2015年6月2日星期二

การศึกษาวิเคราะห์กวีนิพนธ์หลู่ซวิ่น

ชื่อสารนิพนธ์ : การศึกษาวิเคราะห์กวีนิพนธ์หลู่ซวิ่น
Reseach Name : An analytical study of  LUXUN's poems
题目 : 鲁迅诗歌研究
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร. ชิดหทัย ปุยะติ
ผู้นิพนธ์ : นางสาวพรศิริ หงษ์มณี
รหัสประจำตัว : 5414401360
.................................................................

                       บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์กวีนิพนธ์หลู่ซวิ่น
คำสำคัญ : กวีนิพนธ์ โวหารภาพพจน์ แนวคิด หลู่ซวิ่น(LUXUN)
              งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ในกวีนิพนธ์ของ"หลู่ซวิ่น" และแนวคิดที่ปรากฏ โดยรวบรวมจากหนังสือกวีนิพนธ์หลู่ซวิ่นของทวีปวร จำนวนทั้งหมด 42 บท ผลการวิจัยพบว่ามีการใช้โวหารภาพพจน์ทั้งสิ้น 6 ประเภท คือ อุปมา อุปลักษณ์ อธิพจน์ นามนัย สัญลักษณ์และบุคลาธิษฐาน และแนวคิดที่ปรากฏในกวีนิพนธ์หลู่ซวิ่นมีทั้งสิ้น 7 ด้าน คือ ความรักชาติ ความรักความอาลัยที่มีต่อมิตรสหายและคนรัก การเสียดสีสังคม การเปิดโปงและประณามความชั่วร้ายของผู้มีอำนาจในสังคม ความมุ่งมั่นและการมีความหวัง การสดุดีบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง และความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมและสังคมจีน
              งานวิจัยนี้ไม่เพียงทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในโวหารภาพพจน์ต่างๆ จากบทกวีนิพนธ์เท่านั้น แต่หากยังให้แง่คิดและสะท้อนให้เห็นสภาพขีวิตความเป็นอยู่ สภาพสังคม และวัฒนธรรมของชาวจีนได้อย่างชัดเจน

..........................................................................
                                 
                             摘要

题目 : 鲁迅诗歌研究
关键要 : 诗歌 修辞 思想观念 鲁迅

              本文对鲁迅诗歌的修辞与概念研究, 从Taveepaworn 的鲁迅诗歌集中各种材料, 共有四十二首诗作。研究发现, 鲁迅诗歌中出现以下六种修辞手段: 比喻, 隐喻, 夸张, 借代, 象征及似人。鲁迅诗歌中出现以下九种思想观念: 爱国, 友情与爱情, 讽刺社会, 指责及揭穿权势阶层, 立志及表现希望, 歌颂给社会做出贡献的人物及揭露中国社会文化的衰落。通过本研究, 我们不仅可以更加深入了解诗歌的修辞, 也让我们了解中国人的思想观念及诗歌所反映出的中国社会文化。

2015年5月26日星期二

การศึกษาเปรียบเทียบภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ไทย – จีน


ชื่อสารนิพนธ์               :   การศึกษาเปรียบเทียบภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ไทย – จีน
Research Name        :   A Comparative study of Language for the
                                      Headline news of Thai and Chinese Newspaper
题目                                    :    汉泰新闻标题语言的对比研究
อาจารย์ที่ปรึกษา           :   รศ.ดร.เมชฌ  สอดส่องกฤษ
ชื่อผู้นิพนธ์                   :   นางสาวอุษาวดี   ตรีกลาง
รหัสประจำตัวนักศึกษา    :   5414401566
..................................................................................................................................................

