2011年3月24日星期四

ปัญหาการใช้ 两 กับ 二 ของนักศึกษา กรณีศึกษา: นักศึกษาสาขาภาษาจีนคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน           :  泰国学生使用 两 和 二  的问题研究,研究对象 :乌文大学人文学  
                     院文专业的学生

ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย         : การศึกษาปัญหาการใช้กับ ของนักศึกษา กรณีศึกษา:นักศึกษา
                                                       สาขา ภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ     : A study of problems of use and in Thai. Case study: 
                                                        Chinese major students. Faculty of Liberal Arts, 
                                                        Ubon Ratchathani University.



ชื่อผู้เขียน                            :  นางสาวสุดาพร        คาดหมาย        50144008
                                                  นาวสาวนิภาพร       วงศ์ฟองทอง  50147532
อาจารย์ที่ปรึกษา                :  อาจารย์วกุล         ธีรวงศกร
อาจารย์เจ้าของภาษา        :  王薇老师 


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง   :   ปัญหาการใช้ กับ ของนักศึกษา กรณีศึกษา: นักศึกษาสาขาภาษาจีน     คณะศิลปศาสตร์  
    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ : คำบอกจำนวนที่เป็นเป็นคำพ้องความหมาย หลักการใช้ หน่วยมาตราชั่งตวงวัด คำนาม
    คำลักษณนาม  คำบอกจำนวน

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ กับ ของนักศึกษา กรณีศึกษา: นักศึกษาสาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยรวบรวมข้อมูลจากการทำแบบทดสอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 1- 4 ที่เรียนภาษาจีน
จากการศึกษาการใช้ และ   พบว่า ใช้กับหน่วยมาตราชั่งตวงวัดที่เป็นหน่วยสากล ใช้กับคำศัพท์ลักษณนามและคำนามบอกจำนวนและให้ความหมายถึง สิ่งที่เป็นสิ่งสองสิ่งที่เป็นคู่กัน โดยมีความเหมือนกัน คล้ายกัน และตรงข้ามกัน ใช้กับคำบอกจำนวนเมื่อเป็นเลขที่อยู่ในหลักที่ใหญ่ที่สุดในหลักร้อย หลักพัน, หลักหมื่น และหลักร้อยล้าน ใช้กับเลขผลคูณ ใช้กับเลขเศษส่วนโดยใช้แสดงอัตราส่วน หมายถึงเลขเศษหนึ่งส่วนสิบ (1 ใน 10 ส่วน ) หรือสิบเปอร์เซ็นต์ใช้เป็นเลขประมาณหมายถึง สองสาม, หน่อย, บ้าง ใช้กับหน่วยมาตราชั่งตวงวัดที่เป็นหน่วยดั่งเดิมของจีน ใช้กับคำศัพท์ลักษณนามและคำนามบอกจำนวนและให้ความหมายถึง สิ่งที่เป็นรอง เป็นที่2 อยู่ลำดับที่2 อยู่ที่2 ใช้เป็นเลขพื้นฐานของการบอกจำนวนใช้กับเลขเศษส่วน ...分之... แสดงเลขเศษส่วนที่เป็นร้อยละ เปอร์เซ็น ใช้กับเลขลำดับ ใช้เป็นเลขประมาณโดยจำนวนตัวเลขติดกันหมายถึง จำนวนหนึ่งถึงจำนวนหนึ่ง
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีปัญหาการใช้ และ   กับมาตราชั่งตวงวัดมากที่สุดคือคิดเป็นร้อยละ68.3  ใช้กับคำศัพท์ที่เป็นคำนามและคำลักษณนามมากที่สุดคือ口事ร้อยละ 70.73 ใช้กับคำบอกจำนวนมากที่สุดคือ 成希望ร้อยละ 80.49 จากผลสรุปของแบบทดสอบทั้ง 3 ส่วนของปัญหาการใช้ และ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ผลที่ได้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ทำแบบทดสอบในส่วนที่ 1 ผิด 47.32% ทำแบบทดสอบในส่วนที่ 2 ผิด59.51% และทำแบบทดสอบในส่วนที่ 3 ผิด 49.27% จะเห็นได้ว่าในแบบทดสอบส่วนที่ 2 นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในการใช้ และ อยู่ในเกณฑ์ มากพอสมควร 

