了解中国文化的中国人的思想观念,风俗习惯和流行价值得追求。研究也将帮助汉语学习效率,也是人们认识言语的重要性转送给后人。

                                                                                         บทที่ 5(第五章)
สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ(研究的成果)

                การศึกษาวิเคราะห์ความหมายสุภาษิตที่มีคำว่า“牛”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป นิยาม   แนวคิด ทฤษฎี ที่มาของสุภาษิต ความหมายของสุภาษิตและลักษณะทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีนที่มีคำว่า ศึกษาความเชื่อ ค่านิยม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีน ที่มีคำว่า ตลอดจนนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์สุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛
สุดท้ายนี้จะกล่าวถึงสรุปผลการวิจัย และปัญหาอุปสรรคที่พบเจอระหว่างทำการวิจัย รวมถึงข้อเสนอแนะ ซึ่งมีเนื้อหาและรายละเอียดดังต่อไปนี้
                5.1 สรุปผลการวิจัย研究的成果  
5.1.1 สรุปผลการวิจัยตามการแบ่งหมวดหมู่
                             5.1.2 สรุปผลการวิจัยตำแหน่งการจัดวาง “牛”ในสุภาษิตจีน
5.1.3 สรุปผลการวิจัยตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีนที่มีคำว่า“牛”
5.1.4 สรุปผลการวิจัยตามภาพสะท้อนที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛”                                 
              5.2 ปัญหาและอุปสรรค研究的问题和阻碍
                5.3 ข้อเสนอแนะ 研究的建议
5.1 สรุปผลการวิจัย研究的成果
5.1.1 สรุปผลการวิจัยตามการแบ่งหมวดหมู่
                จากการศึกษาวิเคราะห์สุภาษิตที่มีคำว่า “牛”ที่ปรากฏอยู่ในสุภาษิต จำนวน150 สุภาษิต ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. แบ่งตามการสื่อความหมายของสุภาษิต  2. แบ่งตามประเภทของสุภาษิตมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
                5.1.1.1 แบ่งตามการสื่อความหมายของสุภาษิต (谚语的含义)
                                1.ความหมายในแง่บวกมีทั้งหมด 34 สุภาษิต สามารถแบ่งตามความหายได้ 4 ประเภทดังนี้
                                                (1.1)  ประพฤติปฏิบัติดี                     จำนวน 6 สุภาษิต
                                                (1.2) ความพยามยาม                         จำนวน 9 สุภาษิต
                                                (1.3) ความสามัคคีปรองดอง            จำนวน 5 สุภาษิต
                                                (1.4) ด้านจิตใจ                                    จำนวน 11 สุภาษิต
                                2.ความหมายที่เป็นกลางมีทั้งหมด 72 สุภาษิต สามารถแบ่งตามความหมายได้ 5 ประเภทดังนี้
                                                (2.1) ธรรมชาติ                                   จำนวน11 สุภาษิต
                                                (2.2)  เงื่อนไข                                     จำนวน 15 สุภาษิต
                                                (2.3)  พฤติกรรมมนุษย์                     จำนวน 24 สุภาษิต
                                                (2.4)  พฤติกรรมสัตว์                         จำนวน 4 สุภาษิต
                                                (2.5)  การเปรียบเทียบ                       จำนวน 16 สุภาษิต
                                3.ความหมายในแง่ลบมีทั้งหมด 44 สุภาษิตสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทดังนี้
                                                (3.1) ยุยง  ส่งเสริม                             จำนวน 4 สุภาษิต
                                                (3.2) ความไม่ยุติธรรม                       จำนวน 10 สุภาษิต
                                                (3.3) ความขัดแย้ง                            จำนวน  9 สุภาษิต
                                                (3.4) พฤติกรรมไม่ดี                          จำนวน 21 สุภาษิต

                แผนภูมิที่ 1 สรุปการแบ่งหมวดหมู่สุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” โดยแบ่งตามความหมาย