บทคัดย่อ
 
ชื่อเรื่อง   :  การศึกษาเปรียบเทียบภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ไทย-จีน
คำสำคัญ  :  พาดหัวข่าว   ภาษาพาดหัวข่าว   ภาษาหนังสือพิมพ์   ภาษาข่าว   หัวข้อข่าว       
 
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างประโยคพาดหัวข่าวและกลวิธีการใช้ภาษาพาดหัวข่าวระหว่างหนังสือพิมพ์ไทยและหนังสือพิมพ์จีน โดยรวบรวมข่าวเฉพาะ “พาดหัวข่าวใหญ่” ฉบับวันที่ 1-31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 จากหนังสือพิมพ์ “ซิงเซียนรื่อเป้า” และ “ไทยรัฐ” ซึ่งรวบรวมได้ทั้งสิ้น 61 ประโยค แล้วนำมาวิเคราะห์โดยการใช้หลักเกณฑ์ตามโครงสร้างทางไวยากรณ์และตามคำสำคัญของภาษาไทยและภาษาจีน หลังจากนั้นจึงนำประโยคที่วิเคราะห์มาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันของทั้งสองภาษา

         การศึกษาครั้งนี้แบ่งวิธีการจำแนกหัวข้อข่าวเป็น 2 วิธีคือ 1. ใช้เกณฑ์ทางไวยากรณ์สามารถแบ่งได้เป็นโครงสร้างที่เป็นวลีและประโยค  2. ใช้เกณฑ์คำสำคัญสามารถแบ่งได้เป็น 10 กลุ่ม คือ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การใช้ตัวเลข การใช้ชื่อบุคคล และชื่อเฉพาะต่างๆ การใช้คำย่อ การตัดคำสั้น การใช้สำนวนและคำเปรียบเทียบ การใช้คำภาษาต่างประเทศ การใช้วลีที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำพูดหรือวลีทั่วไป และการใช้คำศัพท์เฉพาะ          
 
        ผลจากการศึกษาเปรียบเทียบประโยคพาดหัวข่าวไทย-จีน พบว่ามีความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ ประโยคพาดหัวข่าวไทย-จีน ที่มีโครงสร้างไวยากรณ์เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน 28 ประโยค คิดเป็น 12% ประโยคพาดหัวข่าวไทย-จีน ที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ต่างกัน 32 ประโยค คิดเป็น 14% ประโยคพาดหัวข่าวไทย-จีน ที่มีคำสำคัญเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน 81 ประโยค คิดเป็น 35% และประโยคพาดหัวข่าวไทย-จีน ที่มีคำสำคัญต่างกัน 89 ประโยค คิดเป็น 39%
 
         ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบประโยคพาดหัวข่าวระหว่างภาษาไทยและภาษาจีน ทำให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างในด้านการใช้โครงสร้างประโยคและคำสำคัญ โดยพาดหัวข่าวภาษาไทยส่วนใหญ่จะเป็นประโยคความซ้อนและใช้คำสำคัญที่เป็นชื่อเฉพาะมากที่สุด และพาดหัวข่าวภาษาจีนส่วนใหญ่จะเป็นประโยคความเดียวและใช้คำสำคัญที่เป็นชื่อเฉพาะมากที่สุด ดังนั้นการศึกษาเปรียบต่าง จึงทำให้สามารถเข้าใจแนวความคิดการใช้ภาษาของไทยและจีน
.....................................................................................................................................................
 
摘要

题目   汉泰新闻标题语言的对比研究
关键词 :新闻标题、 新闻标题语言、报纸语言、 新闻语言、头条新闻


    这项研究的对象是泰国和中国报纸的新闻标题的句法结构形式与新闻标题的语言策略,研究收集了201511-31日《星暹日报》与《泰叻报》的“大标题”,共有61个句子,通过分析使用标准汉泰语的语法结构与标准汉泰语的关键词,然后对汉泰两种语言的差异进行比较分析。
 
         通过研究得出头条新闻的分类方法为以下两类:1.使用标准语法,可分为短语与句子的结构 2. 使用标准关键词,可分为以下10类:标点符号的使用、数字的使用、个人名称与名存实亡的使用、缩写的使用、简短的词汇的使用、成语与比喻的使用、外语词的使用、唤起形象短语的使用、口语单词或普通短语的使用、专门术语的使用。
     