中文摘要

题目  泰国学生使用“两”和“二”的问题研究 研究对象:乌汶大学人文学院
        中文专业学生
关键词:同义词 使用原则 度量衡单位 名词 量词 数词

本文是关于泰国学生使用“两”和“二”的问题研究,研究对象是乌汶大学人文学院中文专业大一到大四的学生,研究方法是对乌汶大学人文学院中文专业大一到大四的学生进行问卷调查。
研究发现,“两”用作一般度量衡单位时,和量词、数词一起使用,这时“两”有同义词、近义词、反义词。用作数词时,“两”后面可加百、千、万、亿;用作数词,与百分比一起使用时,有“成的意思;此外用作数词时,还有“二三”、“一些”、“一点”的意思。“二”在中国度量衡单位中,与量词、数词一起使用时,有“二等”、“亚军”、“第二”的意思。“二”也可作分数,意为“………….,可作为分母或分子。“二”还可以作为概数词,表示大概接近的两个数字,“若干若干”的意思。
本文研究发现学生在使用“两”和“二”的在度量衡单位方面问题最多的是“二亩”,占了68.3%与名词、量词一起使用时,问题最多的是“两口事”,占70.73%;与数词一起使用时,问题最多的是“两成希望”,占80.49%。对调查问卷的三部分进行总结分析后发现:第一部分中,学生错误使用“两”和“二”的占47.32%第二部分中,错误的占54%;第三部分,错误的占49.27%。从第二部分可以看出大多数学生对正确使用“两”和“二”比较大的有问题。

สรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะผลการวิจัย
(研究成果 问题及探究建议)

                ในบทที่ 5 เป็นการสรุปผลการวิจัย ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ผ่านมาตั่งแต่บทที่ 1 -4 ตลอดระยะเวลาการทำวิจัยเรื่อง ปัญหาการใช้  และ ของนักศึกษา กรณีศึกษา : นักศึกษาสาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อที่จะนำไปพัฒนา แก้ไขปรับปรุงและใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาจีน ซึ่งจะแยกย้อยเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้

                5.1 สรุปผลการวิจัย
                5.2 ปัญหาและอุปสรรค
                5.3 ข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการวิจัย(研究的效果)

5.1.1 สรุปหลักการใช้ และ
การเรียนการสอนการใช้ คำบอกจำนวนที่เป็นคำพ้องความหมายในภาษาจีน ในปัจจุบันนั้นยังพบปัญหาอยู่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัญหาการใช้คำ  และของนักศึกษากรณีศึกษา : นักศึกษาสาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตลอดจนการศึกษาการใช้ และ กับหน่วยมาตราชั่งตวงวัด การใช้และกับคำศัพท์ที่เป็นคำลักษณนาม, คำนาม และการศึกษาการใช้และ กับคำบอกจำนวน เป็นการศึกษาทั้งจาก หนังสือ เอกสาร งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการใช้คำ และ ของนักศึกษาต่อไป
จากการศึกษาในเรื่อง การใช้ และ กับหน่วยมาตราชั่งตวงวัด การใช้และกับคำศัพท์ที่เป็นคำลักษณนาม, คำนาม และการศึกษาการใช้และ กับคำบอกจำนวน พบว่า ทั้งสองคำนี้ เป็นคำพ้องความหมาย (คำบอกจำนวน) มีความหมายว่า สอง เหมือนกัน  แต่มีหลักการใช้แตกต่างกันดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 5.1 ตารางสรุปหลักการใช้และ (5.1总结准确的使用“两”和“二”)
เมื่อนำไปประสมกับ
มาตราชั่งตวงวัด
              ประสมกับมาตราชั่งตวงวัดที่เป็นหน่วยสากล เช่น เมตร, กิโลเมตร, มิลลิเมตร, ลิตร, ตารางเมตร, ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น   2  เมตร  , 两公里2  กิโลเมตร เป็นต้น


การนำ ไปประสมกับมาตราชั่งตวงวัดโดยทั่วไปจะใช้ ประสมกับมาตราชั่งตวงวัดที่เป็นหน่วยดั่งเดิมของจีน เช่น ไร่จีน,โตวเป็นต้น ตัวอย่างเช่น
  2 ไร่, 2 ลิตร (เป็นเดิมของจีน)