                สำหรับการสรุปผลการวิจัย  ตามการแบ่งหมวดหมู่ จากสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” สามารถแบ่งตามความหมายของสุภาษิต และแบ่งตามประเภทของสุภาษิต มีเนื้อหาดังต่อไปนี้ คือ แบ่งตามความหมายของสุภาษิตแบ่งย่อยได้เป็น 1. ความหมายในแง่บวก 2. ความหมายที่เป็นกลาง 3. ความหมายด้านลบ โดยสุภาษิตจีนที่มีคำว่า“牛”ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความหมายที่เป็นกลาง มีจำนวน 72 สุภาษิต เนื่องจาก “牛”ในสุภาษิตจีนจะให้ความหมายเกี่ยวกับ ธรรมชาติ บอกเงื่อนไข พฤติกรรมมนุษย์ การเปรียบเทียบ และ พฤติกรรมของสัตว์ รองลงมาคือความหมายในแง่ลบ มีจำนวน 44 สุภาษิต อธิบายถึงความหมายของ“牛”ไปในทางที่ไม่ดี โดยใช้คำว่า “牛” มาเปรียบเทียบถึงพฤติกรรมของมนุษย์ คือ การยุยงส่งเสริม การกดขี่ข่มเหงไม่ยุติธรรม และสุดท้ายคือ ความหมายด้านบวก มีจำนวน 34 สุภาษิตอธิบายความหมายของคำว่า “牛” ไปในทางที่ดีมักจะให้ความหมายเกี่ยวกับ การประพฤติดี ความพยายาม  ความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกัน  จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛”ชี้ให้เห็น มุมมองทัศนะคติของคนจีน กลวิธีการคิด การสื่อความหมายที่แฝงอยู่ในสุภาษิตให้คนอ่านสามารถอ่านแล้วนำไปปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี
                5.1.2 สรุปผลการวิจัยตามตำแหน่งการจัดวาง “牛”ในสุภาษิตจีน(研究按与“牛”字有关的汉语谚语位置
                                ลักษณะรูปแบบของตำแหน่ง “牛” ในสุภาษิตจีนแบ่งได้ลักษณะคือ สุภาษิตจีนที่มีการใช้“牛” 1 ตัว สุภาษิตจีนที่มีการใช้ “牛” 2ตัว และสุภาษิตจีนที่มีการใช้ “牛” 3ตัว ดังนี้
(1)       สุภาษิตจีนที่มีการใช้“牛” 1 ตัว มีจำนวนทั้งหมด 138 สุภาษิต โดยสามารถแบ่งตามตำแหน่งที่พบ“牛” ปรากฏอยู่ใน 4 ลักษณะคือ
1.1      耕牛为主遭鞭杖ในตำแหน่งพยางค์ที่ 1 ของสุภาษิตจีน จำนวน 39 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
,
     
1.2      “牛” ในตำแหน่งพยางค์ที่ 2 ของสุภาษิตจีนจำนวน 41 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
鞭杖
1.3      “牛” ในตำแหน่งพยางค์ที่ 3-5 ของสุภาษิตจีนจำนวน 39 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
归马放把作战用的牛马牧放
骑老追快马
1.4       “牛” ในตำแหน่งพยางค์ที่6- ตำแหน่งสุดท้ายของสุภาษิตจีนจำนวน 41 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
  气。
(2)         สุภาษิตจีนที่มีการใช้“牛” 2 ตัว มีจำนวนทั้งหมด 11 สุภาษิตตัวอย่างเช่น
                                割鸡焉用刀杀只鸡何必用宰的刀
(3)         สุภาษิตจีนที่มีการใช้“牛” 3 ตัว มีจำนวนทั้งหมด 1 สุภาษิตตังอย่างเช่น
                舐犊 舔小
สำหรับการสรุปผลการวิจัยตามตำแหน่งการจัดวาง “牛” ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” จำนวน 150 มีสุภาษิตจีนที่มีการใช้ “牛” ตัว จำนวน 138 สุภาษิตโดยสามารถแบ่งตามตำแหน่งทีพบ “牛” ปรากฏอยู่ได้ สี่ ลักษณะคือ 1 “牛” ในตำแหน่งพยางค์ที่ 1 ของสุภาษิตจีนจำนวน 44 สุภาษิต 2. “牛”ในตำแหน่งพยางค์ที่ 2 ของสุภาษิตจีน จำนวน 41สุภาษิต 3. “牛” ในตำแหน่งพยางค์ที่ 3 - 5 ของสุภาษิตจีน จำนวน 39 สุภาษิต 4. “牛” ในตำแหน่งพยางค์ที่ 6 – ถึงตำแหน่งสุดท้ายของสุภาษิตจีน จำนวน 19 สุภาษิต สุภาษิตจีนที่มีการใช้ “牛” 2 ตัว จำนวน 11 สุภาษิต และสุภาษิตจีนที่มีหารใช้ “牛” 3 ตัวมีจำนวน 1 สุภาษิต ซึ่งมีน้อยที่สุดโดยสุภาษิตจีนที่มีการใช้ “牛” 1 ที่มีมากที่สุดนั้นเนื่องจากง่ายต่อการศึกษา และง่ายต่อการจดจำเนื่องจากสั้นกระชับและสามารถแปลความหมายได้เลยไม่ซับซ้อน คนจีนจึงนิยมสร้างสุภาษิตจีนที่มีการใช้ “牛” 1 ตัวในการสร้างสุภาษิตจีน