    比较研究的结果,发现有相同或相似与不同的汉泰新闻标题句子,可以分为4 类:语法结构有相同或相似的汉泰新闻标题句子有28对(占12%);语法结构有不同的汉泰新闻标题句子有32对(占14%);关键词有相同或相似的汉泰新闻标题句子有81对(占35%);关键词有不同的汉泰新闻标题句子有89对(占39%)。

    通过对汉泰语的新闻标题语言进行比较研究,看到在使用关键词与句子结构的相似性与差异性。研究表明大多数泰语新闻标题采用复杂的句子与关键词的具体名称,而大多数汉语新闻标题采用单句与关键词的具体名称。因此,通过对比研究我们可以了解汉泰语的语言使用的概念。

...................................................................................................................................................

2015年5月23日星期六

การศึกษาวิเคราะห์แบบฝึกออกเสียงของ “绕口令” ในภาษาจีน

ชื่อสารนิพนธ์      :   การศึกษาวิเคราะห์แบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน
Research Name :  The Analysis of Chinese pronunciation “Tongue  twister ”
 
题目汉语绕口令发音练习分析研究
อาจารย์ที่ปรึกษา   :    อาจารย์ประภาพร  ศศิประภา
ชื่อผู้นิพนธ์           :   นางสาวกิิตติญา   เกษาพันธ์
รหัสประจำตัวนักศึกษา   :   5414403843
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง      การศึกษาวิเคราะห์แบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน
คำสำคัญ    คำพ้องเสียง  คำซ้ำ  คำสัมผัส  การออกเสียง    
               จากการวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์แบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน กรณีศึกษาจากหนังสือ 《我的第一本绕口令》ในหมวดสัตว์เท่านั้น มีทั้งหมด 39 บท
               ผลการวิจัยพบว่า  การศึกษาวิเคราะห์แบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน กรณีศึกษาจากหนังสือ  《我的第一本绕口令》ในหมวดสัตว์นี้  มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ  “สัตว์”  เป็นคำศัพท์ที่เด็กๆ หรือชาวต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาจีน เป็นคำศัพท์หมวดลำดับ แรกๆ ที่เรียน จึงทำให้ง่ายต่อการจดจำและน่าสนใจในเนื้อหา  จากการศึกษาวิจัยพบว่าแบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน มีกลวิธีการใช้คำสัมผัสใน จากสระและพยัญชนะมากที่สุด พบทั้งหมด 26 บท คิดเป็นร้อยละ 66  ลำดับต่อมา มีการใช้สัมผัสนอก พบทั้งหมด 6 บท คิดเป็นร้อยละ 15  การใช้คำซ้ำ พบทั้งหมด 4 บท คิดเป็นร้อยละ 10    และลำดับสุดท้ายมีการใช้น้อยที่สุด คือคำพ้องเสียง พบทั้งหมด 3 บท คิดเป็นร้อยละ7 เท่านั้น และในการสร้างประโยคของแบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีนนี้ ผู้วิจัยยังพบว่า การสร้างแบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน ไม่เน้นการแปลความหมายและไวยากรณ์ที่ชัดเจน แต่เน้นคำสัมผัส เพื่อทำให้ประโยคบทนั้นๆ ง่ายต่อการจดจำ มีสีสัน มีชีวิตชีวา และแฝงไปด้วยความขบขันมากกว่า เพื่อทำให้ แบบฝึกออกเสียงของ 绕口令 ในภาษาจีน มีความน่าสนใจ ทำให้ผู้ที่ฝึก ออกเสียงรู้สึกสนุกสนาน
               จากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ทราบรูปแบบการสร้างประโยคในบทของ 绕口令ที่เกิดจากการใช้คำสัมผัสในมากที่สุด เพื่อให้การออกเสียงมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน  สามารถทำให้ผู้ฝึกออกเสียง จดจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น ออกเสียงได้ชัดเจน ทำให้คุ้นเคยกับคำศัพท์นั้นๆ   จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกออกเสียงภาษาจีน หรือผู้ที่เริ่มเรียนภาษาจีน สามารถนำแบบฝึกออกเสียงของ绕口令มาฝึกฝนพัฒนาการออกเสียงภาษาจีน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