คำศัพท์ที่เป็นคำนามและคำลักษณะนาม
1. จะวางอยู่ข้างหน้าคำศัพท์ที่เป็นคำนามจะทำหน้าที่ขยายคำนามโดยตรง เช่นสองมือ เป็นต้น
2. เมื่ออยู่ข้างหน้าคำลักษณะนามก็จะทำหน้าที่บอกจำนวนของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น份炸鸡ไก่ทอดสองที่ เป็นต้น
3. การใช้ จะให้ความหมายถึง สิ่งสองสิ่งที่เป็นคู่กัน โดยมีความเหมือนกัน คล้ายกัน และตรงข้ามกัน เช่น便สะดวกทั้งสองฝ่าย เป็นต้น

1. จะวางอยู่ข้างหน้าคำศัพท์ที่เป็นคำนามจะทำหน้าที่ขยายคำนามโดยตรง เช่น二楼ตึกที่2 เป็นต้น
2. เมื่ออยู่ข้างหน้าคำลักษณะนามก็จะทำหน้าที่บอกลำดับที่ของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น二门ประตูที่สอง เป็นต้น
3. การใช้ จะให้ความหมายถึง สิ่งที่เป็นรอง เป็นที่2 อยู่ลำดับที่2 อยู่ที่2二地主เจ้าของที่ดินมือสอง เป็นต้น


คำบอกจำนวน
1. การนำ ไปใช้กับจำนวนเต็ม จะใช้ ก็ต่อเมื่อเป็นเลขที่อยู่ในหลักที่ใหญ่ที่สุดและจะใช้ เมื่อ เป็นจำนวนที่อยู่ในหลัก ร้อย (băi) , หลักพัน (qiān), หลักหมื่น (wàn), และหลักร้อยล้าน亿()
2. จะใช้กับเลขผลคูณ การคูณเลขเลขผลคูณจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวของจำนวนเดิมในภาษาจีนใช้คำว่า (เท่า) เพื่อแสดงผลคูณที่ได้
3. ในจำนวนเลขเศษส่วนจะใช้ เมื่อ แสดงเลขเศษส่วนโดยใช้แสดงอัตราส่วน  หมายถึงเลขเศษหนึ่งส่วนสิบ (1 ใน 10 ส่วน ) หรือสิบเปอร์เซ็นต์
4. การใช้ ในเลขประมาณ จะอยู่ข้างหน้าคำลักษณะนามที่เป็นคำศัพท์บอกจำนวน หมายถึงตัวเลขประมาณที่อยู่ระหว่าง 2-9 แปลว่า สองสาม, หน่อย, บ้าง

1. การใช้ กับเลขจำนวนเต็ม เป็นเลขพื้นฐานของจีนเมื่อนำไปประสมกับเลขตัวอื่น ก็จะกลายเป็นจำนวนเต็มอื่นๆ คำบอกจำนวนต้องใช้ เสมอ
2. จะใช้โครงสร้าง ...分之... แสดงเลขเศษส่วนที่เป็นร้อยละ เปอร์เซ็น โดยเลขที่อยู่ข้างหน้าเป็นเลขส่วน เลขที่อยู่ข้างหลังเป็นเลขเศษ
3. จะใช้ กับเลขลำดับ โดยใช้คำว่า (ที่) นำหน้าตัวเลขเพื่อแสดงลำดับหรือใช้  +ตัวเลข  เพื่อขยายนามหรือลักษณะนาม
4. จะใช้กับเลขประมาณ ที่เป็นตัวเลขสองจำนวนติดกัน และต้องเรียงจากน้อยไปหามาก


5.1.2  สรุป ปัญหาการใช้และ ของนักศึกษาชั้นปีที่1-4 สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                ผลการวิจัยปัญหาการใช้และ ของนักศึกษาชั้นปีที่1- 4  สาขาภาษาจีน
คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการทำแบบทดสอบจำนวน 41 คน 41 ชุด แบ่งเป็นชั้นปีที่1 จำนวน 8  คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 11  คนชั้นปีที่ 3 จำนวน 10  คนชั้นปีที่ 4 จำนวน 12  คนได้ผลสรุปดังนี้ แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                ส่วนที่ 1  เป็นการนำ และ ไปประกอบกับมาตราชั่งตวงวัดที่เป็นหน่วยดั่งเดิมของจีน และเป็นหน่วยสากล สามารถสรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ใช้ผิดมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือข้อที่ 1คิดเป็นร้อยละ68.3 ทำผิดมากเป็นลำดับที่ 2 คือข้อที่ 10คิดเป็นร้อยละ 58.54  ทำผิดมากเป็นลำดับที่ 3 คือ ข้อที่ 5两平方米ข้อที่ 8คิดเป็นร้อยละ53.66
                ส่วนที่ 2  เป็นการนำ และ ไปประกอบกับคำศัพท์ที่เป็นคำลักษณนามและคำนาม สามารถสรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ใช้ผิดมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือข้อที่ 3口事ข้อที่4 二婚头。คิดเป็นร้อยละ 70.73 ทำผิดมากเป็นลำดับที่ 2 คือข้อที่ 6คิดเป็นร้อยละ 65.85 ทำผิดมากเป็นลำดับที่ 3 คือ ข้อที่ 2二排ข้อที่ 7ข้อที่ 8二地主  คิดเป็นร้อยละ 60.98
                ส่วนที่ 3 เป็นการนำ และ ไปประกอบกับคำบอกจำนวน สามารถสรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ใช้ผิดมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือข้อที่ 4 成希望คิดเป็นร้อยละ 80.49 ทำผิดมากเป็นลำดับที่ 2 คือข้อที่ 5万二千二百二十二คิดเป็นร้อยละ 78.05 ทำผิดมากเป็นลำดับที่ 3 คือ ข้อที่ 3增产คิดเป็นร้อยละ 73.17
                จากผลสรุปของแบบทดสอบทั้ง 3 ส่วนผู้วิจัยได้ทำผลสรุปของปัญหาการใช้ และ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ผลที่ได้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ทำแบบทดสอบในส่วนที่ 1 ผิด 47.32% ทำแบบทดสอบในส่วนที่ 2 ผิด59.51% และทำแบบทดสอบในส่วนที่ 3 ผิด 49.27% จะเห็นได้ว่าในแบบทดสอบส่วนที่ 2 นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในการใช้ และ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากพอสมควร
                จากสัดส่วนของร้อยละดังกล่าว ถือว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีปัญหาในการใช้ และ ในแบบทดสอบส่วนที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากพอสมควร เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นควรมีการปรับปรุงแก้ไขในด้านการเรียนการสอนการใช้คำ และ ตามหลักไวยากรณ์ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อที่จะสามารถใช้คำ และ ได้อย่างถูกต้อง

5.2 ปัญหาและอุปสรรค(研究的问题)
                5.2.1 ปัญหาในการสืบค้นข้อมูล คือ เอกสารและหนังสือไวยากรณ์ยังมีน้อย ไม่เพียงพอในการสืบค้น ทั้งในห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์
                5.2.2 ปัญหาด้านการสำรวจข้อมูล คือ นักศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร มีนักศึกษาบางคนไม่อ่านแบบทดสอบ ไม่พยายามทำแบบทดสอบ และเนื่องจากนักศึกษามีจำนวนจำกัด จึงต้องอาศัยความร่วมมือเป็นอย่างมากในการทำแบบทดสอบ
                5.2.3 ปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความยุ่งยากในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย เพราะการวิจัย การวิเคราะห์และสรุปข้อมูลการวิจัยของแบบสอบถามแต่ละชุด แต่ละชั้นปี เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยและตรวจทานความถูกต้องของจำนวนผลลัพธ์ที่ได้

5.3 ข้อเสนอแนะ(提供)
                จากผลการวิจัยในหัวข้อ ปัญหาการใช้และ ของนักศึกษา กรณีศึกษา : นักศึกษาสาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ จากผลการศึกษา ในการนำ และ ไปใช้ให้ถูกต้องนั้น  ก่อนอื่นต้องศึกษาหลักการใช้ ที่ถูกต้องในหนังสือหลักไวยากรณ์ควรศึกษาหนังสือหลักไวยากรณ์หลายๆเล่ม เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างๆในการใช้ และหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาอาจารย์ เมื่อมีการเรียนการสอนในเรื่องนี้ ควรมีการเจาะลึกถึงหลักการใช้ให้ถูกต้องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง จากผลการศึกษาการใช้คำและ นั้นยังถือว่ามีปัญหาค่อนข้างมากพอสมควร การที่จะใช้คำและได้อย่างถูกต้องนั้นจะต้องมีความรู้และเข้าใจถึงความหมายและลักษณะการนำไปใช้ตามหลักไวยากรณ์ให้ดีก่อน จึงจะสามารถใช้คำสองคำนี้ได้อย่างถูกต้อง
                สำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาหัวข้องานวิจัยนี้ ควรจะศึกษาในการนำและไปใช้กับคำศัพท์ที่เป็นคำลักษณะนามและคำนามให้ละเอียดขึ้น หรือจะศึกษาปัญหาการใช้และ โดยการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาเป็นนักเรียนมัธยม หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ เพื่อที่จะให้เกิดความหลากหลายในงานวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2011年3月18日星期五

การศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์“跟” และ “和” ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อสารนิพนธ์ภาษาจีน        :     乌汶大学人文学院中文专业学生使用“跟”与
                       “和” 语法问题的研究
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาไทย      :   การศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์ “跟” และ“和” ของ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษ :             A study’s problems of using the“跟” and “和”  
 of Chinese major  students, Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani  University. 
ชื่อผู้เขียน                   :        นางสาวกาญจนา ประมูลลี     50147521
                                               นางสาวลีลาวดี  บุรัสการ         5114442650
อาจารย์ที่ปรึกษา        :        อาจารย์ณัฐพัชร์  เตชะรุ่งไพศาล
อาจารย์เจ้าของภาษา        :         王薇老师  
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                  การศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์ และ ของนักศึกษาสาขาวิชา
                                ภาษาจีน  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ               ไวยากรณ์จีน      คำบุพบท      คำสันธาน                          

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์ และของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการแจกแบบสอบถามให้นักศึกษาชั้นปีที่     1-4  จำนวน 41 คน  จากนักศึกษาจำนวนทั้งหมด 164  คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของทุกชั้นปี เมื่อคิดรวมกันทั้ง 4 ชั้นปีจะได้ร้อยละ 100  และแบบสอบถามได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่1 การใช้ และ ในกรณีที่เป็นคำบุพบทและคำสันธาน จำนวน10 ข้อ และตอนที่2 การใช้ และ ในโครงสร้างต่างๆ จำนวน 20 ข้อ
                ผลจากการศึกษาพบว่าไวยากรณ์“跟” และ“和”สามารถใช้ร่วมกับคำนาม คำสรรพนาม และนามวลีได้ นอกจากนี้ไวยากรณ์ “和” ยังสามารถใช้ร่วมกับคำกริยา  กริยาวลี  และคำคุณศัพท์ได้ ในขณะที่โครงสร้างไวยากรณ์ของ  ไม่สามารถใช้ได้ และนักศึกษามีปัญหาการใช้ไวยากรณ์“跟” และ“和”ในแบบสอบถาม โดยนักศึกษาตอบถูกทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 42.03  และตอบผิดทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 57.97 โดยในแบบสอบถามตอนที่ 2 คือการใช้ และ ในโครงสร้างต่างๆ พบว่านักศึกษาตอบผิดทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 58.54 สาเหตุที่นักศึกษาตอบผิด คือ ไม่เข้าใจความหมายของประโยคและเกิดความสับสนในการใช้ไวยากรณ์ และ และในแบบสอบถามตอนที่ 1 คือ การใช้ และ ในกรณีที่เป็นคำบุพบทและคำสันธาน พบว่านักศึกษาตอบผิดทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 56.59 สาเหตุที่นักศึกษาตอบผิด คือ มีความสับสนระหว่างคำบุพบทและคำสันธาน จากการทำแบบสอบถามโดยรวมแล้วนักศึกษามีปัญหาการใช้ไวยากรณ์“跟”ผิดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.54 และ นักศึกษามีปัญหาในการใช้ไวยากรณ์“和”ผิดน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.53  
                แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับไวยากรณ์ และ คือ นักศึกษาควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและวิธีการใช้ไวยากรณ์ และ ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นอกจากนี้ควรมีการฝึกใช้ไวยากรณ์ และในสถานการณ์ที่แตกต่างกันให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารด้วยภาษาจีนกลาง