                     แผนภูมิที่ 3 สรุปผลการวิจัยตามตำแหน่งการจัดวาง “牛” ในสุภาษิตจีน
5.1.3 สรุปผลการวิจัยตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛”(研究按与“牛”字有关的汉语谚语的语法结果)

                จากการศึกษาวิเคราะห์สุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” ผู้วิจัยพบว่าโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีนที่มีคำว่า“牛” สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ  แบบหนึ่งวรรค แบบสองวรรค และแบบหลายวรรค  ดังนี้
(1)       แบบหนึ่งวรรคมีจำนวน 119 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
              
                                    
(2)       แบบสองวรรคมีจำนวน 29 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
           ,呼         
                                            子,有       使    
(3)       แบบหลาย วรรคมีจำนวน 2 สุภาษิต ตัวอย่างเช่น
             ,马         ,                 
        ,          ,            ,     

สำหรับการสรุปผลการวิจัยตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ของสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛”  สามารถแบ่งออกได้เป็น ส่วนคืน (1) แบบหนึ่งวรรค มีจำนวน 119 สุภาษิต พบมากที่สุดในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า  เนื่องจากเป็นสุภาษิตจีนที่มีความสมบูรณ์ในหนึ่งวรรค  จะไม่มีการแบ่งวรรคตอน และจะไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน (2) แบบสองวรรค จำนวน 29 สุภาษิต พบรองลงมารูปแบบประโยคก็จะเป็นประโยคหลังหนึ่งวรรค  ประโยคหลังหนึ่งวรรค  โดยจะใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) เป็นตัวแบ่งประโยคออกเป็น สองส่วน (3) แบบหลายวรรคมีจำนวน 2 สุภาษิต พบน้อยที่สุดในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” โครงสร้างแบบหลายท่อน  จะมีทั้งแบบสามท่อนและแบบสี่ท่อน ซึ่งระหว่างแต่ละส่วนจะมรการแบ่งวรรค เนื่องจากมีความยาว  ไม่สะดวกแก่การอ่าน หรืการศึกษาเรียนรู้  แต่หากมีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์
                5.1.4 สรุปผลการวิจัยตามภาพสะท้อนที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛”
                                จากการศึกษาสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” จำนวน  สุภาษิต สามารถสรุปผลการวิจัยตามภาพสะท้อนของสุภาษิตจีนที่คำว่า “牛” ซึ่งสามารสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดของคนจีนที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีน ที่มีความสัมพันธ์ต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว  วิถีชีวิต  แนวความคิดหรือความเชื่อ รวมไปถึงค่านิยมของคนจีน ซึ่งสามารถสรุปตามภาพสะท้อนที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” ได้ดังนี้
                                5.1.4.1 ภาพสะท้อนทางด้านวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่
                                       สุภาษิตจีนที่มีค่ำว่า “牛” สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในด้านต่างๆของคนจีนที่มีความหลากหลายในวัฒนธรรม โดยมีปัจจัยต่างต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาท เช่น  การกิน การอยู่ การดำเนินชีวิต  การละเล่น  หรือวรรณกรรม รวมไปถึงความสัมพันธ์ในการอาศัยอยู่รวมกันของคนและสัตว์ การพึ่งพาอาศัยกัน การใช้สัตว์เป็นแรงงานในการทำเกษตรกรรม ใช้เป็นยานพาหนะ และเป็นทั้งอาหารเป็นต้น
                                5.1.4.2 ภาพสะท้อนค่านิยมความเชื่อในสังคม
                                       สุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” ได้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมความเชื่อของคนจีนที่มีต่อสังคมการดำเนินชีวิต  ที่บุคคลในสังคมได้ยึดถือเป็นเครื่องตัดสินสินใจในการกำหนดการกระทำของตนเองโดยแสดงออกมาในด้านจารีตประเพณี  และบรรทัดฐานในสังคม ซึ่งสุภาษิตจีนเป็นผลผลิตที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมายึดถือเป็นเครื่องมือทางภาษาในการใช้ถ่ายทอดคำสอนของบรรพชน ที่พยายามสั่งสอน ปลูกฝังค่านิยม สอดแทรกผ่านทางสุภาษิต  คือ ให้ตระหนักถึง การประพฤติปฏิบัติดี  รู้จักทดแทนบุญคุณ การทำตัวให้เหมาะสมถูกกาลเทศะ และเล็งเห็นความสำคัญของการกระทำของตนเอง 