题目 :    汉语绕口令发音练习分析研究
关键词 :  同音词          重叠词          押韵           发音

                    此研究的目的是研究汉语“ 绕口令”发音练习分析,在《我的第一本绕口令》书 里面有关于动物的绕口令共39首。
                    本文 研究包括汉语“绕口令”发音练习分析,以《我的第一本绕口令》为例,此关于动物的部分是儿童或学汉语的外国学生最初学过的词汇,使他们容易记住,而且还对内容有兴趣。此外,本文还研究汉语“ 绕口令 ”使用最多的韵母 和声母的内押韵方式的占所测试  26    66%,次要是使用外押韵的占所测试    6      15%,还有重叠词   4    10%  , 最后使用最少的是同音词占所测试外押韵的   3    7%。在汉语“ 绕口令 ”的过程中,本文还发现“绕口令”的造句的不是强调意思与语法,但强调押韵,此样不很使人容易记住,而且有特色、有的首还暗含着有趣的内容,而且为了使练习者会常练习词汇,在“绕口令”里还使用重叠词与同音词。
                  此次研究使本文了解了汉语“绕口令 ”的句子结构,汉语“绕口令”是使用内押韵最多,为了近声发音,让练习者容易发音、容易记住、发音清楚、熟悉于词汇,所以这些对要开始学汉语以及使用 “绕口令”来练习发音提高的学生很重要。

การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อรายการโทรทัศน์ประเภทรายการวาไรตี้โชว์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ชื่อสารนิพนธ์     :    การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อรายการโทรทัศน์ประเภทรายการวาไรตี้โชว์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
Research Name    :  The analytical study of methods used to name variety show programs.
 题目    : 中国电视综艺节目取名的语用研究
อาจารย์ที่ปรึกษา     :   อาจารย์ ดร.ชิดหทัย ปุยะติ
ชื่อผู้นิพนธ์             :   นางสาววรรณกานต์   เสริมศรี

รหัสประจำตัวนักศึกษา   :   5414403731
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง  :   การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อรายการโทรทัศน์ประเภทรายการวาไรตี้โชว์ในสาธารณรัฐ
               ประชาชนจีน
คำสำคัญ :  การตั้งชื่อ,รายการโทรทัศน์,วาไรตี้โชว์,สาธารณรัฐประชาชนจีน
        สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่อรายการโทรทัศน์ประเภทรายการวาไรตี้โชว์เกี่ยวกับการประกวดแข่งขันในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์www.youku.com จำนวน 113 ชื่อรายการ
ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีการตั้งชื่อรายการโทรทัศน์ประเภทรายการวาไรตี้โชว์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลวิธีดังนี้ (1.) กลวิธีการตั้งชื่อแบบแสดงขอบเขตหรือสถานะของผู้เข้าประกวดมีจำนวน 38 ชื่อรายการ คิดเป็นร้อยละ 34 (2.) กลวิธีการตั้งชื่อโดยการใช้ธรรมชาติที่สวยงามมาอุปมาถึงความสามารถของผู้เข้าประกวดมีจำวนวน 3 ชื่อรายการ คิดเป็นร้อยละ3 (3.) กลวิธีการตั้งชื่อโดยยกย่องผู้ชนะการประกวดให้มีสถานะภาพสูงส่งมีจำนวน 35 ชื่อรายการ คิดเป็นร้อยละ 31 (4.) กลวิธีการตั้งชื่อโดยใช้ส่วนประกอบอื่นๆของรายการมีจำนวน 14 ชื่อรายการ คิดเป็นร้อยละ12 (5.) กลวิธีการตั้งชื่อตามฤดูกาลมีจำนวน 1 ชื่อรายการ คิดเป็นร้อยละ 1(6.)กลวิธีการตั้งชื่อแบบผสมผสานมีจำนวน 22 รายการคิดเป็นร้อยละ 19
        กลวิธีการตั้งชื่อรายการโทรทัศน์ประเภทรายการวาไรตี้โชว์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่ากลวิธีที่พบมากที่สุดคือกลวิธีการตั้งชื่อแบบแสดงขอบเขตหรือสถานะของผู้เข้าประกวด รองลงมาคือ กลวิธีการตั้งชื่อโดยยกย่องผู้ชนะการประกวดให้มีสถานะสูงส่ง กลวิธีการตั้งชื่อแบบผสมผสาน กลวิธีการตั้งชื่อโดยใช้ส่วนประกอบอื่นๆของรายการ กลวิธีการตั้งชื่อโดยใช้ธรรมชาติที่สวยงามมาอุปมาถึงความสามารถของผู้เข้าประกวด และกลวิธีการตั้งชื่อตามฤดูกาลตามลำดับ
摘要

题目  : 中国电视综艺节目取名的语用研究
关键词: ,电视综艺节目,取名,语用 

    此研究的目的是对中国电视综艺节目取名进行语用研究,从www.youku.com收集节目名,共113个节目名
      研究发现中国电视综艺节目取名,可以分成6个语用。分别是:1.按选手范围或状况取名,共38个,一共占节目 34%2. 用醒目的自然 喻选手的能力取,共3,一共占节目的3%3.由歌颂胜利者取名,共35,一共占节目的31%4.按节目的其他成份取名,共14个,一共占节目的12%5.按季节取名,共1,一共节目1%6.混合式取名,共22个,一共占节目的19%
 中国电视综艺节目大多数是按选手范围或状况取名由歌颂胜利者取名混合式取名按节目的其他成份取名用醒目的自然 喻选手的能力取按季节取名




2015年5月21日星期四

การศึกษาปัญหาการอ่านตัวอักษรจีนพ้องรูปของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาจีนและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อสารนิพนธ์            การศึกษาปัญหาการอ่านตัวอักษรจีนพ้องรูปของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาจีนและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 Research name    The study of Chinese homograph reading problems of Thai students Case study : forth years students of Chinese Major, Faculty of Liberal Arts, Ubonratchathani University
 题目          泰国学生多音字阅读的问题研究
                                   研究对象 : 乌汶大学文学院 中文 系四年级学生

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ประภาพร ศศิประภา
ชื่อผู้นิพนธ์                  นายธงชัย ปุยฝ้าย
รหัสประจำตัวนักศึกษา   5414401315

-------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาปัญหาการอ่านตัวอักษรจีนพ้องรูปของนักศึกษาไทย
กรณีศึกษา : นักศึกษาสาขาภาษาจีนและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสาคัญ : ตัวอักษรจีน ตัวอักษรจีนพ้องรูป การเรียนการสอนภาษาจีน
          เนื่องจากตัวอักษรจีนเป็นอักษรที่มีความเป็นเอกลักษณ์อยู่ในตัว โดยเฉพาะตัวอักษรจีนหนึ่งตัวที่สามารถอ่านได้หลายเสียงและมีความหมายที่ต่างกันหรือเรียกว่า ตัวอักษรพ้องรูป ก่อให้เกิดความสับสนแก่นักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการอ่านตัวอักษรจีนพ้องรูปของนักศึกษาสาขาภาษาจีนและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการแจกแบบทดสอบให้นักศึกษาจานวน 27 คน
          ผลการวิจัยพบว่าการอ่านตัวอักษรจีนพ้องรูปของกลุ่มตัวอย่าง จากการทดสอบการอ่านทั้งหมด 82 เสียง เสียงอ่านที่กลุ่มตัวอย่างอ่านถูกมากที่สุดมีทั้งหมด 52 เสียง คิดเป็นร้อยละ 63.41 เสียงอ่านที่กลุ่มตัวอย่างอ่านผิดมากที่สุดมีจานวน 30 เสียง คิดเป็นร้อยละ 36.59 ซึ่งผู้วิจัยพบว่าเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1)นักศึกษาจดจาได้เพียงตัวอักษรจีนพ้องรูปในเสียงอ่านที่เรียนเป็นเสียงแรก 2)นักศึกษาจดจาได้เพียงตัวอักษรจีนพ้องรูปในเสียงอ่านที่พบบ่อยในหนังสือแบบเรียน 3)ในการทาแบบทดสอบการอ่าน นักศึกษาไม่แปลประโยคหรือดูบริบทของประโยคด้วย นักศึกษาอ่านผิดตามเสียงอ่านที่ตนเองคาดเดา
          ดังนั้นครูผู้สอนควรให้ความสาคัญและเน้นให้นักศึกษาเข้าใจตัวอักษรจีนพ้องรูปมากยิ่งขึ้น โดยในการเรียนการสอน เมื่อในบทเรียนมีตัวอักษรที่เป็นตัวอักษรจีนพ้องรูป ครูผู้สอนควรอธิบายให้นักศึกษาทราบว่า ตัวอักษรดังกล่าว อ่านได้กี่เสียง และมีความหมายวิธีใช้แตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งนักศึกษาเองควรพยายามจดจาตัวอักษรจีนพ้องรูปและเสียงอ่านที่แตกต่าง ความหมายที่แตกต่างของตัวอักษรจีนพ้องรูปให้แม่นยา และหมั่นทบทวนสม่าเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การเรียนการสอนภาษาจีน รวมทั้งประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ถูกต้องอีกด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------------

摘要

题目:    泰国学生多音字阅读的问题研究
                研究对象:乌汶大学文学院中文系四年级学生
关键词 :             汉字、多音字、阅读、问题、泰国学生
              
      由于泰国学生常在多音字学习中遇到问题,多音字阅读也是他们感到困难的地方,所以本文主要针对泰国学生多音字阅读这个问题进行研究。通过对乌汶大学文学院中文系四年级的二十七个学生进行问卷调查,调查结果显示:泰国学生多音字阅读共82个读音,其中有52个读音(占所测试读音的63.41 %)阅读没有错误的学生,有30个读音(占所测试读音的36.59%)阅读有错误的学生。另外,本文还归纳出泰国学生多音字阅读出现错误的三个主要原因,分别是:1. 对象只记住所学过的多音字的第一读音,但却记不住所学过的第二或第三读音以及它的意思;2.在课文中的多音字的读音,有的多音字的读音在课文中常见,但另一个读音不常见,因此,对象只会记住在课文中常见的;3. 不翻译句子,不注意句子的上下文,按照自己猜想将读音读出来。
      因此教学中应该注重的是教授多音字阅读,当学到有多音字的课文,教师应该给学生教授该多音字有几个读音、意思以及用法。而且学生也应该注意到多音字的不同读音、不同意思,常常练习复习,以增加汉语教学的效能以及正确沟通效率。

การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย

ชื่อสารนิพนธ์                  :   การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ  :    A Comparative study of Chinese and Thai Noun Classifier
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน        :   泰国歌名的汉译法研究

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา    รศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ     
ชื่อผู้นิพนธ์               นางสาวปิยนันท์    โพธิวัฒน์
รหัสประจำตัวนักศึกษา    5414401359                                                              
                        
     --------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง  : การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย
คำสำคัญ : คำลักษณนามในภาษาจีน คำลักษณนามในภาษาไทย การเปรียบเทียบ  การจำแนกประเภท
                                                                                                                            
          เนื่องจากภาษาไทยและภาษาจีนต่างก็มีการใช้คำลักษณนาม ปัญหาประการหนึ่งในการเรียนภาษาของผู้ศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยและผู้ศึกษาภาษาไทยในประเทศจีน นั่นคือการใช้คำลักษณนาม ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามภาษาจีนและภาษาไทย วิธีการศึกษากระทำโดยการรวบรวมคำลักษณนามในภาษาจีนเฉพาะที่ใช้ในปัจจุบันและได้รวบรวมจากคู่มือลักษณนามจีน-ไทย  (2549) ทั้งหมด 133 คำ ส่วนคำลักษณนามในภาษาไทยรวบรวมจาก หนังสือชื่อลักษณนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546) ทั้งหมด 88 คำ 
จากการเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์การจำแนกคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย พบว่า คำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่นิยมใช้มากที่สุด คือ คำลักษณนามที่ใช้กับประเภทสิ่งของ คำลักษณนามในภาษาจีนที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 79 คำ คิดเป็นร้อยละ 64 คำลักษณนามในภาษาไทยที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 45 คำคิดเป็นร้อยละ 36 และคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่นิยมใช้น้อยที่สุด คือ คำลักษณนามประเภทอมนุษย์  คำลักษณนามในภาษาจีนที่ใช้กับประเภทอมนุษย์จำนวน 1 คำ คิดเป็นร้อยละ 33 คำลักษณนามในภาษาไทยที่ใช้กับประเภทมนุษย์จำนวน 2 คำคิดเป็นร้อยละ 67 ส่วนการเปรียบเทียบเกณฑ์การจำแนกคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน พบว่า คำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่นิยมใช้มากที่สุด คือ คำลักษณนามที่ใช้กับประเภทสิ่งของ คำลักษณนามในภาษาไทยที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 17 คำ คิดเป็นร้อยละ 29 คำลักษณนามในภาษาจีนที่มีที่ใช้กับประเภทสิ่งของจำนวน 41 คำ คิดเป็นร้อยละ 71 และคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่นิยมใช้น้อยที่สุด คือ คำลักษณนามประเภทอมนุษย์ไม่มีคำลักษณนามที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
 ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงความเหมือนและความแตกต่างกันในด้านการใช้คำลักษณนาม การจำแนกประเภทคำลักษณนามและเกณฑ์การจำแนกคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทย ทำให้ทราบถึงคำลักษณนามในภาษาจีนและภาษาไทยนั้น มีความเหมือนกัน คือนิยมใช้คำลักษณนามที่ใช้กับประเภทสิ่งของและที่นิยมใช้น้อยคือคำลักษณนามที่ใช้กับประเภทอมนุษย์  นอกจากนี้แล้วยังแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของทั้งสองชนชาติรวมถึงลักษณะความเป็นอยู่ของชนชาตินั้น ๆ ได้อีกด้วย

 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 


摘要
题目     :   汉泰量词比较研究

关键词 : 汉语量词  泰语量词   对比   分类


由于泰语和汉语都有量词,在泰国学习汉语的学生与在中国学习泰语的学生都有使用量词的问题。因此本文才汉泰量词进行比较研究。研究的方法是从《汉-泰量词手册》(2549)收集现代汉语量词,133,《量词》(Royal Institute.2546) 收集泰语量词,88个。
汉语和泰语量词的分类研究发现, 最常用的汉语和泰语量词是东西量词,汉语东西量词有79, 64%,泰语东西量词有45,36%。最少用的汉语和泰语量词是非人量词,汉语非人量词有1,33%,泰语非人量词有2,67%。从有同或相似的汉语和泰语量词的分类研究发现,最常用的同样或相似的汉语和泰语量词是东西量词,泰语东西量词有17,29%,汉语东西量词有41,71%。最少用的同样或相似的汉语和泰语量词是非人量词,没有同样或相似的量词。
本文量词的相同点差别、量词分类及汉语与泰语的分类规程,并且得汉语和泰语量词东西量词数量最非人量词数量最。此外,还表示了两国的传统以及人民的生活。