中文摘要

题目              乌汶大学人文学院中文专业学生使用“跟”与 “和”
           语法问题的研究
关键词           汉语语法       介词      连词     “跟”    “和”

本文的目的对乌汶大学人文学院中文专业学生使用“跟”与 “和”语法问题进行研究,研究方法是对乌汶大学人文学院中文专业学生进行关于使用方法的问卷调查研究,研究对象其从一年级到大学四年级164 位学生中抽取 41 位学生。每年级人数占总人数的 25 %,四个年级加起来共 100 %。问卷调查分为两部分:第一部分是对“跟”与“和”作为介词和连词的使用方法调查,一共 10 个题,第二部分是  “跟”与“和”的语法结构使用方法调查,一共20 个题。
从问卷调查中得知,都可以与连词,代词,名词词组连用,除此之外,还可以与动词,动词词组,形容词连用,的语法结构却不可以。大学一年级学生到大学四年级学生全部答对的占42.03 %,全错的占57.97  % 。经过总结发现学生在问卷调查的第二部分--“跟”与“和”语法结构的使用方法,答错的占 57.59 %,原因是不明白句子的意思,不清楚“跟”与“和”的用法,所以不确定应该用哪个才正确。第一部分--“跟”与“和”作为介词和连词的使用方法,答错的占 56.69 %, 原因是不明白句子的意思,不清楚介词和连词的用法。另外学生做问卷调查得知,“跟”的使用方法,错误的占58.54 %,其次“和”的使用方法,错误的占57.53 %由此可知,学生对的语法知识了解得还不错。  
要解决使用“跟”与“和”语法问题的方法是:学习研究“跟”与“和”的语法结构和使用方法,以便明白其意思,掌握用法,正确地使用。除此之外,为了根据不同语境选择适当的“跟”与“和”,正确有效地使用汉语,我们还应该区别注意“跟”与“和”的使用方法。


สรุปผล  ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะผลการวิจัย
研究成果,研究的障碍及提议

ผลการวิจัยที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาการทำวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์“跟” และ“和” ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อที่จะนำไปพัฒนา แก้ไขปรับปรุงและใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาจีน ซึ่งจะแยกออกเป็นการสรุปผลการวิจัย  ปัญหาและอุปสรรค  และข้อเสนอแนะ ดังนี้

5.1 สรุปผลการวิจัย:(研究的效果)
                จากการศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์“跟” และ“和”  ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สามารถสรุปผลการวิจัยออกเป็นข้อย่อยได้ดังนี้
                5.1.1   ความหมายของ“跟” และ“和”  :(“跟”与“和”的意义)
                                5.1.1.1   ความหมายของ “跟” สามารถสรุปได้ ดังนี้
                                                1.)   (คำนาม) ส้นเท้า, ส้นถุงเท้า, ส้นรองเท้า
                                                2.)   (คำกริยา) ตาม, ตามหลัง
                                                3.)   (คำกริยา) ช้างเท้าหลัง (หมายถึงหญิงที่แต่งงานไปแล้ว)
                                                4.)   (คำบุพบท) บุพบทที่ใช้น้าวนำในการกระทำ
a) กับ
                                                                b) กับ, ให้
                                5.)  (คำบุพบท) บุพบทที่ใช้ในการน้าวนำเป้า หรือเปรียบเทียบว่าเหมือน
                                     หรือแตกต่างกัน (กับ)
                                                6.)  (คำสันธาน) แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ร่วมกัน (และ)
                                5.1.1.1   ความหมายของ “和” สามารถสรุปได้ ดังนี้
                                                1.)  (คำคุณศัพท์) อ่อนโยน, ละมุนละม่อม,ละมุนละไม, เยือกเย็น
                                                2.)  (คำคุณศัพท์) กลมกลืน, ถูกกัน
                                                3.)  (คำกริยา) สงบศึก
                                                4.)  (คำกริยา)   เสมอกัน  (ใช้สำหรับการแข่งขันหรือการเล่นหมากรุก)
                                                5.)  (คำนาม)   ชื่อสกุลของชาวจีน
                                                6.)  (คำคุณศัพท์) พร้อมกัน
                                                7.)  (คำบุพบท) มีความหมายแสดงว่าเกี่ยวข้องกัน, เปรียบเทียบกัน
                                                8.)  (คำสันธาน)   มีความหมายแสดงว่ารวมกัน (และ,กับ)
                                                9.)  (คำนาม) ผลบวก, ผลรวม (ใช้ในทางคณิตศาสตร์)
                                                10.)  (คำนาม) ญี่ปุ่น         

                5.1.2   โครงสร้างและวิธีการใช้“跟” และ“和” :(“跟”与“和”的语法结构和使用方法
                                5.1.2.1   โครงสร้างและวิธีการใช้“跟”สามารถแบ่งได้ดังนี้             
1.)   คำนาม + + คำนาม
2.)   คำสรรพนาม +“跟” + คำสรรพนาม
3.)   นามวลี +“跟” + นามวลี
4.)   ….….跟不跟……..?”
5.)   ….….……..吗?”
6.)   主语(สิ่งที่เปรียบเทียบ+ 状语
บุพบท+สิ่งที่เปรียบเทียบ+ 谓语ผลของการเปรียบเทียบ
5.1.2.2   โครงสร้างและวิธีการใช้“和”สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.)   คำนาม + “和” + คำนาม
2.)   คำสรรพนาม +“和” + คำสรรพนาม
3.)   นามวลี +“和” + นามวลี
4.)   คำกริยา +“和” + คำกริยา
5.)   กริยาวลี +“和” + กริยาวลี
6.)   คำคุณศัพท์ +“和” + คำคุณศัพท์
7.)   ….….……..吗?”

                5.1.3   ความแตกต่างของ“跟” และ“和”  :(“跟”与“和”的差别)
ความแตกต่างทางโครงสร้างไวยากรณ์  และ  คือ โครงสร้างของไวยากรณ์  ที่ใช้ในประโยคคำถามสามารถใช้รูปแบบ ….….跟不跟……..?”ได้ แต่โครงสร้างไวยากรณ์   ไม่สามารถใช้ได้ นอกจากนี้โครงสร้างของไวยากรณ์   ยังสามารถใช้ร่วมกับคำกริยา กริยาวลี และคำคุณศัพท์ได้ ในขณะที่โครงสร้างไวยากรณ์ของ ไม่สามารถใช้ได้
แม้ความหมายและโครงสร้างไวยากรณ์ของ  และ  จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจทำให้ผู้เรียนภาษาจีนเกิดความสับสนในการใช้ได้ เนื่องจาก  และ  นั้นคือคำเชื่อมที่สามารถเป็นได้ทั้งคำบุพบทและคำสันธาน
ตัวอย่างเช่น          (跟/和)小明都学习英文。 
                                                    ฉันกับเสี่ยวหมิงเรียนภาษาอังกฤษทั้งคู่
昨天她只(跟/和)丁丁说这个事。
                     เมื่อวานเขาบอกติงติงเรื่องนี้คนเดียว
他跑的速度(和)走的速度差不多。 
                      เขาวิ่งช้าพอๆกับเดิน
ในประโยคแรกถ้าวางกับ 小明 สลับที่กันความหมายยังเหมือนเดิม ส่วนประโยคที่สอง ถ้าวาง   กับ 丁丁 สลับที่กัน ความหมายก็จะเปลี่ยนเป็น “ติงติงบอกเขา” และประโยคที่สาม ถ้าวาง跑的速度 กับ 走的速度สลับที่กันความหมายก็จะเปลี่ยนเป็น “เดินเร็วพอๆกับวิ่ง” ซึ่งมีความหมายแตกต่างไปจากเดิม ที่เป็นเช่นนี้เพราะในประโยคแรก และ ทำหน้าที่เป็นคำสันธาน ทำหน้าที่เชื่อมสองคำที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ดังนั้นใครอยู่หน้าหรือใครอยู่หลัง ความหมายจึงไม่เปลี่ยนไป ส่วนในประโยคที่สองและสาม และ ทำหน้าที่เป็นคำบุพบท กรรมของบุพบทบอกใครเป็นเป้ารับกริยาอาการหรือใครเป็นสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ จึงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป

                5.1.4   ปัญหาการใช้ไวยากรณ์“跟” และ“和”
                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์และของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการแจกแบบสอบถามให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4  จำนวน 41 คน  จากนักศึกษาจำนวนทั้งหมด 164  คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของทุกชั้นปี เมื่อคิดรวมกันทั้ง 4 ชั้นปีจะได้ร้อยละ 100 แบ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 จำนวน 8 คน นักศึกษาชั้นปีที่2 จำนวน 11 คน นักศึกษาชั้นปีที่3 จำนวน 10 คน และนักศึกษาชั้นปีที่4 จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่1 การใช้และในกรณีที่เป็นคำบุพบทและคำสันธาน จำนวน10 ข้อ และตอนที่2 การใช้และในโครงสร้างต่างๆ จำนวน 20 ข้อ มีผลดังนี้
                5.1.4.1   ปัญหาในการทำแบบสอบถามตอนที่ 1
นักศึกษาชั้นปีที่  ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 42.50
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 57.50  
                                                นักศึกษาชั้นปีที่ 2   ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 46.36
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 53.64 
                                                นักศึกษาชั้นปีที่  ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 44.00
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 56.00  
                                                นักศึกษาชั้นปีที่ 4   ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 40.83
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 59.17  
                จากการทำแบบสอบถามของนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี สามารถสรุปได้ว่า ในส่วนที่ 1 คือ การใช้และในกรณีที่เป็นคำบุพบทและคำสันธาน พบว่า นักศึกษาทำแบบสอบถาม ถูกทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 43.41 และ ผิดทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 56.59
                                5.1.4.2   ปัญหาในการทำแบบทดสอบตอนที่
นักศึกษาชั้นปีที่  ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 38.75  
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 61.25  
                                                นักศึกษาชั้นปีที่ 2   ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 42.73
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 57.27 
                                                นักศึกษาชั้นปีที่  ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 42.50
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 57.50  
                                                นักศึกษาชั้นปีที่ 4   ทำแบบสอบถามถูก คิดเป็น ร้อยละ 41.25
                                                                                   ทำแบบสอบถามผิด คิดเป็น ร้อยละ 58.75  
                จากการทำแบบสอบถามของนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี สามารถสรุปได้ว่า ในส่วนที่ 2  คือ การใช้และในโครงสร้างต่างๆ พบว่า นักศึกษาทำแบบสอบถาม ถูกทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 41.46 และ ผิดทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 58.54
จากภาพรวมของการทำแบบสอบถามสามารถสรุปได้ว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ทำแบบสอบถามเรื่องไวยากรณ์และถูกทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ42.03   และทำแบบสอบถามเรื่องไวยากรณ์และผิดทั้งหมด ร้อยละ57.97 ซึ่งถือว่านักศึกษามีความรู้ในเรื่องไวยากรณ์และในระดับที่ดีพอสมควร
                 
5.2 ปัญหาและอุปสรรค:(研究的问题)
                5.2.1 ปัญหาในการสืบค้นและการสำรวจข้อมูล คือ เอกสารและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยยังมีน้อย ไม่เพียงพอในการสืบค้นข้อมูล และนักศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร มีนักศึกษาบางคนไม่อ่านแบบทดสอบและไม่พยายามใช้ความสามารถในการตอบแบบทดสอบ ลอกแบบทดสอบ และบางส่วนก็ไม่ให้ความร่วมมือหลีกเลี่ยงการทำแบบทดสอบ  จึงเกิดความล่าช้าในการเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนนี้
             5.2.2 ปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความยุ่งยากในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย เพราะจะต้องทำการวิจัย วิเคราะห์และสรุปข้อมูลของแต่ละคนในแต่ละข้อ และแต่ละชั้นปี จากการตอบแบบทดสอบ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยและตรวจทานความถูกต้องของจำนวนผลลัพธ์ที่ได้

5.3 ข้อเสนอแนะ:(提供)
                  การศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์และ ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในความหมายและวิธีการใช้ไวยากรณ์และ และเพื่อให้ทราบถึงปัญหาการใช้ไวยากรณ์และ ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผู้ที่สนใจจะศึกษาหรือทำวิจัยในเรื่องนี้ ควรที่จะขยายหรือเปลี่ยนขอบเขตการวิจัยจากระดับอุดมศึกษาเป็นระดับมัธยมศึกษา  นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาในเรื่องของโครงสร้างและที่ใช้ในภาษาข่าว นิยาย หรืออินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจต่อไป