                                5.1.4.3 ภาพสะท้อนพฤติกรรมมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
                                       สุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” นั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม ความใกล้ชิดเกี่ยวพันถึงวิถีชีวิตของผู้คนกับ วัว ที่มีความหลากหลาย ในวัฒนธรรมคือ ต้องการให้ตระหนัก และอย่าละเลยถึงการกระทำหรือพฤติกรรมของตนเองที่มีต่อผู้อื่น สังคม และธรรมชาติเนื่องจาก พฤติกรรมมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  มีผลกระทบและมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ความเป็นอยู่  การอยู่รอด และวิถีชีวิตของมนุษย์
                                5.1.4.4 ภาพสะท้อนทัศนคติวัวกับธรรมชาติ
                                       สุภาษิตจีนที่มีคำว่า “牛” ได้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนะคติของชาวจีนที่มีต่อวัว เนื่องจากสังคมส่วนใหญ่ของคนจีนเป็นสังคมเกษตรกรรมจึงมีการเปรียบเทียบลักษณะนิสัยของวัวในด้านของการอุปมาอุปมัยกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ พฤติกรรมต่างๆของผู้คนเพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติตนเองได้สอดคล้องและเหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดีต่อตนเองและสังคมรอบข้างที่อาศัยอยู่ด้วย
                          สำหรับการสรุปผลการวิจัยตามภาพสะท้อนวัฒนธรรมชาวจีนจำนวน 150 สุภาษิต สรุปได้ว่าสุภาษิตจีนที่มีคำว่า“牛” เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม และความใกล้ชิดผูกพันกันระหว่างคนกับสัตว์ จากการศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันในความหมาย สามารถเข้าใจถึง ค่านิยม ความเชื่อ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในสุภาษิตจีน จึงเป็นบ่อเกิดหนึ่งที่ทำให้มีคนหันมาสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้สุภาษิตจีนเพิ่มมากขึ้น   และยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้ สามารถนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย
                ตั้งแต่เริ่มต้นทำการวิจัยจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการทำงานวิจัย มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ทำให้การวิจัยล่าช้าและเพิ่มความซับซ้อนในการหาคำตอบให้กับงานวิจัย ที่ผู้วิจัยได้พบดังนี้
             5.2.1 เนื่องจากสุภาษิต ที่นำมาทำงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนมาก หนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับความหมายของสุภาษิตจีนไม่ค่อยมี ทำให้การศึกษาหาข้อมูลเป็นไปด้วยความล่าช้า
             5.2.2 เกิดปัญหาในการตีความ ถอดความเพื่อหาความหมายที่แท้จริงของสุภาษิตนั้นคลาดเคลื่อน คำศัพท์ที่ปรากฏในบริบทนั้นมักจะเป็นคำศัพท์โบราณ ด้วยเหตุที่ว่าสุภาษิตเป็นภาษาที่เกิดขึ้นและใช้กันมากในสมัยโบราณและได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบางคำก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีน้อย ทำให้ยากในการหาข้อมูลประกอบการทำวิจัย
5.2.3 เวลาในการทำวิจัยน้อย ทำให้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบาก เกิดปัญหาในการแยกหมวดหมู่ของสุภาษิต เพราะข้อมูลมีมาก ทำให้เกิดความสับสนในการแบ่งประเภทของข้อมูล
5.3 ข้อเสนอแนะ
                การศึกษาวิจัยเรื่อง สุภาษิตจีน ที่มีคำว่า “牛” ที่ผู้วิจัยนำมาศึกษาวิเคราะห์ยังพบว่าในสุภาษิต ของจีนนั้นยังมีความหมายเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆมากมายหลายด้าน  อาทิ สุภาษิตจีน  ที่เกี่ยวข้องกับ คน     เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เกี่ยวข้องกับสี เกี่ยวข้องกับอวัยวะต่างๆ เกี่ยวข้องกับผีสางเทวดา เป็นต้น ซึ่งก็สามารถทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมได้อีกหลายด้าน  เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานวิจัยเกี่ยวกับสุภาษิตจีน ที่สมบูรณ์ในทุกๆด้านทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของผู้ที่ต้องการศึกษาสุภาษิต ในภาษจีนนั่นเอง  ตลอดจนสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนทางด้านภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย